Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80189
Title: แนวทางการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของมูฮัมหมัด ยูนุส
Other Titles: The guidelines for social business development in Thailand according to the principles of Muhammad Yunus
Authors: ศราวุธ นาควิทยานนท์
Advisors: สุวัฒนา ธาดานิติ
ศยามล เจริญรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมของมูฮัมหมัด ยูนุส 2) เพื่อศึกษาการดำเนินงานและความเป็นไปได้ของการนำแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคมมาใช้ในธุรกิจเพื่อสังคมของประเทศไทย 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทยตามหลักการของศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส โดยมีวิธีการดำเนินงานวิจัยในรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1) การวิจัยเอกสาร และ 2) วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ทรงคุณวุฒิโดยใช้รูปแบบเทคนิคเดลฟาย ซึ่งจะใช้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังนี้ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานภาครัฐบาล 2) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากหน่วยงานภาคเอกชน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากนักวิชาการที่มีประสบการณ์การทำงาน 4) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มาจากวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือ ธุรกิจเพื่อสังคมที่สังกัดสมาชิกของสมาคมธุรกิจเพื่อสังคมแห่งประเทศไทย ผลการวิจัยค้นพบว่า สถานการณ์การดำเนินธุรกิจเพื่อสังคมตามแนวทางของยูนุสในประเทศไทย ในแง่มุมทางกฎหมายถือว่าเป็นเรื่องล่าช้า แต่ภาครัฐเริ่มมีการให้ความสําคัญด้วยการเพิ่มโอกาสในการลงทุน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจการวิสาหกิจเพื่อสังคมและธุรกิจเพื่อสังคม ในด้านกฎหมาย องค์กรส่วนใหญ่ได้นิยามตามกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์ในการระบุกิจการที่เข้าเกณฑ์ในการได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาล ประกอบกับระบบการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมาย การจดทะเบียนดังกล่าวไม่ได้ให้สถานะความเป็นนิติบุคคลกับผู้จดทะเบียน ด้วยเหตุนี้ ธุรกิจเพื่อสังคมทั้งที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมและไม่ได้จดทะเบียนจึงมีรูปแบบองค์กรที่หลากหลาย
Other Abstract: The objectives of this research article were to: 1) study and analyze the social business concept of Muhammad Yunus 2) to study the implementation and feasibility of applying the social business concept into social business in Thailand. 3) to suggest guidelines for promoting social enterprises in Thailand for accordance with the principles of Professor Muhammad Yunus, using research methods in the form of qualitative research consisting of 2 parts: 1) documentary research and 2) methods of in-depth interviews with experts using the Delphi technique, which will use 17 qualified experts, with experts divided into groups as follows: 1) Qualified experts from state agency 2) Qualified persons from private sectors 3) Qualified persons from academics with working experience 4) Qualified persons from social enterprises or social business affiliated with members of the association Social Business of Thailand. Situation of social business operations according to Yunus guidelines in Thailand from a legal point of view, it's a delay. But the government has started to focus on increasing investment opportunities. Problems and obstacles to running social enterprises and social business legally, most organizations define the law to be useful in identifying enterprises eligible for government promotion. Together with the registration system as a legal social enterprise. Such registration does not give the registrant the status of a legal entity. As a result, social business, both registered and unregistered social enterprises, have a variety of organizational forms.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนามนุษย์และสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80189
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.776
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.776
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6187226720.pdf2.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.