Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80646
Title: การวิเคราะห์เพื่อกำหนดจำนวนรถของบริษัท ภายใต้ความต้องการขนส่งที่ไม่แน่นอน : กรณีศึกษาบริษัทขนส่ง ABC
Other Titles: Analysis for determining the number of own fleet under demand uncertainty : a case study of ABC company
Authors: แก้วกานต์ กล่อมหาดยาย
Advisors: ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล
สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: การขนส่งสินค้า
การบริหารงานโลจิสติกส์
Commercial products -- Transportation
Business logistics
Issue Date: 2563
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดจำนวนรถขนส่งของบริษัทที่เหมาะสม ภายใต้ความต้องการขนส่งที่ไม่แน่นอน ซึ่งใช้ข้อมูลของบริษัทกรณีศึกษา ABC ในแผนกการขนส่งแบบกระจายสินค้าทั่วประเทศ (Nationwide Distribution Transport) โดยมุ่งเน้นศึกษาเฉพาะการขนส่งสินค้าที่ครอบคลุมพื้นที่ศูนย์กระจายสินค้าจังหวัดขอนแก่นที่มีการขนส่งด้วยรถที่เป็นของบริษัท (Own fleet) และบริษัทขนส่งภายนอก(Outsource) โดยในงานวิจัยนี้ได้ใช้การจำลองสถานการณ์ที่สามารถแบ่งการจำลองสถานการณ์ออกเป็น 4 ส่วน คือ 1) การสร้างแบบจำลองความต้องการขนส่งสินค้ารายวันโดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โล 2) การพัฒนาสมการประมาณการจำนวนรถขนส่งสินค้าต่อวันด้วยวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression) ที่มีตัวแปรสำคัญทั้งหมด 3 ตัวแปรได้แก่ จำนวนสินค้าที่ต้องการขนส่งต่อวัน จำนวนลูกค้าที่ขนส่งต่อวัน ระยะทางระหว่างลูกค้าทั้งหมดในหนึ่งวัน 3) การประมาณการต้นทุนรวมด้านการขนส่ง และ 4) การกำหนดจำนวนรถขนส่งของบริษัทที่เหมาะสม ซึ่งผลการวิจัยสามารถสรุปได้ว่าจำนวนรถขนส่งของบริษัทที่เหมาะสมสำหรับแผนกการขนส่งแบบกระจายสินค้าทั่วประเทศ เท่ากับ 7 คันที่ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเฉลี่ยต่อปีต่ำที่สุด
Other Abstract: The objective of this independent study is to determine the size of own fleet under demand uncertainty. The Nationwide Distribution Transport (NDT) department of ABC company is the case study. This study focuses on the delivery services operation at distribution center in the Khon Kaen province which use both own trucks and outsourced. The analysis in this research has been divided into 4 parts including 1) the generation of transportation demand based on Monte Carlo technique, 2) the development of a regression model to estimate the daily number of required trucks based on daily customer demand, number of customer locations and total distances between customer locations, 3) the estimation of total transportation cost, and lastly 4) the determination of the optimal fleet size. The results show that given current demand the optimal number of trucks in the fleet for the case distribution center is 7 trucks.
Description: สารนิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์ (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80646
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.IS.2020.237
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.IS.2020.237
Type: Independent Study
Appears in Collections:Grad - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280004820_Kaewkarn.pdf3.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.