Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82271
Title: การทำนายพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนด้วยทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและการพิจารณาถึงผลลัพธ์ในอนาคต
Other Titles: Predicting household plastic waste separation using theory of planned behavior and consideration of future consequences
Authors: พีรยา พูลหิรัญ
Advisors: วัชราภรณ์ บุญญศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนเป็นพฤติกรรมที่มีความสำคัญต่อการแก้ไขปัญหาขยะพลาสติกในระยะยาวในยุคที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ปัจจุบันยังขาดองค์ความรู้โดยเฉพาะในบริบทของประเทศไทยเกี่ยวกับปัจจัยที่สนับสนุนและขัดขวางการเกิดพฤติกรรมแยกขยะ ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยตามทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนและปัจจัยการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคตที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนโดยเน้นศึกษาขยะพลาสติก 3 ชนิด ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ถุงพลาสติกบรรจุอาหาร และกล่องพลาสติกบรรจุอาหาร กลุ่มตัวอย่าง (n = 126) ได้แก่ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างน้อย 1 ปี ทำการตอบแบบสอบถามการวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ และรายงานพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนใน 2 สัปดาห์ต่อมา ผลจากการวิจัยพบว่า การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีอิทธิพลทางบวกต่อพฤติกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรม โดยการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านเจตนาต่อพฤติกรรมเท่านั้น อย่างไรก็ตามพบปัจจัยที่ไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมโดยมีเจตนาต่อพฤติกรรมเป็นตัวแปรส่งผ่าน ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรมและการพิจารณาผลลัพธ์ในอนาคต และพบว่าปฏิสัมพันธ์ระหว่างเจตคติต่อพฤติกรรมและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและการรับรู้การควบคุมพฤติกรรม ไม่สามารถทำนายเจตนาต่อพฤติกรรมได้ โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนมากที่สุด ได้แก่ การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม โดยกลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อว่าการมีพื้นที่สำหรับแยกขยะพลาสติกในครัวเรือน การมีถังขยะของส่วนกลางรองรับ และการได้รับรู้ว่าการแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านใดบ้างเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมแยกขยะพลาสติกในครัวเรือนได้
Other Abstract: Household plastic waste separation behavior is one of the significant ways to solve the long-term plastic problem when plastic packaging eradication seems impossible. This research aimed to investigate factors of the Theory of Planned Behavior (TPB) and Consideration of Future Consequences (CFC) predicting household waste separation behavior focusing on 3 types of single-use plastic: plastic bags, plastic food bags, and plastic food containers. Participants (n = 126), age 18 and over who lived in Bangkok for at least 1 year, answered the online questionnaires then reported their household waste separation behavior 2 weeks later. According the results, perceived behavioral control affected behavior directly and indirectly through the intention while subjective norm only had an indirect effect on behavior. Attitude toward behavior and consideration of future consequences did not affect behavior via intention. And perceived behavioral control did not moderate the effects of attitude and subjective norm on intention. Perceived behavioral control had the most important impact on behavior. Participants believed that they could perform behaviors more easily if there were some space or separated trash cans for types of waste. Perceiving the advantages of behavior also encouraged them to sort plastic waste.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82271
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.551
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.551
Type: Thesis
Appears in Collections:Psy - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6270022238.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.