Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82981
Title: วาทกรรมการท่องเที่ยวในงานเขียนของบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวชาวไทย: การศึกษาตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
Other Titles: Discourse on tourism in Thai travel bloggers' writings: a critical discourse analysis
Authors: ดนัย พลอยพลาย
Advisors: ศิริพร ภักดีผาสุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาวาทกรรมการท่องเที่ยวของบล็อกเกอร์ชาวไทยตามแนววาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ของนอร์แมน แฟร์คลัฟ (Fairclough, 1992, 1995) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ชุดความคิดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวที่ประกอบสร้างผ่านภาษาในตัวบทงานเขียนของบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวชาวไทย และ 2) วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมและวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรมของวาทกรรมการท่องเที่ยวในงานเขียนของบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวชาวไทย ข้อมูลที่ใช้วิเคราะห์ ได้แก่ ตัวบทงานเขียนของบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 20 คน คนละ 10 ตัวบท รวมทั้งสิ้น 200 ตัวบท ผลการศึกษาวาทกรรมการท่องเที่ยวในมิติของตัวบทพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้ประกอบสร้างชุดความคิดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมี 7 กลุ่ม ได้แก่ การใช้คำศัพท์ การใช้ข้อความแสดงทัศนภาวะ การใช้วัจนกรรมการสั่ง การใช้ข้อความสื่อมูลบท การใช้ข้อความแสดงความสัมพันธ์แบบเหตุ-ผล การนิยามความหมาย และการใช้วัจนลีลาเป็นกันเอง กลวิธีทางภาษาดังกล่าวประกอบสร้างชุดความคิดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ชุดความคิดเกี่ยวแก่การท่องเที่ยว มี 3 ชุดความคิด ได้แก่ (1) ชุดความคิดที่นิยามว่าการท่องเที่ยวเป็น “กิจกรรมที่พึงประสงค์” (2) ชุดความคิดที่เสนอว่าการท่องเที่ยวเป็น “การลงทุนที่มีความเสี่ยง” และ (3) ชุดความคิดที่ทำให้การท่องเที่ยวกลายเป็น “ภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ” กลุ่มที่สอง ภาพแทนบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวมี 3 ภาพ ได้แก่ ภาพแทนบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวในฐานะ (1) “มิตร” ของผู้ท่องเที่ยว (2) ผู้แนะนำแนวทางในการบรรลุภารกิจท่องเที่ยว และ (3) ผู้สร้างเครือข่ายชุมชนผู้ท่องเที่ยว กลุ่มที่สาม ภาพแทนของผู้ท่องเที่ยวมี 3 ภาพหลัก ได้แก่ ภาพแทนผู้ท่องเที่ยวในฐานะ (1) “ผู้บริโภคที่ชาญฉลาด” (2) “ผู้ปฏิบัติภารกิจ” และ (3) “ผู้นำเสนอตนเอง” วาทกรรมการท่องเที่ยวได้สถาปนาความหมายแก่การท่องเที่ยวว่าเป็น “กิจกรรมที่พึงประสงค์” เป็น “การลงทุนที่มีความเสี่ยง” และเป็น “ภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จ” ผู้ท่องเที่ยวจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวซึ่งเป็นผู้ผลิตวาทกรรมการท่องเที่ยวนี้ เพื่อบรรลุภารกิจท่องเที่ยว ทั้งนี้ การนิยามความหมายดังกล่าวส่งผลให้บล็อกเกอร์ท่องเที่ยวมีสถานะเป็นผู้ที่ชี้นำความคิดและได้รับผลประโยชน์เชิงธุรกิจจากวาทกรรมดังกล่าวอย่างแยบยล ในขณะที่ผู้รับสารในวงกว้างที่คล้อยตามวาทกรรมเป็นฝ่ายที่ยินยอมพร้อมใจรับการชี้นำควบคุมโดยอาจไม่รู้เท่าทันวาทกรรม ที่สำคัญคือชุดความคิดดังกล่าวมีลักษณะ “ย้อนแย้ง” กล่าวคือ การท่องเที่ยวเป็น “การพักผ่อนที่ถูกกำกับ” เป็น “ความพิเศษที่ซ้ำกัน” และเป็น “การเลือกที่ไม่ได้เลือก” ส่วนบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวเป็น “มิตรผู้มีอำนาจเหนือกว่า” ผลการศึกษาวาทกรรมในมิติของวิถีปฏิบัติทางวาทกรรม พบว่า วาทกรรมการท่องเที่ยวมีลักษณะสหวาทกรรมที่ผสานกันระหว่างวาทกรรมการท่องเที่ยวกับวาทกรรมธุรกิจ องค์ประกอบของการสื่อสารวาทกรรมที่สำคัญที่สุด คือ จุดมุ่งหมายของการสื่อสาร อันได้แก่ จุดมุ่งหมายในการบอกเล่าประสบการณ์ท่องเที่ยว และจุดมุ่งหมายในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ลักษณะเหล่านี้ขับเน้นบทบาทของบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวทั้งในฐานะผู้ผลิตเนื้อหาที่ผู้บริโภคสร้างขึ้นเอง (User-Generated Content) และในฐานะสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ในการตลาดผ่านอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer Marketing) สำหรับผลการศึกษาวาทกรรมในมิติของวิถีปฏิบัติทางสังคมวัฒนธรรม พบว่า ปริบทในช่วงกลางทศวรรษ 2540 ได้แก่ การเกิดขึ้นของสายการบินราคาประหยัด และบทบาทของสื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อดิจิทัล ทำให้บล็อกเกอร์ท่องเที่ยวกลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ด้านการท่องเที่ยว นอกจากนี้ วาทกรรมการท่องเที่ยวยังแสดงสำนึกแบบปัจเจกชนซึ่งสนใจการท่องเที่ยวแบบทางเลือก ขณะเดียวกันก็ได้แสดงแนวคิดสุขนิยมซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการท่องเที่ยวแบบมวลชน ลักษณะเหล่านี้ล้วนสะท้อนความเป็นสังคมบริโภคนิยมของสังคมไทยร่วมสมัย  ผลการศึกษานี้ช่วยสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวแก่บทบาทของภาษาในการประกอบสร้างชุดความความคิดที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวซึ่งมีลักษณะ “ย้อนแย้ง” และมีแนวโน้มที่จะส่งอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของผู้ท่องเที่ยวเพื่อเอื้อประโยชน์ต่อคนบางกลุ่ม ความรู้เท่าทันวาทกรรมดังกล่าวจะช่วยให้การท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตของผู้ท่องเที่ยวเป็นอิสระจากการกำกับบงการภายใต้เงื่อนไขของสังคมบริโภคนิยมในปัจจุบัน
Other Abstract: This dissertation examines the discourse on tourism in Thai travel bloggers’ writings, utilizing the framework of Critical Discourse Analysis as posited by Norman Fairclough (1992, 1995). The research aims to study 1) the ideological constructs related to tourism that are developed through language use in the texts authored by Thai travel bloggers, and 2) discursive and socio-cultural practices evident within tourism discourse presented by these bloggers. The dataset analyzed comprises 200 pieces of texts. They are taken from written works of 20 Thai travel bloggers, each of whom contributes 10 entries. Findings from the textual dimension of tourism discourse reveal that the linguistic techniques employed to construct these ideas span seven categories: the use of specific lexicon, application of modality, deployment of imperatives, utilization of presuppositions, expressions of cause-and-effect relationships, definitions, and the incorporation of casual language style. Those linguistic techniques constitute three distinct clusters of tourism-related ideological constructs. The first cluster, concerning ideological constructs about tourism, consists of three sub-constructs: (1) defining tourism as a “desirable activity,” (2) portraying tourism as a "risky investment," and (3) envisioning tourism as a “mission to be accomplished.” The second cluster concerns representations of travel bloggers, outlining three key images: (1) the blogger as a "friend" to tourists, (2) the blogger as a guide towards accomplishing travel missions, and (3) the blogger as a network builder within tourist communities. The third cluster, which deals with the representation of tourists, presents three predominant images: (1) the tourist as a “smart consumer,” (2) the tourist as a “mission performer,” and (3) the tourist as a “self-presenter.” The examined tourism discourse constructs tourism as a “desirable activity,” a “risky investment,” and a “mission to be accomplished.” Consequently, to accomplish their travel missions, tourists need to follow the advice from travel bloggers, who generate this discourse. This meaning construction subtly promotes the status of these bloggers as influencers and allows them to gain commercial benefits from the discourse. On the other hand, the audience who are persuaded by these bloggers’ discourse accept these manipulations uncritically. It is important to note that these clusters of ideological constructs are “contradictory.” In other words, tourism is marked by “regulated relaxation,” “imitable distinctiveness,” and “limited freedom of options.” As a result, travel bloggers become “friends in authority.” The results of this dissertation, within the scope of discursive practices, indicate that tourism discourse exhibits interdiscursivity, integrating elements of both tourism and business discourses. The principal components of this discursive communication are its ends: the distribution of travel anecdotes and the promotion of products and/or services. These aspects emphasize the dual role of travel bloggers as both creators of user-generated content and conduits for advertising via influencer marketing strategies. In terms of socio-cultural practices, the study identifies significant shifts in the mid-2000s, which are the emergence of low-cost carriers and the change in the media landscape. As a result, travel bloggers evolved into recognized travel influencers. Furthermore, travel bloggers' discourse continues to reflect individualistic mindsets oriented toward alternative tourism, while also embodying hedonistic ideas commonly found in mass tourism trends. These characteristics reflect the consumeristic tendency of contemporary Thai society. The conclusion of this dissertation helps increase the awareness of the role of language when language is used to construct meanings of tourism. These constructed meanings of tourism are “contradictory.” It can influence tourists’ understandings and behaviors, which serves the interests of a certain group of people. This awareness can liberate tourists from manipulations conditioned by consumerism, allowing them to travel and live freely.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/82981
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2022.708
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2022.708
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6080504822.pdf3.88 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.