Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8315
Title: การประเมินผลทางคลินิกในการรักษาผู้ป่วยชายที่มีภาวะผมร่วงจากพันธุกรรมด้วยยาทาฟีแนสเตอไรด์
Other Titles: Clinical evaluation of topical formulation of finasteride in male androgenetic alopecia
Authors: พิชญา สิทธิเจริญชัย
Advisors: นภดล นพคุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผม -- โรค
หนังศีรษะ -- โรค
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความสำคัญและที่มาของการวิจัย : ภาวะผมร่วงจากพันธุกรรมในเพศชายนั้นเป็นภาวะที่พบบ่อยในประชากรทั่วไป สำหรับยาที่นำมาใช้ในการรักษานั้นคือ ฟีแนสเตอไรด์ ที่อยู่ในรูปของยากิน ซึ่งทำให้มีผลข้างเคียงต่อสมรรถภาพทางเพศได้ วัตถุประสงค์ในการวิจัย : เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง ยาทาฟีแนสเตอไรด์ กับ ยาหลอก ในการทำให้มีการเพิ่มขึ้นของจำน วนเส้นผมบนหนังศีรษะ วิธีการทำวิจัย : ทำการศึกษาวิจัยในผู้ป่วยทั้งสิ้น 50 คน ที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี ซึ่งได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะผมร่วงจากพันธุกรรม โดยนำผู้ป่วยมาแบ่งเป็น 2 กลุ่มแบบสุ่ม กลุ่มหนึ่งให้ใช้ยาทาฟีแนสเตอไรด์ ส่วนอีกกลุ่มให้ใช้ยาทาหลอก โดยทา 1 มิลลิลิตร ต่อครั้ง วันละ 2ครั้ง และทำการนับเส้นผมทุกเดือน เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของจำนวนเส้นผมเปรียบเทียบกันในทั้ง 2 กลุ่ม นอกจากนี้ยังมีการประเมินโดยการถ่ายรูปภาพของหนังศีรษะก่อนและหลังการทายาด้วย สำหรับการประเมินผลข้างเคียงนั้น อาศัยแบบสอบถามและการดูระดับยาในกระแสเลือดร่วมด้วย ผลการวิจัย : พบว่า ยาทา ฟีแนสเตอไรด์ มีประสิทธิภาพทำให้มีการเพิ่มขึ้นของเส้นผมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.01) เมื่อเทียบกับ ยาหลอก ตั้งแต่เดือนที่ 3 หลังจากการใช้ยาเป็นต้นไป และ 6 เดือนหลังจากการใช้ยาพบว่ามีเส้นผมขึ้นเฉลี่ย 81 เส้นต่อพื้นที่ผ่าศูนย์กลางวงกลม 1 นิ้ว (placebo = -7 เส้น) ส่วนจากการประเมินโดยการถ่ายรูปภาพรวมของหนังศีรษะก่อนและหลังการทายา พบว่ายาทา ฟีแนสเตอไรด์ สามารถทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงโดยภาพรวมของเส้นผมที่หนังศีรษะ ได้ประมาณ 46% ของผู้ป่วยทั้งหมดที่ใช้ยา ฟีแนสเตอไรด์ เป็นระยะเวลา 6 เดือน สำหรับผลข้างเคียงนั้น ไม่พบผลต่อสมรรถภาพและความต้องการทางเพศ และระดับยาในเลือดก็อยู่ในระดับที่ต่ำมาก (<0.998-3.72 ng/ml) สรุปผลการวิจัย : ในการศึกษาวิจัยเป็นระยะเวลา 6 เดือน พบว่ายาทา 0.5% ฟีแนสเตอไรด์ มีประสิทธิภาพทั้งในการลดการร่วงของเส้นผมและการเพิ่มขึ้นของเส้นผมที่ศีรษะ
Other Abstract: Background: Male Androgenetic alopecia (AGA) is a common condition of adult men. Oral Finasteride, a highly selective type 2.5 Alpha reductase inhibitor that decreases the formation of dihydrotestosterone from testosterone can restore hair loss in many patients. However, adverse events related to sexual function, have been reported. Objective: The purpose to this study was to determine the efficacy of topical Finasteride in growing the hair in men with AGA. Methods: In 6 month trial, 50 men from 18 to 60 years of age with moderate to severe male-pattern hair loss on vertex of scalp received 0.5% topical Finasteride or placebo twice per day based on random assignment. Efficacy was determined by scalp hair counts and assessment of clinical photographs. Safety was assessed by clinical and laboratory measurements. Result: Topical Finasteride treatment increased scalp hair count at 6 months (P<0.01, VS Placebo) and net increase in hair count at 6 months was 81 hairs/ 1 inch diameter cycle (placebo = -7 hairs). The assessment by global photographs at 6 months showed approximately 46% global increase of hair after treatment with topical Finasteride. No subjects reported sexual dysfunction and serum drug levels were minimal. Conclusion : In the men with male Androgenetic alopecia, 0.5% topical Finasteride increased hair growth and improved appearance of hair in clinical trail over 6 months.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8315
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1121
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1121
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitchaya_Si.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.