Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8356
Title: การศึกษาเปรียบเทียบวิธีการให้ยาชาเฉพาะที่ขณะทำการส่องกล้องตรวจหลอดลมโดยวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงเทียบกับวิธีฉีดแบบละอองฝอยผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์
Other Titles: Comparison of local anaesthetic injection method for flexible bronchoscopy between direct injection via bronchoscope and injection via spray catheter
Authors: วรพจน์ เหลืองจิรโณทัย
Advisors: ฉันชาย สิทธิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: chanchai.s@chula.ac.th
Subjects: ยาระงับความรู้สึก
การส่องกล้องตรวจหลอดลม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาไปข้างหน้าเชิงทดลองในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและปริมาณลิโดเคน ที่ใช้ในการส่องกล้องตรวจหลอดลมระหว่างวิธีฉีดผ่านกล้องโดยตรงอันเป็นวิธีมาตรฐานที่ใช้กันในปัจจุบัน เทียบกับฉีดผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์ โดยวัดผลเป็นปริมาณลิโดเคนที่ใช้ เวลาที่ใช้ในการตรวจ อัตราการไอ ของผู้ป่วยในช่วงตั้งแต่เห็นกล่องเสียงจนกระทั่งถึงตัวก้อนหรือกลีบปอดที่มีก้อนอยู่ โดยไม่นับรวมช่วงทำ หัตถการเพื่อการวินิจฉัยหลังจากนั้น วัดระดับความรู้สึกระคายเคืองของผู้ป่วยและระดับความยากง่ายใน การตรวจของแพทย์โดยการตอบแบบสอบถามหลังจากการตรวจวินิจฉัยเสร็จสิ้น กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา นี้เป็นผู้ป่วยที่มีก้อนเดี่ยวในปอดและเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโดยการส่องกล้องตรวจหลอดลมที่หน่วย โรคปอด ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในช่วงระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน พ.ศ. 2548 ผลการศึกษาพบว่าปริมาณลิโดเคนที่ใช้ในกลุ่มที่ให้ผ่านกล้องและกลุ่มที่ให้ผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์ = 50.38 + และ - 26.30 และ 6.81 + และ - 2.30 มิลลิกรัมตามลำดับ (P = 0.01) เวลาที่ใช้ในการตรวจ = 3.80 + และ - 1.51 และ 3.52 + และ - 1.08 นาที (P = 0.08) อัตราการไอของผู้ป่วย = 3.47 +และ - 2.2 และ 3.24 + และ - 1.72 ครั้งต่อนาที (P = 0.22) ระดับความรู้สึกระคายเคืองของผู้ป่วย = 3.77 + และ - 1.03 และ 3.27 -+ 1.12 (P = 0.14) ระดับความยากง่ายในการตรวจของแพทย์ = 2.31 + และ - 0.74 และ 2.00 + และ - 0.75 (P = 0.11) การศึกษานี้สรุปได้ว่าการให้ยาชาลิโดเคนผ่านสเปรย์แคทตีเตอร์ขณะส่องกล้องตรวจหลอดลมปอดใช้ ปริมาณลิโดเคนน้อยกว่า แต่เวลาที่ใช้ในการตรวจ อัตราการไอของผู้ป่วย ระดับความรู้สึกระคายเคือง ของผู้ป่วย ระดับความยากง่ายในการตรวจของแพทย์ไม่แตกต่างจากการให้ยาผ่านกล้องโดยตรง
Other Abstract: The purposes of this prospective experimental study were to compare 1) efficacy of local anesthesia 2) amount of lidocaine required between direct instillation of lidocaine via bronchoscope versus injection of lidocaine via spray catheter during bronchoscope. Amount of lidocaine used, time cough rate, were recorded. Likert scale of patients discomfortibilty and satisfactory of bronchoscopist were recorded after the procedure. Study populations were patients whom underwent diagnostic bronchoscopy at King Chulalongkorn Memorial Hospital during January-Novermber 2004. Results show that lidocaine dose for group 1 and group 2 were 50 -+ 26.30 and 6.81 -+ 2.30 mg.,respectively (P = 0.01). Time used were 3.80 -+ 1.51 and 3.52 -+ 1.08 min.(P = 0.08). Cough rate were 3.47 -+ 2.2 and 3.24 -+ 1.72 coughs/min. (P = 0.22). Likert scale of patient were 3.77 -+ 1.03 and 3.27 -+ 1.12 (P = 0.14). Likert scale of physician were 2.31 -+ 0.74 and 2.00 -+ 0.75 (P = 0.11) In conclusion, using spray catheter for delivering lidocaine during bronchoscope resulted in significant reduction of lidocaine used than simple injection via bronchoscope. Other outcome measurements such as time used for bronchoscope, patients discomfort etc. were not significantly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8356
ISBN: 9745327735
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
worapoth.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.