Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/848
Title: | การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล - วิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ.... |
Other Titles: | Salvage : an analysis of Draft Salvage act B.E.... |
Authors: | ทวีศักดิ์ เอื้ออมรวนิช, 2522- |
Advisors: | ชยันติ ไกรกาญจน์ จุฬา สุขมานพ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Chayanti.G@chula.ac.th |
Subjects: | การช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเลปี ค.ศ. 1989 ร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ. ... |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | จากการที่บทบัญญัติในกฎหมายพาณิชยนาวีของไทยหลายฉบับได้กล่าวถึงการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเลไว้ แต่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเลขึ้นโดยเฉพาะ ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนขึ้นในการนำหลักกฎหมายที่มีอยู่มาใช้บังคับ แต่ในปัจจุบันได้มีการร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล พ.ศ... ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับเป็นกฎหมาย จากการศึกษาโดยเปรียบเทียบกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ค.ศ. 1989 กฎหมายของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา จีน เวียดนาม และไทย พบว่าบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นไปตามหลักกฎหมายสากลและทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้นในการนำกฎหมายที่มีอยู่มาใช้บังคับ แต่อย่างไรก็ตามบทบัญญัติบางข้อนั้นยังมีความไม่เหมาะสมซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาหรือความเสียเปรียบต่อประเทศไทยหากเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว ได้แก่ ประเด็นเรื่องบทนิยามและถ้อยคำ ขอบเขตการใช้บังคับ ความไม่ชัดเจนของกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาช่วยเหลือกู้ภัย หน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือกู้ภัย การช่วยเหลือชีวิตมนุษย์ในทะเล ค่าตอบแทนการช่วยเหลือกู้ภัย หลักประกันค่าตอบแทนการช่วยเหลือกู้ภัย ข้อจำกัดสิทธิการได้รับค่าตอบแทนการช่วยเหลือกู้ภัย การดำเนินคดีในศาล และการแทรกแซงของรัฐที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือกู้ภัย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายสากล และเหมาะสมกับการนำมาใช้ในประเทศไทยซึ่งจะต้องคำนึงถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดที่จะเกิดขึ้นแก่เจ้าของเรือและจ้าของสินค้าของไทย ผู้เขียนจึงเสนอแนะบทบัญญัติและแนวทางแก้ไขร่างกฎหายเฉพาะในส่วนที่ยังบกพร่องอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องความไม่ชัดเจนของกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาช่วยเหลือกู้ภัยซึ่งจำต้องบัญญัติให้ชัดเจนว่ามีบทบัญญัติบางข้อที่ไม่อาจตกลงยกเว้นเป็นอย่างอื่นได้ ประเด็นเรื่องบทบังคับในกรณีที่มีการกกระทำผิดหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือกู้ภัยจะต้องมีการบัญญัติไว้ และประเด็นเรื่องค่าทดแทนพิเศษที่ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญา นอกจากนี้ประเทศไทยควรเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาระหว่างประเทศด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเล ค.ศ. 1989 เพราะเมื่อเกณฑ์ในร่างพระราชบัญญัติการช่วยเหลือกู้ภัยทางทะเลได้รับการแก้ไขจนมีเนื้อหาที่สอดคล้องกับอนุสัญญาดังกล่าว จึงควรที่จะประกาศให้กับนานาชาติทราบว่าประเทศไทยมีกฎหมายว่าด้วยการช่วยเหลือกู้ภัยที่มีเนื้อหาตามหลักกฎหมายสากล อันเป็นการยกระดับกฎหมายพาณิชยนาวีของไทยไปอีกระดับ และจัส่งผลต่อการค้าระหว่างประเทศของประเทศไทยในที่สุด |
Other Abstract: | Although some provisions of Thai maritime law refer to Salvage, at present, there is no principal of Salvage in Thai applicable law. Therefore, it is vague to apply those provisions. Recently, there is Draft Salvage Act B.E. which had already considered by Office of the Council of State. This thesis focuses on the study of possibilities and proper to entry Draft Salvage Act B.E. into force. The study, which has compared with International Convention on Salvage 1989, English law (Merchant Shipping Act), United State of America (Wreck and Salvage Act), China Maritime Code, Vietnam Maritime Code and also relevant Thai laws, found that most of provisions in this draft harmonize with general law of salvage and fulfill the lacuna of Thai ap0plicable law on salvage. However in some points of this draft are still not appropriate which can make a problem or disadvantage to Thailand when decided to ratify the International Convention on Salvage 1989. Some weak points are definitions and statement. Jurisdictions, unclear law about salvage contract, duties of salvor and shipowner, human life salvage, reward security, exception of reward, dispute resolution and intervening of State in salvage. For accordance and suitability to entry this draft into force, the draft should concerns about the right, duty and burden of Thai shipowner. In author viewpoint, the draft should revision in those weak points, especially, unclear law about salvage contract which has to express that which provisions are Jus Cogens and which provisions are Jus Dispositivum. The sanction of salvor of shipowner who breaks his duties must be enact. And special compensation must be amended in order to harmonize with willing of this convention. Besides, Thailand should ratify the International Convention on Salvage 1989vbecause it will be the announcement to all country that Thailand already has salvage law which accord with this international convention. In additions, it will be the development of maritime law and international trade in Thailand. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/848 |
ISBN: | 9741765975 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Taweesak.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.