Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8536
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
Other Titles: Factors related to fear of hospitalized school age children
Authors: สารภี กาญจนาโรจน์พันธ์
Advisors: วราภรณ์ ชัยวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Waraporn.Ch@Chula.ac.th
Subjects: เด็ก
ความกลัว
โรงพยาบาล
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ ข้อมูล ที่เด็กมี ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล การรับรู้ความสามารถในตนเอง บุคลิกภาพวิตกกังวลของเด็ก และความวิตกกังวลของมารดา กับความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเด็กวัยเรียนและมารดาที่มาดูแลบุตรที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลศูนย์ 5 แห่ง จำนวน 130 คู่ สุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลที่เด็กมี แบบสอบถามประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในตนเอง แบบสอบถามบุคลิกภาพวิตกกังวลของเด็ก แบบสอบถามความกลัวของเด็กวัยเรียนขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแบบสอบถามความวิตกกังวลของมารดา เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิหาค่าความเที่ยงโดยวิธีของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .76, .85, .84, .86, .83 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ Eta และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.เพศมีความสัมพันธ์กับความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อายุ ประสบการณ์การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และการรับรู้ความสามารถในตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ข้อมูลที่เด็กมีและบุคลิกภาพวิตกกังวลของเด็กมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความวิตกกังวลของมารดาไม่มีความสัมพันธ์กับความกลัวของเด็กวัยเรียนที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to examine the relationships among gender, age, obtained information, hospitalization experience, trait anxiety, perceived self - efficacy, maternal anxiety and fear of hospitalized school age children. Subject were 130 hospitalized school age children, and their mothers, selected by multi - stage sampling. Instruments consisted of obtained information questionnaire, hospitalization experience questionnaire, perceived self-efficacy questionnaire, maternal anxiety questionnaire, Thai State - Trait Anxiety Inventory for Children-Revised (T-STAIC-R), and State Anxiety Subscale of the State - Trait Anxiety Inventory (SAI). Content validity and reliability of these instruments were acceptable. Cronbach's alpha coeffcients were .76, .85, .84, .86, .83 and .89, respectively. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, Eta, and Pearson' Product Moment Correlation. The major results of this study were as follow: 1.Gender was significantly correlated with fear of hospitalized school age children at the level of significance of .05 2. Age, hospitalization experience, perceived self-efficacy were negatively correlated to fear of hospitalized school age children at the level of significance of .05 3. Obtained information, trait anxiety were positive correlated to fear of hospitalized school age children at the level of significance of .05 4. Maternal anxiety was not correlated to fear of hospitalized school age children at the level of significance of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8536
ISBN: 9741757352
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarapee.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.