Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8962
Title: ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ต่อกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
Other Titles: The effect of group reality therapy on coping strategies of low academic achievement mathayom suksa three students
Authors: วีณา มิ่งเมือง
Advisors: สุภาพรรณ โคตรจรัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ksupapan@chula.ac.th
Subjects: จิตบำบัดแบบเผชิญความจริง
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
นักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ
การปรับตัว (จิตวิทยา)
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ต่อกลวิธีการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ (1) หลังการทดลอง นักเรียนที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม จะมีคะแนนการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหา โดยใช้ความสามารถของตนเองและการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการ กับปัญหาโดยอาศัยแหล่งสนับสนุนอื่นๆ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่ม และสูงกว่าคะแนนของนักเรียนที่ไม่ได้เข้ารับ การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม (2) หลังการทดลอง นักเรียนที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม จะมีคะแนนการเผชิญปัญหาแบบหลีกเลี่ยงปัญหาต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่ม และต่ำกว่าคะแนนของนักเรียน ที่ไม่ได้เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุมทดสอบก่อน และหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ จำนวน 16 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจาก ผู้ที่มีคะแนนวิธีการเผชิญปัญหาด้านมุ่งจัดการกับปัญหา โดยใช้ความสามารถของตนเอง และการเผชิญปัญหาด้านการมุ่งจัดการกับปัญหา โดยอาศัยแหล่งสนับสนุนอื่นๆ ต่ำกว่าค่ากลางคือ ต่ำกว่า 52.5 และ 22.5 คะแนนตามลำดับ และมีคะแนนวิธีการเผชิญกับปัญหาด้านหลีกเลี่ยงปัญหา สูงกว่าค่ากลางคือสูงกว่า 70 คะแนน และสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ทั้งหมด 12 ครั้ง เป็นระยะเวลา 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ถึง 2 ครั้งๆ ละ 1.30-2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้นประมาณ 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาจากแบบวัดการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น (The Adolescent Coping Scale) ของฟรายเดนเบอร์กและลูอิส วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ของคะแนนวิธีการเผชิญปัญหาด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการทดลอง นักเรียนที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม มีคะแนนการเผชิญปัญหาแบบมุ่งจัดการกับปัญหาโดยอาศัยแหล่งสนับสนุนอื่นๆ สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่ม และสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้ากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) หลังการทดลอง นักเรียนที่เข้ารับการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม มีคะแนนการเผชิญปัญหาแบบหลีกเลี่ยงปัญหาต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมกลุ่มและต่ำกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้ากลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: To study the effect of group reality therapy on coping strategies of low academic achievement mathayom suksa three students. The hypotheses were that (1) the posttest scores on the problem-focused coping scale and the reference to others coping scale of the experimental group would be higher than its pretest scores and the posttest scores of the control group. (2) the posttest scores on the nonproductive coping scale of the experimental group would be lower than its pretest scores and the posttest scores of the control group. The research design was the pretest-posttest control group design. The sample was 16 students in mathayom suksa three who have low academic achievement randomly selected from the students who scored below mid point on the problem-focused coping scale and the reference to others coping scale, and scored above mid point on the nonproductive coping scale. They were randomly assigned to the experimental group, and the control group, each group comprising 8 students. The experimental group participated in a group reality therapy program conducted by the researcher, for one and a half to two hours once or twice a week over a period of 7 consecutive weeks which made approximately 20 hours. The instrument used in this study was the adolescent coping scale developed from the Frydenberg and Lewis's adolescent coping scale. The t-test was utilized for data analysis. The results indicated that: (1) The posttest scores on the problem-focused coping scale and the reference to others coping scale of the experimental group were higher than its pretest scores and higher than the posttest scores of the control group at .01 level of significance. (2) The posttest scores on the nonproductive coping scale of the experimental group were lower than its pretest scores and lower than the posttest scores of the control group at .01 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการปรึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8962
ISBN: 9746386271
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Weena_Mi_front.pdf771.13 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Mi_ch1.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open
Weena_Mi_ch2.pdf951.05 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Mi_ch3.pdf710.7 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Mi_ch4.pdf842.05 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Mi_ch5.pdf735.28 kBAdobe PDFView/Open
Weena_Mi_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.