Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9246
Title: | การศึกษาวิเคราะห์การใช้ภาพอุปมาอุปไมยในการโฆษณาสื่อสิ่งพิมพ์ |
Other Titles: | A content analysis of pictorial metaphor in magazine advertisement |
Authors: | ณัฐพงษ์ หริรักษาพิทักษ์ |
Advisors: | พนา ทองมีอาคม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Pana.T@chula.ac.th |
Subjects: | การวิเคราะห์เนื้อหา โฆษณาทางหนังสือพิมพ์ โฆษณาทางวารสาร สัญศาสตร์ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบ เนื้อหา และความหมายของภาพ อุปมาอุปไมย ตลอดจนการศึกษาความหลากหลายและแนวโน้มของการใช้ภาพอุปมาอุปไมยในโฆษณาสื่อนิตยสาร ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้ในการศึกษาคือการวิจัยเชิงคุณภาพ และแนวคิดสำคัญที่ใช้ในการศึกษาได้แก่แนวคิดทฤษฎี Interaction ของ Max Black แนวคิดเชิงสัญญวิทยา (Semiology) ของ Roland Barthes และแนวคิดการแบ่งประเภทของภาพอุปมาอุปไมยของ Charles Forceville ผลการวิจัยพบว่า ภาพอุปมาอุปไมยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1. ภาพอุปมาอุปไมยแบบภาพเดี่ยวสื่อความหมาย (MP1s) 2. ภาพอุปมาอุปไมยแบบภาพ 2 ภาพสื่อความหมาย (MP2s) 3. ภาพเปรียบเทียบ (Ps) 4. วัจนะภาพอุปมาอุปไมย (VPMs) 5. ภาพอุปมาอุปไมยแบบผสมผสาน (MPCs) ภาพอุปมาอุปไมยประกอบด้วยความหมาย 2 ระดับคือ ความหมายโดยตรง และความหมายนัยประหวัด ซึ่งถูกส่งผ่านตัวกลาง ได้แก่ Primary และ Secondary Subject ซึ่งสื่อความหมายถึงอรรถประโยชน์หรือคุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ การตีความหมายของภาพประกอบด้วยการมีประสบการณ์ร่วมกันของผู้ส่งสาร และผู้รับสาร ตลอดจนบริบททางวัฒนธรรมและภูมิหลังของผู้รับสารเป้าหมาย ภาพอุปมาอุปไมยจึงสามารถสื่อสารได้อย่างสัมฤทธิผล |
Other Abstract: | This research has the objective to analysis the pattern, the content, the meaning and types of pictorial metaphor in print advertisement. The study is conducted by using qualitative research method. The most important aim is to make a contribution to a theory of pictorial metaphor and the theory can be applied in the analysis of specific advertisement. The relevance theoretical framework are Max Black's Interaction theory of metaphor, the Semiology theory of Roland Barthes and the distribution concept of metaphor of Charles Forceville. The results of research can distribute pictorial metaphor into 5 patterns are : 1. Pictorial metaphor with one pictorially present term (MP1s) 2. Pictorial metaphor with two pictorially present term (MP2s) 3. Pictorial Simile (Ps) 4. Verbo Pictorial Metaphor (VPMs) 5. Pictorial Metaphor with combination Pictorially present term (MPCs). The significant of metaphor has two levels. The denotative and the connotative meaning. The products feature or proposition benefit are projected by the primary and secondary subject. The interpretation were considered by the co-experience of the communication, the addressee and the cultural context to make conplete of the metaphors. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การโฆษณา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9246 |
ISBN: | 9746372513 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Natthapong_Ha_front.pdf | 785.08 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Natthapong_Ha_ch1.pdf | 726.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Natthapong_Ha_ch2.pdf | 805.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Natthapong_Ha_ch3.pdf | 692.86 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Natthapong_Ha_ch4.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Natthapong_Ha_ch5.pdf | 728.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Natthapong_Ha_back.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.