Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9740
Title: อาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับสถาบันการเงิน : ศึกษากรณีเปรียบเทียบมาตรการในการบังคับใช้กฎหมาย ของต่างประเทศและประเทศไทย
Other Titles: Economic crime involving financial institutions : a comparatives study of legal measures between foreign countries and Thailand
Authors: ชญานิศ ภาชีรัตน์
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
เพ็ญวัน ทองดีแท้
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ
สถาบันการเงิน
วิกฤตการณ์การเงิน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม จากรายงานของสถาบันวิจัยว่าด้วยการป้องกันสังคมของสหประชาชาติ เรื่องวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและอาชญากรรม ได้ชี้ให้เห็นถึงผลกระทบอย่างกว้างขวาง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะในสังคมปัจจุบันมีการพัฒนาก้าวหน้าในด้านการธุรกิจ อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง มีการประกอบธุรกิจในลักษณะที่สลับซับซ้อน ทำให้รูปแบบอาชญากรรมทางเศรษฐกิจประเภทนี้ ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว กอรปกับผู้กระทำความผิดลักษณะนี้ มักจะเป็นผู้มีอิทธิพลในวงการธุรกิจและการเมือง ก่อให้เกิดกรณีกฎหมายที่มีอยู่ ไม่สามารถบังคับใช้กับปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทุกกรณีอย่างครอบคลุม มีการอาศัยช่องว่างกฎหมายเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ และมีการหลบเลี่ยงมาตรการทางกฎหมายได้ ซึ่งจะเห็นได้จากการที่บ้านเมืองมีปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เกิดปัญหาการว่างงานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากสถาบันการเงิน เป็นธุรกิจการให้บริการทางการเงิน โดยการบริหารผ่านทางคณะผู้บริหารของสถาบันการเงินนั้นๆ ได้เจริญก้าวหน้าพัฒนารูปแบบของการให้บริการต่างๆ อย่างไม่หยุดยั้งตามความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ เมื่อธุรกิจให้บริการนี้ได้พัฒนาไปโดยไม่หยุดยั้งเช่นนี้ ก็จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงกรอบกติกา ให้สามารถควบคุมดูแลไม่ให้สถาบันการเงิน หรือผู้บริหารของสถาบันการเงิน อาศัยความล้าหลังของกฎหมายหรือช่องว่างของกฎหมาย แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ผู้เขียนได้ศึกษาถึง มาตรการในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเศรษฐกิจของต่างประเทศ ทั้งประเทศในระบบคอมมอนลอว์ และระบบซีวิลลอว์ และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายของไทย ที่เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ พร้อมได้วิเคราะห์เสนอมาตรการ ที่ควรนำมาใช้เพิ่มเติมเกียวกับอาชญากรรมประเภทนี้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลในการบังคับใช้กฎหมาย เกี่ยวกับอาชญากรรมประเภทนี้ได้อย่างแท้จริง
Other Abstract: "Economic Crime" is the fruit of technology, economic, and social changing. From the report of Research Institution of United Nation on Social Protection concerning about Economic and Crime Crisis which receive widely effect from the changing of economic and social especially in the present society which is said to be developed from business, industrial and technology these effect to the type of crimes as well, moreover in the case of the wrongdoers are influential persons or politicians enforcing law on these persons usually cannot succeed. The reasons are that such persons try to find the gab of law to fulfill their benefit. Furthermore, the more economic crises the more jobless workers. Considering on the financial institution, the development of financial institutions are also concerned with the development of economic of the country and it is also necessary to develop the measures to control the financial institution and executives of financial institution who try to get benefit from unclear law. This thesis focuses on studying the measures for law enforcement concerning Economic Crime in foreign countries both Common Law System and Civil Law System countries and also study on the problems in enforcing law of economic crime in Thailand for improving the legal measures for achieving the sufficiency of law enforcement in the said crime
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9740
ISBN: 9741312091
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chayanid.pdf14.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.