Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9752
Title: | การใช้ตำแหน่งขั้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจใหม่เพื่อตรวจความผิดปกติ ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจซิกแนลแอฟเวเร็จในผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดา |
Other Titles: | The new higher intercostal space leads for detection of abnormal signal averaged electrocardiography in brugada syndrome |
Authors: | พีรชัย จรัสเจริญวิทยา |
Advisors: | ถาวร สุทธิไชยากุล สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Taworn.S@Chula.ac.th somkiat.s@chula.ac.th |
Subjects: | กลุ่มอาการบรูกาดา การบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด -- โรค |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความไวของการใช้ตำแหน่งขั้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจใหม่ในการตรวจหาความผิดปกติของ SAECG เปรียบเทียบความไวของการใช้ตำแหน่งขั้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจใหม่ในการตรวจหาความผิดปกติของ SAECG เปรียบเทียบกับตำแหน่งมาตรฐานในผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดา วิธีการวิจัย: ตรวจหาความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจซิกแนลแอฟเวเร็จโดยใช้ตำแหน่งขั้วการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจใหม่โดยวางขั้ว x+, X-, Z+, Z- บนช่องระหว่างซี่โครงที่ 3 และ 2 เปรียบเทียบกับตำแหน่งขั้วมาตรฐานบนช่องระหว่างซี่โครงที่ 4 ทำซ้ำทุก 3 เดือน รวมทั้งหมด 3 ครั้งใน ผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดาและทำในคนสุขภาพแข็งแรง 10 คน ผลที่ได้จากการวิเคราะห์โดยคอมพิวเตอร์มี 3 ตัวแปรคือ (1) ระยะเวลาของ filtered QRS complex (2) ระยะเวลาของ low amplitude signal (3) ค่า square root ค่าเฉลี่ยของค่ายกกำลังสองของสัญญาณที่ 40 ms สุดท้ายของ QRS complex (RMS40) ซึ่งนำไปใช้แปลผลความผิดปกติของ late potentials ผลการวิจัย: ผลของคลื่นไฟฟ้าหัวใจซิกแนลแอฟเวเร็จในผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดาในตำแหน่งขั้วใหม่บนช่องระหว่างซี่โครงที่ 2 พบ RMS 40 มีค่าลดลงมากกว่าตำแหน่งมาตรฐาน (21.8+18.56 microvolt vs 26.57+23.87 microvolt, P=0.004) ขณะที่ในกลุ่มควบคุมพบ LASD มีการเพิ่มขึ้นในช่องระหว่างซี่โครงที่ 3 เปรียบเทียบกับตำแหน่งมาตรฐาน (28.2+6.5 ms VS 263.+6.3 ms, P=0.025) และ RMS 40 มีค่าลดลงมากกว่าที่ตำแหน่งขั้วใหม่บนช่องระหว่างซึ่โครงที่ 3 (45.3+16.89 microvolt vs 55.3+18.52 microvolt, P=0.004) แต่เมื่อเปรียบเทียบตัวแปรของ late potentials ระหว่างกลุ่มอาการบรูกาดากับกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันยกเว้นค่า fQRS(P=0.004) และผลของ late potentials ในผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดาบนตำแหน่งขั้วมาตรฐานได้ผลบวก 21 ใน 30 ครั้ง (70%) เทียบกับตำแหน่งขั้วใหม่บนช่องระหว่าง ซี่โครงที่ 3 ได้ผลบวก 20 ใน 30 ครั้ง (66.6%)(P=0.69) และช่องระหว่าง ซี่โครงที่ 2 ได้ผลบวก 22 ใน 30ครั้ง (73.3%)(P=0.69) ผลของ late potentials .นกลุ่มควบคุมได้ผลลบทุกราย สรุป: ในตำแหน่งขั้วไฟฟ้าบนช่องระหว่างซี่โครงที่สูงขึ้นจากมาตรฐานพบว่าไม่มีผลโดยรวมต่อ late potentials ในทั้ง 2 กลุ่ม เพราะฉะนั้นการเลื่อนตำแหน่งขั้วใหม่ของการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจซิกแนลแอฟเวเร็จในผู้ป่วยกลุ่มอาการบรูกาดาจึงไม่สามารถเพิ่มความไวในการตรวจพบความผิดปกติได้มากกว่าตำแหน่งมาตรฐาน |
Other Abstract: | Objective: This study was aimed to compare the use of new electrocardiograhic leads with standard leads for detection of abnormal signal averaged electrocardiography (SAECG) in Brugada syndrome. METHODS: The late potentials using standard leads SAECG compared with new leads (x+, x-, z+, z-) of SAECG on the third and second parasternal intercostal space (ICS) were assessed for 3 times every 3 months in 10 survivors of sudden unexplained death syndrome who had electrocardiographic pattern of right bundle branch block and ST segment elevation in the lead V1-V3 but structurally normal heart (Brugada syndrome) and 10 normal healthy subjects. Averaged filtered waveform was analyzed by computer program for 3 parameters : (1) filtered QRS duration (fQRS) (2) low amplitude signal duration (LASD) (3) root mean square voltage of the last 40ms of QRS (RMS40). RESULTS: Compared to standard SAECG, finding in the new leads SAECG on second parasternal ICS revealed significantly lower RMS40 (21.8+18.56uV vs 26.57 +- 23.87uV, P=0.004) in patients with Brugada syndrome, whereas in the control group, there were longer LASD (28.2+6.5 ms VS 26.3+6.3 ms, P value = 0.025) and lower RMS40 (45.3+-16.89uV vs 55.3+-18.52uV, P value = 0.004) on third parasternal ICS, Compared to control group, finding value of late potentials in Brugada syndrom were not statistic significance except fQRS (p value = 0.04). The late potential using standard SAECG was presented in 21 of 30 tests (70%) compared with 20 of 30 tests (66.6%) (P value = 0.69) using new leads SAECG on the third parasternal ICS space and 22 of 30 tests (73.3%) (P value = 0.69) using the new leads SAECG on the second parasternal ICS. All of the controls were negative for the late potentials. CONCLUSIONS: We demonstrated that the overall outcome of the late potential was unaffected in the both groups. In conclusion, our finding indicated that detection of abnormal SAECG in Brugada syndrome by proposed new leads could not increase sensitivity. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9752 |
ISBN: | 9740314538 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Peerachai.pdf | 12.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.