Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9796
Title: ความผิดเกี่ยวกับศาสนาตามประมวลกฎหมายอาญา : ศึกษากรณีการกระทำความผิดต่อพระพุทธศาสนา
Other Titles: Offences relating religion : abuse of Bhuddist case study
Authors: ปริศนา สมศักดิ์โยธิน
Advisors: มัทยา จิตติรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ศาสนากับกฎหมาย
กฎหมายอาญา -- แง่ศาสนา -- พุทธศาสนา
สงฆ์ -- การปฏิบัติโดยมิชอบ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงข้อจำกัดการลงโทษในความผิดเกี่ยวกับศาสนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 206, 207 และ 208 เฉพาะศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน วัตถุที่กฎหมายให้ความคุ้มครองศาสนาพุทธคือ วัตถุและสถานที่อันเป็นที่เคารพในทางศาสนา พิธีกรรมในทางศาสนา และรูปแบบการแต่งกายของพระภิกษุสงฆ์ ส่วนพระธรรมวินัยอันเป็นหลักการและแก่นแท้ของพระพุทธศาสนายังไม่มีกฎหมายให้ความคุ้มครอง ในความผิดเกี่ยวกับศาสนาทั้งหมดมีเพียงมาตรา 208 เดียว ที่มีคุณธรรมทางกฎหมายคือความบริสุทธิ์ของศาสนา แต่กลับมีการคุ้มครองในด้านรูปแบบการแต่งกายของพระภิกษุสงฆ์มิให้ผู้อื่นที่มิได้ผ่านการบวชตามพระธรรมวินัยแต่งกายอย่างพระภิกษุสงฆ์เพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อเท่านั้น แม้ว่าบทบัญญัติในมาตรา 208 นี้จะเล็งเห็นว่าการแต่งกายเลียนแบบพระของบุคคลที่มิได้บวชโดยชอบจะเป็นทางนำมาซึ่งความเสียหายต่อพระพุทธศาสนาและประชาชนจึงป้องกันไว้ก็ตาม แต่ในปัจจุบันมีพระภิกษุสงฆ์ที่บวชโดยชอบได้ประพฤติตนล่วงละเมิดพระธรรมวินัยและกระทำการอันไม่เหมาะสมต่อสมณเพศอย่างร้ายแรง ตลอดจนถึงขั้นกระทำความผิดอาญา ผลจากการศึกษาค้นคว้าพบว่า การประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยของพระภิกษุสงฆ์ มีทั้งการหักล้าง หรือคัดค้านพระธรรมวินัยโดยตรง และการประพฤติตนผิดพระธรรมวินัยไม่เหมาะสมต่อสมณสารูปในข้อที่ร้ายแรงในสายตาของสาธารณชน เช่น เสพเมถุน อนาจาร ปลอมตัวเป็นฆราวาสออกเที่ยวกลางคืน คลุกคลีกับสตรีเพศ ดื่มสุราหรือของมึนเมา ดูภาพยนตร์หรือวีดีโอลามกอนาจาร เป็นต้น ซึ่งบางพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาอยู่ในตัว และบางพฤติกรรมไม่เป็นความผิดเลย แต่บทกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับศาสนาดังกล่าวไม่ได้ลงโทษการกระทำอันไม่สมควรอย่างยิ่งของพระภิกษุสงฆ์แต่อย่างใด อีกทั้งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2535 ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ก็มีการลงโทษพระภิกษุอลัชชีที่ประพฤติให้เกิดความเสียหายแก่พระพุทธศาสนาเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและเพื่อความเรียบร้อยดีงามของคณะสงฆ์ด้วย หากแต่เป็นโทษอาญาที่เป็นผลจากการขัดคำสั่งของมหาเถรสมาคมหรือพระผู้ปกครองในทางการปกครองของคณะสงฆ์ หาใช่โทษที่ลงเพราะการประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยไม่ จึงสมควรที่รัฐจะต้องให้ความคุ้มครองความบริสุทธิ์ของศาสนาพุทธอันเป็นศาสนาประจำชาติไทย
Other Abstract: This thesis focus on studying of the limitation in criminal sanction on offences relating religion which provided in Thai Penal Code section 206, 207 and 208 especially on Bhuddist Theravadn. The purpose of the said legal provision is to sustain the social peace. The object of these protect religious object, places of worship, ceremonies and wrongfully dresses of the Bhuddist monk as for Bhuddist canons which is the most important of Bhuddist religion but there is no law for protection. However, only section 208 that has spirit of law that protects the purity of the religion by providing legal sanction on wrongfully dresses likely Bhuddist monk which bring harm to the religion and Thai society. Results getting from research show that disobeying Bhuddist canons of Bhuddist monk not only rejecting Bhuddist canons but also behaving out of Bhuddist canons such as having sex activities, having a night tour in this form of private person, gamble, deal drug, drink liquor or see x movies or video. Some of activities are criminal offences, but some are not. So considering the provision in Thai Penal Code, there are no provision that cover about these commission and the Bhuddist Order Act B.E.2505 and the Bhuddist Order Act (series 2) B.E.2535 also does not have any kind of sanction about the said activities as well. The Bhuddist Order Acts still have a sanction provision on Bhuddist monk who behave himself against Bhuddist canons as for criminal sanction most of them concern with disobeying the order of sangkha authority but not concerning the commission against Bhuddist canons. The suggestion from researcher is that some more criminal sanction should be provided in offences relating to religion to cover abuse of Bhuddist and increase penalty for Bhuddist monk who commits an offence by reason that Bhuddist monk is the status person of the society.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9796
ISBN: 9741706758
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
prisana.pdf2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.