Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9922
Title: วาทกรรมการพัฒนาของรัฐไทย : พ.ศ. 2504-2539
Other Titles: Discourse of the Thai State on development (1961-1996)
Authors: ชาตรี เพ็ญศรี
Advisors: ไชยันต์ ไชยพร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Chaiyand.C@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาทางการเมือง
การพัฒนาสังคม -- แง่การเมือง
การพัฒนาสังคม
การพัฒนาประเทศ -- ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาตรวจสอบรากฐานทางความคิดและความเชื่อทางวิชาการของแนวความคิด "การพัฒนา" ของรัฐไทย ซึ่งเป็นตัวกำหนดเจตนารมณ์และทิศทางตลอดจนยุทธศาสตร์และยุทธวิธีในการวางแผนพัฒนาประเทศ โดยมุ่งสืบค้นเพื่อตรวจสอบว่า 1. ความหมายของสิ่งที่เรียกว่า "การพัฒนา" นั้น ถูกรัฐไทยสร้างขึ้นมาได้อย่างไรและมีการเปลี่ยนแปลงมาอย่างไรบ้าง 2. ด้วยรากฐานทางปรัชญาความคิดอะไรที่ทำให้รัฐไทยสร้างความหมายให้กับคำว่า "การพัฒนา" อย่างนั้น 3. วาทกรรมการพัฒนาของรัฐไทยมีบทบาทอย่างไรในสังคมไทย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ความหมายของสิ่งที่เรียกว่า "การพัฒนา" นั้น รัฐไทยไม่ได้ให้คำนิยามที่ชัดเจน แต่รัฐไทยพยายามสร้างความหมายของการพัฒนาว่าหมายถึงการทำให้ทันสมัยอย่างสังคมตะวันตก ผ่านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาอุตสาหกรรม และการพัฒนาการเมือง โดยผูกโยงเข้ากับคำว่า "ความก้าวหน้า" "การเจริญเติบโต" "การมีมาตรฐานการครองชีพ" เท่าเทียมกับประเทศตะวันตก เป็นต้น โดยมีรากฐานทางความคิดและความเชื่อทางวิชาการที่สำคัญสามส่วนด้วยกัน คือ 1. หลักที่ว่ามนุษย์เป็นนายเหนือธรรมชาติ เพราะฉะนั้น ธรรมชาติจึงเป็นเพียงวัตถุดิบในการผลิต หรือเป็นเพียงเครื่องรองรับความต้องการอันไม่รู้จักจบสิ้นของมนุษย์ 2. หลักความเชื่อมั่นในการใช้ความรู้ทางเทคนิควิทยาการเอาชนะเหนือทั้งธรรมชาติและเพื่อนมนุษย์ เพื่อมนุษย์และสังคมมนุษย์จะพัฒนาก้าวหน้าไปเรื่อยๆ สู่สภาวะที่สมบูรณ์พร้อมในอนาคต 3. หลักความเชื่อในเรื่องความอยู่รอดของผู้แข็งแรงเหมาะสมที่สุด จากรากฐานทางปรัชญาความคิดดังกล่าว "การพัฒนา" ตามแนวความคิดของรัฐไทยถูกนำไปปฏิบัติการทางสังคมในฐานะที่เป็นวาทกรรมชุดหนึ่ง โดยอาศัยอำนาจและกลไกของรัฐ รวมทั้งสถาบันทางสังคมอื่นๆ เพื่อมุ่งผูกขาดอำนาจในการกำหนดหรือสร้างความหมายให้กับคำว่า "การพัฒนา" ในขณะเดียวกันก็ดำเนินการครอบงำ ปิดกั้น หรือกดความรู้ว่าด้วย "การพัฒนา" ในแบบอื่นเอาไว้ โดยเฉพาะความรู้ที่เกิดจากการสั่งสมโดยประสบการณ์ อันมีรากฐานอยู่บนความเชื่อ วิถีชีวิต โลกทัศน์ และภูมิปัญญาตามจารีตหรือขนบของท้องถิ่นต่างๆ
Other Abstract: igates the background information on the technological concept and beliefs of "Development" of the Thai State which are determining factors of the intention, direction, and strategies, and tactics in the development of the country of Thailand with aim to find out and verify in respect of: 1. How the significance of the so called "Development" was built by the Thai State and how was it evolved subsequently; 2. With which thinking philosophical principles has the Thai State made "Significance" in reference to such a meaning of "Development"? 3. How Thai State development discourse play its role in the Thai society. The result of the study found that the meaning of the so called "Development" was not given a clear definition, but the Thai State tried to make the significance of development to directly refer to modernization like in the western society through economical, industrial, and city development by linking it with the term of "Progress", "Growth", "Acquiring standard of living" equivalent to the West for instances based on key three (3) technological principles of concept and belief consisted of the following: 1. The principle that man being a master above nature and thus nature, therefore, is only raw material for production or just an activity to satisfy man's endless demands or needs; 2. The principle of confidence on the implementation of technology knowledge and know-how to defeat both nature and fellow men so than man and his society can keep on developing or evolving to perfection/Utopia in the future; 3. Principle of the survival of the strongest and the most perfect man. Based on forgoing thinking philosophical principles the term "development" following the thought of Thai State has been socially implemented on the one hand in the as a discourse using governmental power and mechanism as well as other social institutions aimed to acquire a monopoly or control the determination or defining the meaning of "Development", and on the other hand exercising domination, exclusion, or subjugation on the knowledge dealing with "Development" in other forms especially on the knowledge accumulated through experience which is based on the traditional beliefs, way of life, overview, and intellects of a variety of Thai State localities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9922
ISBN: 9740300138
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chartree.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.