Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9970
Title: การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับองค์ประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2540 : การวิเคราะห์อภิมาน
Other Titles: A synthesis of thesis concerning factors on computer-assisted instruction lesson in Thailand since B.E. 2528-2540 : a meta-analysis
Authors: สินีนาถ ตลึงผล
Advisors: สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sugree.R@chula.ac.th
Subjects: คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน -- การวิเคราะห์เนื้อหา
วิทยานิพนธ์ -- การวิเคราะห์เนื้อหา
การวิเคราะห์อภิมาน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับองค์ประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528-2540 เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างองค์ประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในแต่ละด้านที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอน ข้อมูลที่ใช้ในการสังเคราะห์ คือ วิทยานิพนธ์จำนวนทั้งหมด 112 เรื่อง นำมาใช้ในการวิเคราะห์ค่าขนาดอิทธิพลจำนวน 100 เรื่อง ศึกษาองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะของผู้เรียน ด้านการชี้นำ ด้านการกำหนดอัตราความก้าวหน้า ด้านรูปแบบการนำเสนอ ด้านวิธีการและกิจกรรม และด้านการให้ผลป้อนกลับและการเสริมแรง ประกอบด้วยตัวแปรหลัก 45 ตัวแปร และตัวแปรย่อย 138 ตัวแปรการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สถิติแบบบรรยาย การคำนวณค่าขนาดอิทธิพลที่เป็นค่าประมาณไม่คลาดเคลื่อน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) โดยใช้องค์ประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวแปรทำนาย ค่าขนาดอิทธิพลเป็นตัวแปรเกณฑ์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. จากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับองค์ประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 112 เรื่อง ส่วนใหญ่เป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร จัดทำมากที่สุดในปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 ทำการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา ในเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์มากที่สุด และศึกษาองค์ประกอบในบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้านลักษณะของผู้เรียนมากที่สุด 2. ตัวแปรที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยพิจารณาจากค่าขนาดอิทธิพลเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยมาตรฐานจากการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ได้แก่ ความถนัดทางการเรียน ความถนัดทางภาษา ระดับความรู้พื้นฐาน การจัดการเรียนแบบคู่ร่วมมือชายและหญิง ลักษณะของแบบฝึกหัด การให้การชี้นำ รูปแบบสิ่งช่วยจัดมโนภาพก่อนเรียน และการนำเสนอบทเรียน 3. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้องค์ประกอบในทั้ง 6 ด้านเป็นตัวแปรทำนาย สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของค่าขนาดอิทธิพลได้ร้อยละ 18.60 และเมื่อใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปร (stepwise method) พบว่ามีองค์ประกอบเพียง 3 ด้านที่มีผลต่อประสิทธิภาพการเรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ด้านลักษณะของผู้เรียน ด้านวิธีการและกิจกรรม และด้านการให้ผลป้อนกลับและการเสริมแรง
Other Abstract: The purposes of this research were to synthesize thesis concerning factors on CAI lesson in Thailand since B.E. 2528-2540 in order to obtain clear conclusion on the variable concerning with the CAI lesson factors and to study the differences among the CAI lesson factors which effect upon learning achievement. The data for this synthesis consisted of 112 research reports. One hundred researches were selected for calculating the effect size by studying in the 6 factors; learner charecteristics, cueing, pacing, presentation format, methodology and activity, and feedback. These research factors had 45 mainvariables and 134 subvariables. The data were analyzed by descriptive statistic, the unbiased estimators of effect size, t-test and the multiple regression analysis. The factors on CAI lesson were treated as an independent variable and the effect size as a dependent variable. The results indicated as follows: 1. For all 112 theses, a large number of theses were conducted at the Chulalongkorn university and Srinakarintaravisoj prasanmitra university, studied in secondary education, concentrated on mathematics subject and concerning factor in learner charecteristics. 2. The factors which effect on the instructional effectiveness with a significant at 0.05 level according to mean of the effect size and the standard regression coefficience were the learning aptitude, the language aptitude, the level of basic knowledge, the boy-girl matchedpair learning method, the drill and practice, cueing, advanced organizer formats and lesson presentation. 3. Regression analysis of 6 predictors indicated that the predictors were able to explain 18.60% of effect size. The stepwise method showed that the 3 factors, learner charecteristics, methodology and activity, and feedback effect on the instructional effectiveness at 0.05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9970
ISBN: 9743319573
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sineenat_Ta_front.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sineenat_Ta_ch1.pdf786.08 kBAdobe PDFView/Open
Sineenat_Ta_ch2.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open
Sineenat_Ta_ch3.pdf763.85 kBAdobe PDFView/Open
Sineenat_Ta_ch4.pdf997.02 kBAdobe PDFView/Open
Sineenat_Ta_ch5.pdf821.53 kBAdobe PDFView/Open
Sineenat_Ta_back.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.