Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12415
Title: วิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ ปี 2010 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Other Titles: Vision of public relations in the year 2010 of companies in the stock exchange of Thailand
Authors: บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ
Advisors: จาระไน แกลโกศล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: วิสัยทัศน์
การประชาสัมพันธ์
บริษัทมหาชน
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ ปี 2010 ของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจ ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ศึกษาเปรียบเทียบภารกิจการประชาสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิจ ในปัจจุบันกับในทศวรรษ 2010 ในมุมมองของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์และผู้บริหารระดับสูง ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากร สถานภาพส่วนบุคคลด้านการประชาสัมพันธ์ และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูง กับวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างในวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ ของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูง ซึ่งอยู่ในองค์กรธุรกิจ ที่ดำเนินธุรกิจต่างประเภทกัน มีขนาดองค์กรต่างกัน จำนวนทุนจดทะเบียนต่างกัน มีสถานภาพและโครงสร้างหน่วยงานประชาสัมพันธ์ต่างกัน ตลอดจนที่มีลักษณะการดำเนินงานประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ของบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูง โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยออกแบบเองเป็นเครื่องมือในการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณาใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มใช้สถิติ t-test, One-Way ANOVA และ Multiple regression analysis และการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ใช้การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC+ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจดทะเบียนในตลาดทรัพย์ฯ มีวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้ต่างก็มีวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ที่กว้างไกล 2. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงที่มีคุณลักษณะทางประชากรแตกต่างกัน มีวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงที่มีประสบการณ์การอบรมสัมมนา ด้านการประชาสัมพันธ์ และประสบการณ์อบรมสัมมนาความรู้ด้านต่างๆ ในระดับที่แตกต่างกันมีวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีประสบการณ์การอบรมสัมมนาสูงกว่า มีแนวโน้มที่มีวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ในระดับสูงกว่าผู้มีประสบการณ์การอบรมสัมมนาในระดับต่ำกว่า 4. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงที่มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารโดยทั่วไปแตกต่างกัน มีวิสัยทัศนการประชาสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน แต่ผู้ที่มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน มีวิสัยทัศนการประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน โดยผู้ที่เปิดรับข่าวสารด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในระดับสูงกว่ามีวิสัยทัศนการประชาสัมพันธ์ในระดับสูงกว่าผู้ที่เปิดรับข่าวสารด้านการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ในระดับต่ำกว่า 5. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจทีดำเนินธุรกิจต่างประเภทกัน มีขนาดองค์กรต่างกันและจำนวนทุนจดทะเบียนต่างกัน มีวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน 6. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจที่มีสถานภาพและโครงสร้าง หน่วยงานประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน และมีฃักษณะการดำเนินงานประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน มีวิสัยทัศน์การประชาสัมพันธ์ไม่แตกต่างกัน 7 ตัวแปรอิสระจำนวน 3 ตัวแปรได้แก่ ประสบการณ์การอบรมสัมมนาด้านการประชาสัมพันธ์ ประเภทธุรกิจผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค และพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารด้านทรัพยากรมนุษย์ ร่วมกันอธิบายการมีวิสัยทัศนการประชาสัมพันธ์ของบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ขององค์กรธุรกิตได้ร้อยละ 8.87 โดยมีตัวแปรประเภทธุรกิจผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค มีอิทธิพลในเชิงลบต่อการมีวิสัยทัศนการประชาสัมพันธ์ 8. เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ ผู้บริหารงานประชาสัมพันธ์ และผู้บริหารระดับสูงขององค์กรธุรกิจ มีมุมมองไปในทิศทางเดียวกันว่าภารกิจการประชาสัมพันธ์ในทศวรรณ 2010 มีความแตกต่างไปจากปัจจุบัน โดยมีแนวโน้มว่าภารกิจการประชาสัมพันธ์ โดยส่วนใหญ่จะขยายขอบเขตและปริมาณงานมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน 9. วิสัยทัศนการประชาสัมพันธ์ ปี 2010 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยภาพรวมสรุปได้ว่า "องค์กรธุรกิจมุ่งสร้างภาพลักษณ์อันพึงปรารถนาเป็นสำคัญ เน้นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกมากขึ้น ต้องมีการวางแผนประชาสัมพันธ์ระยะยาว ระยะปานกลางและระยะสั้น เน้นการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น มีงบประมาณในการซื้อสื่อเผยแพร่ข่าวสารมากขึ้น หน่วยงานประชาสัมพันธ์ของบริษัทต้องขึ้นตรงกับผู้บริหาระดับสูงสุด และการทำงานในหน่วยงานประชาสัมพันธ์เน้นกรทำงานเป็นทีม"
Other Abstract: To search for PR vision by the year 2010 through the awareness, attitude and projection of the target samples involving with corporate public relations of the company under the list of companies in the Stock Exchange of Thailand ; to notify and to compare public relations function and task of the company as projected by PR staff and management during the period of next decade ; to study the relationship between population characteristics, personal status of public relations, information exposure and PR vision ; and to find and to compare the projected vision among the target samples in term of size of company, registered capital status, public relations status of the organization and PR working process of the company. Research Methodology The research is a survey on the 3 groups of the target companies by the aid of the questionnaire which is framed and constructed by the researcher. The acquired data is analyzed by the statistics including mean value and standard deviation, t-test, one-way ANOVA, and multiple regression and Pearson's Product Moment Correlation Coefficient through the aid of SPSS PC+ program. The result of the research could be summmed up as follows: 1. Public relations officers, managers, and top management in charge of PR function have similar vision on future company public relations function. 2. The three groups of the target samples having different demographic characteristics also have similar vision. 3. Those three groups of respondents having different seminar and training experiences have different vision. 4. Those persons differ in exposure on advertising and public relations informations tends to have different PR vision by the inclination that the more the exposure the better the vision. 5. Those samples from the companies of different size and different registered capital do not differ significantly in PR vision. 6. the samples from the companies of different PR organization structure and status and different PR working process do not differ significantly in PR vision. 7. The three independent variables under studied including experience in PR seminar and training, consumer product group, and exposure on human resource information yields the variance of mean of PR vision at 8.78%; strange enough the acquired research result reveals the tendency of negative PR vision among consumer product industry group. 8. It is projected that by the year 2010 PR vision over the companies the respondents are affiliated to will certainly change in scope, workload and tools of PR. They anticipate more expansion and broader function of public relations framework and usage. 9. To sum up PR vision of the target samples it could concluded that the respondents foresee their organizations intend to build desirable corporate image; emphasize more on proactive PR; need all three long, medium and short PR plans; the company offers more budget on PR media usage; PR function reports directly to top management; and PR staff and management make better team work.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12415
ISBN: 9746388126
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonyou_Kh_front.pdf691.03 kBAdobe PDFView/Open
Boonyou_Kh_ch1.pdf940.69 kBAdobe PDFView/Open
Boonyou_Kh_ch2.pdf6.66 MBAdobe PDFView/Open
Boonyou_Kh_ch3.pdf941.23 kBAdobe PDFView/Open
Boonyou_Kh_ch4.pdf4.92 MBAdobe PDFView/Open
Boonyou_Kh_ch5.pdf4.54 MBAdobe PDFView/Open
Boonyou_Kh_back.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.