Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26744
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรชุลี อาชวอำรุง | - |
dc.contributor.author | สุบิน แก้วยัง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-28T11:22:13Z | - |
dc.date.available | 2012-11-28T11:22:13Z | - |
dc.date.issued | 2526 | - |
dc.identifier.isbn | 9745623342 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26744 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษารูปแบบของการพัฒนาคณาจารย์ 2. สำรวจความต้องการในการพัฒนาคณาจารย์ และวิเคราะห์ปัญหาในการพัฒนาคณาจารย์ 3. เปรียบเทียบความคิดเห็นในการพัฒนาคณาจารย์ระหว่างอาจารย์กับผู้บริหาร 4. เสนอโครงการพัฒนาคณาจารย์วิทยาลัยครู ซึ่งประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบ, การจัดตั้งหน่วยงาน, งบประมาณ ตลอดจนวิธีดำเนินงาน ระยะเวลาและอื่น ๆ วิธีดำเนินการวิจัย เพื่อให้การวิจัยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ผู้วิจัยได้แบ่งขั้นตอนการวิจัยออกเป็นขั้นตอนดังนี้ 1. สำรวจความเห็น 1.1 ศึกษาวิธีการและรูปแบบของการพัฒนาคณาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศจากเอกสาร ตำรา ผลงานวิจัย ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และผู้มีประสบการรณ์ด้านการ พัฒนาคณาจารย์ 1.2 นำแนวความคิดจากข้อ 1.1 มาพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะใช้ได้ กับโครงสร้างของวิทยาลัยครู เพื่อนสร้างแบบสอบถามสำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล แล้วนำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่านตรวจสอบเพื่อให้แบบสอบถามมีความตรงตามเนื้อหา และครอบคลุมขอบเขตของการวิจัย แล้วจึงนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 40 คน เพื่อหาความเที่ยง ( Reliability ) โดยวิธีแบ่งครึ่ง ( Split-half method ) ของเพียร์สัน ( Pearson’s product moment correlation coefficient ) หาความเที่ยวเต็มฉบับโดยใช้สูตรของ สเพียร์แมน-บราวน์ (Spearman-Brown) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.99 แบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ได้นำไปใช้จริงกับผู้บริหารและอาจารย์ในวิทยาลับครู 12 แห่ง จำนวน 466 คน ได้รับแบบสอบถามที่สามารถจะนำมาวิเคราะห์ได้ 430 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 92.27 2. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 3 ขั้นตอน คือ ตอนที่ 1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ตอนที่ 2 ความรู้และความต้องการเสริมความรู้ในบทบาทและภารกิจด้านการสอน ด้านการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ ด้านการวิจัย ด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิเคาระห์โดยค่ามัชณิมเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยทีเทสต์ ( t-test ) และ เอฟเทสต์ ( F-test ) เมื่อพบความแตกต่างระหว่างคู่ได้ทดสอบ F ด้วย Scheffe ‘s method ตอนที่ 3 ความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาคณาจารย์ วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ร้อยละ 3. นำผลการวิเคราะห์ข้อมูล และข้อมูลจาก 1 มาออกแบบโครงการเสนอเพื่อพัฒนาคณาจารย์ในวิทยาลัยครู ผลการวิจัย การสรุปผลการวิจัยในครั้งนี้ แยกสรุปเป็น 3 ส่วน ตามลักษณะของแบบสอบถามที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 36-40 ปี แต่งงานแล้ว มีระยะเวลาปฏิบัติราชการระหว่าง 11-15 ปี มีวุฒิปริญญาโททางการศึกษา ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ 2 ระดับ 5-6 และมาจากคณะวิชาครุศาสตร์ แต่อาจารย์ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-35 ปี แต่งงานแล้ว มีระยะเวลาปฎิบัติราชการระหว่าง 6-10 ปี มีวุฒิปริญญาโททางการศึกษา ดำรงตำแหน่งทางวิชาการเป็นอาจารย์ 2 ระดับ 5-6 และมาจากคณะวิชาวิทยาศาสตร์ 2. ความรู้และความต้องการเสริมความรู้ ในบทบาทและภารกิจทั้ง 5 ด้านของอาจารย์วิทยาลัยครู พอจะสรุปได้ดังนี้ คือ 2.1 การจัดลำดับความรู้เกี่ยวกับบทบาทและภารกิจทุก ๆ ด้าน พบว่าทั้งผู้บริหารและอาจารย์ มีความรู้ตรงกันทุก ๆ ด้านคือ ลำดับแรก บทบาทและภารกิจด้านการสอน ลำดับสุดท้าย บทบาทด้านการวิจัย 2.2 การจัดลำดับความต้องการเสริมความรู้เกี่ยวกับบทบาทและภารกิจทุก ๆ ด้านพบว่า ทั้งผู้บริหารและคณาจารย์ มีความต้องการตรงกันเกือบทุกด้าน ผู้บริหารและอาจารย์ต้องการเสริมความรู้อันดับแรกคือ บทบาทและภารกิจด้านการวิจัย อันดับที่ 2 คือ บทบาทด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม และลำดับสุดท้ายคือ บทบาทและภารกิจด้านการสอน 2.3 การเปรียบเทียบความรู้และความต้องการเสริมความรู้เกี่ยวกับบทบาท และภารกิจทุก ๆ ด้าน ระหว่างผู้บริหารและอาจารย์ ทดสอบด้วยสถิติทีเทสต์ ( t-test ) พบว่าทั้งผู้บริหารและอาจารย์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 เลย 2.4 การเปรียบเทียบความรู้และความต้องการเสริมความรู้เกี่ยวกับบทบาทและภารกิจทุก ๆ ด้าน ระหว่างผู้บริหารและอาจารย์ ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ( One way analysis of Variance ) กำหนดความมีนัยสำคัยที่ระดับ .05 พบว่าไม่มีความแตกต่างกันเลย 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและอาจารย์ที่มีต่อการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคณาจารย์ ผู้บริหารและอาจารย์มีความคิดเห็นตรงกันว่า ควรจะมีหน่วยพัฒนาคณาจารย์ที่เป็นหน่วยงานอิสระจัดขึ้นกลุ่มวิทยาลัยละหนึ่งแห่ง โดยมีคณาจารย์จากทุก ๆ วิทยาลัยในกลุ่มเดียวกันเป็นกรรมการร่วมดำเนินการ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางประสานงานสนับสนุนให้คณะวิชาต่าง ๆ จักกิจกรรมเพื่อพัฒนาคณาจารย์ตลอดจนให้ความช่วยเหลือจัดสรรงบประมาณ จัดหาวิทยากรและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาจากทุกภาควิชาหรือทุกคณะวิชาจากวิทยาลัยครูในกลุ่มวิทยาลัยครูเดียวกันรูปแบบในการจัดก็เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการและ/ หรือหลาย ๆ วิธีโดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องและกิจกรรมที่จัด 4. การเสนอโครงการพัฒนาคณาจารย์วิทยาลัยครู เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฎิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 การเสนอ “ โครงการเสนอเพื่อพัฒนาคณาจารย์ในวิทยาลัยครู “ ผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า “ศูนย์พัฒนาคณาจารย์วิทยาลัยครูกลุ่ม…” กลุ่มวิทยาลัยครูละ 1 แห่ง เพื่อตอบสนองความต้องการเสริมความรู้ของผู้บริหารและอาจารย์เกี่ยวกับบทบาทและภารกิจแต่ละด้านในระดับแรก ๆ ทั้ง 5 ด้านมาจัดโปรแกรมการพัฒนาคณาจารย์ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ในการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ ครั้งต่อไปอาจจะ 1. การวิจัยครั้งต่อไปควรจะทดสอบความรู้และความต้องการเสริมความรู้เปรียบเทียบระหว่างผู้บริหารและอาจารย์ โดยกำหนดตัวแปรระหว่าง เพศ คณะวิชา วุฒิที่ได้รับ 2. ควรมีการศึกษาวิจัยซ้ำ เพื่อทดสอบความแตกต่างเกี่ยวกับความรู้และความต้องการเสริมความรู้ระหว่างผู้บริหารและอาจารย์ 3. ควรจะทำการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาคณาจารย์วิทยาลัยครูเปรียบเทียบกับสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ที่มีการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคณาจารย์ | - |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study : The objectives of this study were 1. To study models of faculty development. 2. To survey needs for faculty development and analyse this problem so as to promote faculty development. 3. To compare the opinions between instructors and administrators regarding faculty development. 4. To propose a faculty development guidelines for teachers colleges which comprised of many projects, committees, organizations, budget allocations as well procedures, time etc. Procedures: In order to examine the objectives under study the research was devided into three phases are follows : Phase 1 Opinion survey Section 1 Studies of the methods and modules of faculty development in higher educational institutions, by using printed documents, texts, research, advice by thesis advisor and experienced experts. Section 2 Data gathered from 1.1 was considered as to appropriateness for teachers college structure in establishing the questionnaire data collection. The content validity and profile of the study were duly tested by using 10 expert judgements. There after, it was tried out with 40 subjects so as to test its reliability, employing the split-half method, Pearson’s product moment correlation coefficient and Spearman-Brown. The value of reliability was .99. This questionnaire was consequently used in collecting the data with administrators and instructors in 12 teachers Colleges. 430 from 466 questionnaires form ( 92.27 ) were completed and returned. Phase 2 The data were analysed by using the Statistical Package for Social Science. Section 1 Specific information of the respondents were described in frequencies and percentages. Section 2 The Knowledge and needs pertaining to faculty functions namely, teaching role, training teacher and other personnel in education, research capacities, academic community and maintaining and enriching cultures were analysed by means, standard diviation, t-test, F-test (one way analysis of variance) and Scheffe’s method to test statistical significance of difference. Section 3 The opinions regarding faculty development in general were described in terms of frequencies and percentages. Phase 3 The results together with information collected in the phase I were used as a basis for the design of a proposed project for faculty development in teachers colleges. Research Conclusions The following conclusions were drawn accordingly. Section 1 Specific information of the respondents. Most of the administrators were male, between 36-40 years of age, married, 11-15 years of teaching experience, with a master of education, holding the status of levels 5-6 instructors and faculty status in a faculty of education, while most of the instructors were female, between 31-35 years of age married, 6-10 years of teaching experience, with a master of education, holding the status of levels 5-6 in a faculty of sciences. Section 2 The knowledge and needs for improvements. 2.1 The ranking of the knowledge pertaining to every function for both administrators and instructors, that is, teaching ranked first while ranked last. 2.2 The ranking of the need for improvements in terms actual functions was also identical in this order : (1) research; (2) community service and (5) teaching. 2.3 The comparison of the knowledge and needs for improvements of all functions between administrators and instructors were not significant at .05 level. 2.4 The comparison of the knowledge and needs for improvements of all functions between administrators and instructors were analysed by one way analysis of variance. No significant difference was found at .05 level. Section 3 The opinions regarding faculty development. Both administrators and instructors were of identical opinions that faculty development unit should be autonomous, comprising of faculty members from all groups of teachers colleges. These members one to serve as co-ordinators and supporting units for faculty development activities, assist in budget allocations, and provide trainers as well as necessary materials. The administrators and instructors involved in faculty development should come from every department or every faculty amongs groups of teachers colleges, Pertaining to activities development, preferences were voiced in favor of workshops and/or choices of activities several appropriate. Section 4 A proposed project for faculty development in teachers colleges so as to improve their functions according to the Teacher Colleges Charter B.C. 2518. The results of this study was a proposal to establish an organization as “a center of faculty development of a teacher college group…” Each for every group, as a response to the verified needs to in improve the knowledge of the administrators and instructors, as to their 5 difference aspects of roles and functions indicated in their priority setting to faculty development program is recommended to be organized accordingly. Recommendations. A similar study should be conducted along these lines. 1. Further studies to ascertain knowledge and needs should be conducted based on additional variables namely, sex, faculty status, fields of degrees received. 2. Further studies should be conducted to replicate this study to test any differences pertaining the knowledge and needs of administrators as compared to instructors. 3. Studies of faculty development in teachers colleges as compared to other institutions. | - |
dc.format.extent | 616399 bytes | - |
dc.format.extent | 503967 bytes | - |
dc.format.extent | 1576326 bytes | - |
dc.format.extent | 481252 bytes | - |
dc.format.extent | 1205036 bytes | - |
dc.format.extent | 753120 bytes | - |
dc.format.extent | 725813 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อาจารย์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | วิทยาลัยครู -- คณาจารย์ | - |
dc.title | โครงการเสนอเพื่อพัฒนาคณาจารย์ในวิทยาลัยครู | en |
dc.title.alternative | A proposed project for faculty development in teachers colleges | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Subin_Ke_front.pdf | 601.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Subin_Ke_ch1.pdf | 492.16 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Subin_Ke_ch2.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subin_Ke_ch3.pdf | 469.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Subin_Ke_ch4.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Subin_Ke_ch5.pdf | 735.47 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Subin_Ke_back.pdf | 708.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.