Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28246
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพวาณี หอมสนิท-
dc.contributor.authorเยาวลักษณ์ พลสุจริต-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2013-01-01T06:37:48Z-
dc.date.available2013-01-01T06:37:48Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746318713-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/28246-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาอาชีวศึกษา สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตามตัวแปรเพศและภูมิภาคของสถานศึกษา โดยส่งแบบสอบถามไปยังนักศึกษา 700 ฉบับ ได้รับคืน 625 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 89.29 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรุฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยค่า "ที" (t-test), เอฟ (F-test) และทดสอบรายคู่ของข้อที่แตกต่างด้วยวิธีการ เซฟเฟ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในส่วนรวมอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ เมื่อแยกเป็น รายด้านพบว่า นักศึกษามีความรู้ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลางและด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีผลต่อสุขภาพอยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรเพศ พบว่า โดยส่วนรวมและรายด้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่เพศหญิงมีความรู้ดีกว่าเพศชาย ส่วนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาตินั้นไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรภูมิภาคของสถานศึกษา พบว่า โดยส่วนรวมและรายด้าน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นักศึกษาในแต่ละภาคมีความรู้ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ด้าน สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพนั้นแตกต่างกันโดยทีนักศึกษาในภาคกลางมีความรู้ดีกว่าทุกภาค 2. นักศึกษามีทัศนคติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวมและรายด้านเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรเพศ พบว่า แตกต่างกันทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านทั้งสองโดยที่เพศหญิงมีทัศนคติดีกว่าเพศชาย เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรภูมิภาคของสถานศึกษา ไม่พบความแตกต่างทั้งโดยส่วนรวมและรายด้านทั้งสอง 3. นักศึกษามีการปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยส่วนรวมและรายด้านเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรเพศ พบว่า โดยส่วนรวมและรายด้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 1.05 โดยทีเพศหญิงมีการปฏิบัติดีกว่าเพศชาย แต่ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบตามภูมิภาคของสถานศึกษาพบว่า การปฏิบัติโดยส่วนรวมและการปฏิบัติ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักศึกษาใน ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการปฏิบัติดีกว่านักศึกษาในภาคเหนือและภาคใต้ ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพไม่พบความแตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of the research were to study and to compare the knowledge, attitudes and practices concerning the environment of vocational education college students under the Department of Vocational Education between I males and females and among the students who lived in different' regions: The questionnaires were sent to 700 vocational education college students and 625 questionnaires, or 89.29%, were returned. The data were then statistically analyzed by means of percentages, means, and standard deviations. The t-test and F-test and Scheffe test were also applied to determine the statistically significant differences at the .05 level. The results revealed as follows : 1. The students' knowledge was poor. Their knowledge on natural conservation was fair and the effects on human health was poor. There were significant differences at the .05 level between males and females about general knowledge and the affect on human health. Females' knowledge was better than males' knowledge, but there were no significant differences on the natural conservation. There were no significant differences at the .05 level among students in different regions about general knowledge and knowledge on natural conservation of students, but there were significant differences at the .05 about the affect on human health. The knowledge of students in the central region was the best. 2. The students' attitudes in general and each region ware good. There were significant different at the .05 level between males and females attitudes in general and each region. Females' attitudes were better than males' attitudes. But there were no significant differences at the .05 level among students who lived in different regions. 3. The students' practices were good. There were significant different at the .05 level between males and females in general practices and affects on human health. Females' practices were better than males' practices, but there were no significant differences at the .05 level on the natural conservation. There were significant differences at the .05 level among students who lived in different regions about general practices and practices on the natural conservation. Students in the central and northeastern regions practiced better than students in the northern and southern regions, but there were no significant differences at the .05 level about the affects on human health.-
dc.format.extent5761337 bytes-
dc.format.extent3095172 bytes-
dc.format.extent8043892 bytes-
dc.format.extent3291708 bytes-
dc.format.extent24860121 bytes-
dc.format.extent14959229 bytes-
dc.format.extent12801530 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ-
dc.subjectนักเรียนอาชีวศึกษา -- ทัศนคติ-
dc.titleความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาen
dc.title.alternativeKnowledge, attitudes, and practices concerning the environment of vocational education college studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพลศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yaowalak_po_front.pdf5.63 MBAdobe PDFView/Open
Yaowalak_po_ch1.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open
Yaowalak_po_ch2.pdf7.86 MBAdobe PDFView/Open
Yaowalak_po_ch3.pdf3.21 MBAdobe PDFView/Open
Yaowalak_po_ch4.pdf24.28 MBAdobe PDFView/Open
Yaowalak_po_ch5.pdf14.61 MBAdobe PDFView/Open
Yaowalak_po_back.pdf12.5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.