Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29569
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอุมา สุคนธมาน
dc.contributor.authorยุทธพงศ์ บุญทรง
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2013-03-10T09:07:51Z
dc.date.available2013-03-10T09:07:51Z
dc.date.issued2532
dc.identifier.isbn9745761311
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/29569
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532en
dc.description.abstractเพื่อศึกษาการอ่านวารสารทางการศึกษาฉบับภาษาไทยของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา ตามการรับรู้ของตนเอง ผลการวิจัย 1. ลักษณะการอ่านในเรื่องความถี่ของการอ่านพบว่าครูอ่านวารสารทางการศึกษาฉบับภาษาไทย เฉลี่ยสัปดาห์ 2-3 ครั้ง โดยใช้ช่วงพักกลางวัน สถานที่อ่านครูอ่านที่บ้าน ส่วนวาสารที่นำมาอ่านขอยืมมาจากห้องสมุดโรงเรียน ครู เลือกวาสารทางการศึกษาอ่านโดยใช้ดุลยพินิจของตนเองในการอ่าน ครูจะอ่านเฉพาะเรื่องที่ตรงกับความสนใจและความต้องการของตนในขณะนั้น ส่วนพฤติกรรมหลังการอ่านครูมักจะใช้วิธีจดจำข้อความสำคัญเอาไว้ จุดประสงค์ในการอ่านวารสารทางการศึกษาอ่านเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ 2. ความคิดเห็นด้านต่าง ๆ ของครูที่เคยอ่านวาสารทางการศึกษา ครูส่วนใหญ่เห็นว่า การอ่านวาสารทางการศึกษามีประโยชน์ต่อการสอนมาก แต่จำนวนวาสารในโรงเรียนมีไม่พอกับความต้องการ นอกเหนือจากด้านวิชาการแล้วครูจะสนใจเรื่องข่าวและสาระทั่ว ๆ ไป ส่วนวารสารทางการศึกษาที่ครูให้ความสนใจเรียงตามลำดับดังนี้คือ 1. ประชาศึกษา 2. ครูไทย 3. มิตรครู 4. ข่าวคุรุสภา 5. สารพัฒนาหลักสูตร 6. ข่าวการประถมศึกษา 7. วิทยาจารย์ 8. คุรุปริทัศน์ 9. วิทยาสาร 10. ประชาบาล สำหรับเรื่องที่ครูสนใจอ่านครูสนใจเรื่องแนวความคิดใหม่ ๆ และบทวิเคราะห์วิจารณ์ทางการศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่าครูมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ห้องสมุดโรงเรียนบอกรับวารสารทางการศึกษาเพิ่ม การจัดวางวารสารสะดวกต่อการหยิบค้น เจ้าหน้าที่ห้องสมุดเย็บเล่มวารสาร และบริการด้วยความเอาใจใส่และเป็นกันเอง ในการยืมวารสารครูต้องการยืมครั้งละ 1 – 2 เล่ม ในครั้งหนึ่งต้องการยืม 3 วัน ประโยชน์ของการอ่านวารสารทางการศึกษาพบว่า ครูได้รับทราบข่าวคราวความเคลื่อนไหวทางการศึกษา เกิดแนวความคิดใหม่ทางการศึกษาและเป็นประโยชน์ในการสอน ปัญหาและอุปสรรคในการวารสารทางการศึกษาพบว่า ครูไม่มีเวลาอ่าน และห้องสมุดโรงเรียนไม่มีวารสารทางการศึกษาให้อ่าน 3. ความคิดเห็นด้านต่าง ๆ ของครูที่ไม่เคยอ่านวารสารทางการศึกษา พบว่าครูต้องการแสวงหาความรู้โดยการอ่านจากหนังสือทางวิชาการอื่น ๆ ที่ไม่ใช่วารสารทางการศึกษา ประโยชน์ของการอ่านหนังสือ ครูเห็นว่า ทำให้ได้รับความรู้เพิ่มขึ้นและเกิดแนวความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้ครูไม่เคยอ่านวารสารทางการศึกษาเลยนั้น พบว่า ครูไม่มีเวลาอ่าน และห้องสมุดโรงเรียนบริการไม่ดี
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to study the reading of Thai educational journals of elementary school teachers under the jurisdiction of the office of the National Primary Education Commission as perceived by themselves. The results were as follows: 1) The reading of Thai educational journals of elementary school teachers. On the average. was twice to three times a week during lunch time at home. They borrowed the journals from school’s library and they chose the journals by themselves according to their need and interest. After reading, they tried to remember the main ideas. The objective of reading of educational journals was to get new knowledge. 2) Teachers who used to read educational journals thought that the reading was very useful to their teaching. But the number of journals was not enough for readers. Besides academic matters, they were interested in news and miscellaneous. The educational journals that teachers were interested in order of frequency were: 1. Pracha Suksa 2. Kru Thai 3. Mitkru 4. Kuruspa’s News 5. Sarn Pattanalaksut 6. Primary Education Commission’s News 7. Wittayajarn 8. Karuparitsorn 9. Wittayasarn 10. Prachaban. As for the columns in the journals, the teachers were interested in new concepts and articles about educational analysis and criticism. Besides this, the teachers wanted at the high level, to increase the number of journals in school’s library, to arrange the journals in a proper way, and to find librarians as friendly persons and good helpers. The teachers wanted to borrow journals 1 -2 issues for 3 days. They found that they could get news about education movement and useful idea for their teaching. The problem was that they didn’t have much time to read and there wasn’t any educational journals in school’s library. 3) The opinions of teachers who didn’t use to read educational journals were that they got knowledge by reading other education books. The usefulness of reading was to increase knowledge and to get creative idea. The problem that they didn’t read educational journals was that they didn’t have much time and the service of school’s library was not good.
dc.format.extent11159321 bytes
dc.format.extent11805458 bytes
dc.format.extent15705840 bytes
dc.format.extent8970649 bytes
dc.format.extent29754514 bytes
dc.format.extent15490724 bytes
dc.format.extent19783878 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการอ่านวารสารทางการศึกษาของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ตามการรับรู้ของตนเองen
dc.title.alternativeThe reading of educational journals of elementary school teachers under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission as perceived by themselvesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yuttapong_bo_front.pdf10.9 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_bo_ch1.pdf11.53 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_bo_ch2.pdf15.34 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_bo_ch3.pdf8.76 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_bo_ch4.pdf29.06 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_bo_ch5.pdf15.13 MBAdobe PDFView/Open
Yuttapong_bo_back.pdf19.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.