Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65188
Title: ผลของการใช้แผนผังทางปัญญาและการกำกับตนเอง ที่มีต่อทัศนคติและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Other Titles: Effects of the mind mapping and self-regulation on attitudes and Thai language learning achievement of mathayom suksa one students
Authors: ปฐมาธิดา นาใจคง
Advisors: นิรันดร์ แสงสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ทักษะการเรียน
ความคิดและการคิด
ทัศนคติ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
Study skills
Thought and thinking
Attitude (Psychology)
Academic achievement
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการใช้แผนผังทางปัญญาและการกำกับตนเองที่มีต่อทัศนคติและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จำนวน 60 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา กลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการฝึกการกำกับตนเอง กลุ่มทดลองที่ 3 ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญาร่วมกับการฝึกการกำกับตนเอง กลุ่มควบคุมไม่ได้รับการฝึกใด ๆ โดยสอนตามปกติ ผู้วิจัยทำการทดสอบทัศคติและผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม ในระยะก่อนการทดลองและหลังการทดลอง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา (กลุ่มทดลองที่ 1) กลุ่มที่ได้รับการฝึกการกำกับตนเอง (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญาร่วมกับการฝึกการกำกับตนเอง (กลุ่มทดลองที่ 3) มีคะแนนทัศนคติต่อวิชาภาษาไทยและคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึก (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการรกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา (กลุ่มทดลองที่ 1) กลุ่มที่ได้รับการฝึกการกำกับตนเอง (กลุ่มทดลองที่ 2) และกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญาร่วมกับการฝึกการ กำกับตนเอง (กลุ่มทดลองที่ 3) มีคะแนนทัศนคติต่อวิชาภาษาไทยและคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาไทยสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญามีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกันกับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกการกำกับตนเอง 4. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญาร่วมกับการฝึกการกำกับตนเองมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการรกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา และกลุ่มนักเรียนที่ได้รับการฝึกการกำกับตนเอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. นักเรียนกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญา กลุ่มที่ได้รับการฝึกกำกับตนเอง และกลุ่มที่ได้รับการฝึกใช้เทคนิคแผนผังทางปัญญาร่วมกับการฝึกการกำกับตนเองมีคะแนนทัศนคติต่อวิชาภาษาไทยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the effects of mind mapping and self- regulation on attitude and toward their subject and Thai learning achievement of Mathayom Suksa one students. The subjects were 60 of Mathayom Suksa one students from Boployratchadapiseak school. They were randomly assigned into the experimental 3 groups and the control group with fifteen students in each group. The first experimental group was trained by using the mind mapping technique. The second experimental group was trained by self-regulation and The third experimental group was trained by using the mind mapping technique and self-regulation. No trained was employed in the control group. All subjects were pretested and posttested on attitude and Thai learning achievement. The testing scores were analyzed by using the t-test and one - way analysis of variance. The results were as follows : 1. The students in the first, second and third experimental group obtained higher scores on attitude and Thai learning achievement in the posttest than those in the control group at .01 significant level. 2. The students in the first, second and third experimental group obtained higher scores on attitude and Thai learning achievement in the posttest than their on the pretest at .01 significant level. 3. The students in the first experimental group not obtained higher significant scores Thai learning achievement in the posttest than those of the students in the second experimental group. 4. The students in the third experimental group obtained higher scores Thai learning achievement in the posttest than those of the students in the first experimental group and the second experimental group at .05 significant level. 5. The attitude scores of the first , second and third experimental group were not significant at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65188
ISBN: 9741705395
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Patamathida_na_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ สารบัญ820.4 kBAdobe PDFView/Open
Patamathida_na_ch1_p.pdfบทที่ 1835.53 kBAdobe PDFView/Open
Patamathida_na_ch2_p.pdfบทที่ 21.68 MBAdobe PDFView/Open
Patamathida_na_ch3_p.pdfบทที่ 31.08 MBAdobe PDFView/Open
Patamathida_na_ch4_p.pdfบทที่ 4988.97 kBAdobe PDFView/Open
Patamathida_na_ch5_p.pdfบทที่ 51.02 MBAdobe PDFView/Open
Patamathida_na_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก3.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.