Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65331
Title: การเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันน้ำนม และปริมาณฟลูออไรด์ที่ตกค้างในเด็กอายุ 5-6 ปี ภายหลังการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์เจลเฉพาะที่ ชนิด 1 และ 4 นาที โดยทันตแพทย์
Other Titles: Comparative study of fluoride uptake in deciduous enamel and fluoride retention in 5-6 year-old children after 1- and 4- minute professionally applied APF gels
Authors: ธัญญา สิทธิเสฏฐพงศ์
Advisors: รุจิรา เผื่อนอัยกา
เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Rujira.Pu@Chula.ac.th
Em-on.B@Chula.ac.th
Subjects: ฟันผุ
ฟลูออไรด์
เคลือบฟัน
Fluorides
Acidulated Phosphate Fluoride
Dental Enamel
Tooth, Deciduous
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบปริมาณฟลูออไรด์ที่เพิ่มขึ้นในผิวเคลือบฟันน้ำนมและปริมาณฟลูออไรด์ที่ตกค้างในเด็กอายุ 5-6 ปี ภายหลังการเคลือบฟันด้วยแอซิดูเลทเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลชนิด 1 และ 4 นาที โดยทันตแพทย์ อาสาสมัครจำนวน 80 คนถูกคัดเลือกมาจากเด็กนักเรียนชั้นอนุบาลวัย 5-6 ปี จากโรงเรียนในเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร จากนั้นแบ่งเด็กออกเป็นสองกลุ่มโดยใช้อัตราการไหลของน้ำลายเก็บตัวอย่างผิวเคลือบฟันโดยวิธีใช้กรดกัดบริเวณกึ่งกลางฟันด้านริมฝีปากของฟันหน้าตัดน้ำนมซีกลางบน ที่ไม่มีรอยผุหรือรอยโรค ทั้งก่อนเคลือบและทันทีหลังเคลือบ นำตัวอย่างผิวเคลือบฟันที่ได้ไปวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์และปริมาณแคลเซียม ด้วยฟลูออไรด์อิเลคโทรดและเครื่องอะตอมมิกแอบซอพชันสเปคโทรโฟโตมิเตอร์ (atomic absorption spectrophotometer) ตามลำดับ ขณะเคลือบและหลังเคลือบ 45 วินาที ทันตแพทย์ใช้หลอดดูดน้ำลายกำลังสูงดูดน้ำลายและฟลูออไรด์เจลในช่องปากออก หลังจากนั้นให้เด็กบ้วนฟลูออไรด์เจลทีหลงเหลือในช่องปากทิ้งต่ออีก 1 นาที เด็บรวบรวมน้ำลายและฟลูออไรด์เจลที่ได้จากเด็กแต่ละคนไปคำนวณหาปริมาณฟลูออไรด์ที่ตกค้างในเด็ก ผลการวิจัยพบว่า ปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันน้ำนมที่เพิ่มขึ้นจากการเคลือบฟันด้วยฟลูออไรด์เจลชนิด 1 นาที ปริมาณเฉลี่ย 2,741.837 ± 180.201 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับฟลูออไรด์เจลชนิด 4 นาที ที่ปริมาณดังกล่าวมีค่าเฉลี่ย 2,745.314 ± 209.677 ส่วนในล้านส่วน ปริมาณฟลูออไรด์ที่ตกค้างทั้งหมดในเด็กภายหลังการเคลือบฟันด้วยเจลทั้งสองชนิดมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 7.610 ± 1.544 และ 8.264 ± 1.480 ตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) เช่นกัน จากผลการวิจัยในเด็กอายุ 5-6 ปี กลุ่มนี้พบว่า แอซิดูเลทเตดฟอสเฟตฟลูออไรด์เจลทั้งสองชนิดให้ผลเท่าเทียมกันในด้านการเพิ่มปริมาณฟลูออไรด์ในผิวเคลือบฟันน้ำนมและปริมาณฟลูออไรด์ที่ตกค้าง นอกจากนั้นการบ้วนฟลูออไรด์ทิ้งภายหลังการเคลือบฟัน เป็นเวลานาน 1 นาที สามารถลดปริมาณฟลูออไรด์ที่ตกค้างในเด็กกลุ่มนี้ได้อย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.001)
Other Abstract: The objectives of this study were to compare the fluoride uptake in deciduous enamel and fluoride retention in 5-6 year-old children after 1 – and 4 – minute professionally applied acidulated phosphate fluoride (APF) gels. Eighty participants were recruited from 5-6 year-old kindergartners in Pathumwan area. Bangkok, then divided into two groups according to their stimulated salivary flow rate. An acid-etch enamel biopsy was performed on the middle one-third of labial surface of the caries and lesion free upper central deciduous incisors before and immediately after fluoride application The enamel samples were analysed for the amounts of fluoride and calcium by using fluoride electrode and atomic absorption spectrophotometer respectively During and 45 seconds following fluoride application, saliva and fluoride gel were suctioned by high power saliva ejector After that. The children were asked to expectorate for 1 minute. The remaining fluoride gel and saliva of each children were collected for determining the fluoride retention. The results showed that deciduous enamel fluoride uptake of 1 – minute APF gel (2.741.837 ± 180.201 part per million) was not statistically different (p > 0.05). The findings of this investigation in 5-6 year-old children suggest that 1 – minute APE gel is as good as conventional 4 – minute APF gel in terms of promoting fluoride uptake in deciduous enamel and providing fluoride retention in children In addition. expectoration for 1 minute after fluoride application can reduce significantly fluoride retention in these children (p < 0.001)
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมสำหรับเด็ก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65331
ISBN: 9741702833
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thanya_si_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ829.72 kBAdobe PDFView/Open
Thanya_si_ch1_p.pdfบทที่ 1817.27 kBAdobe PDFView/Open
Thanya_si_ch2_p.pdfบทที่ 21.27 MBAdobe PDFView/Open
Thanya_si_ch3_p.pdfบทที่ 3950.62 kBAdobe PDFView/Open
Thanya_si_ch4_p.pdfบทที่ 4834.88 kBAdobe PDFView/Open
Thanya_si_ch5_p.pdfบทที่ 5897.39 kBAdobe PDFView/Open
Thanya_si_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.