Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65540
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาลินี อาชายุทธการ-
dc.contributor.authorธีรเดช กลิ่นจันทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2020-04-25T16:14:43Z-
dc.date.available2020-04-25T16:14:43Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741731973-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65540-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการรำเพลงหน้าพาทย์กลมในการแสดงโขน ในเรื่ององค์ประกอบของการรำ กระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลมอรชุน และกลมนารายณ์ที่ปรากฏในการแสดงโขน เรื่อง รามเกียรติ์ ตามรูปแบบการแสดงของกรมศิลปากร ณ โรงละครแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2477 - 2544 ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องสัมภาษณ์ผู้ที่เคยแสดงกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลมในการแสดงโขน และรับการถ่ายทอดกระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลมในการแสดงโขน จากผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ไทย 2 ท่าน ได้แก่ อาจารย์อุดม อังศุธร และอาจารย์ธงไชย โพธยารมย์ ผลการวิจัยพบว่า การรำเพลงหน้าพาทย์กลม เป็นศิลปะการแสดงที่มีการสืบทอดโดยปรากฏทั้งในการแสดงโขน และละครตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ใช้ในความหมายของการเดินทางไกล อย่างสง่างาม และการตรวจพลยกทัพของเทวดา ตลอดจนเป็นการอวดฝีมือในการแสดงทางนาฏยศิลป์ไทย การสืบทอดการรำเพลงหน้าพาทย์กลมในการแสดงโขน ของกรมศิลปากร แบ่งออกเป็น 4 สาย ได้แก่ สายกรมพระพิทักษ์เทเวศร์ สายสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงเทพหริรักษ์ ที่แตกออกเป็นสายคุณครูลมุล ยมะคุปต์ และสายท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี โดยปรากฏว่าทั้ง 4 สาย สืบทอดมาจากการแสดงละครใน องค์ประกอบต่าง ๆ ในการรำเพลงหน้าพาทย์กลมในการแสดงโขน ประกอบด้วยบทประกอบการแสดง เครื่องแต่งกาย ดนตรี และผู้แสดงมักเป็นตัวนายโรงของโขน กระบวนท่ารำมีความสอดคล้องสัมพันธ์กับกระบี่ - กระบอง การรำเพลงหน้าพาทย์กราวนอกและการรำทางละครใน กระบวนท่ารำไม่ตายตัว ผู้แสดงต้องเลือกกระบวนท่ารำอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึง 1) เวลาในการแสดง 2) โครงสร้างการแสดง ซึ่งมีการเริ่มต้น ท่าเฉพาะตัวละคร และท่าเชิด 3) การไม่เรียงซํ้าท่า หรีอซํ้าทิศ 4) หน้าทับ ไม้กลอง 5) การรำครบ 3 ด้าน คือ ด้านหน้า และด้านข้าง 2 ด้าน- 6) การใช้หน้าหนังเพื่อแสดงความองอาจ งานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาเพื่อสร้างสรรค์กระบวนท่ารำเพลงหน้าพาทย์กลมที่ใช้ในการแสดงสำหรับตัวละคร-
dc.description.abstractalternativeThis research aims at studying Klom, a classical dance set piece in Khon including its historical development, dance elements, and the National Theatre standard patterns of Klom dance for Orachun and Narai. Research methodology comprises related documentary review, interviewing of experienced Klom dancers and two experts in Thai classical dance_ _ Udom Anguthorn and Thongchai Pothayarom. Research finds that Klom dance set piece appeared in Khon and Lakon performances since Ayudhya period. Klom dance depicts long and dignify journey, troupe reviewing of deities, and displaying virtuosity of dancer. This dance has been passing down to today in four major schools namely Krom Pra Pitaktewet, Krom Luang Tep Harirak which was developed into Lamun and Tanpuying Paew schools. Khon Klom dance of these schools were historically developed from Lakon Nai style. Dance elements such as texts, costume and music are also based upon Lakon Nai. Klom dancer is normally the leading male Khon dancer. Klom dance pattern closely related to martial arts dance, male’s troupe reviewing dance and Lakon Nai dance style. Its pattern is not totally fixed. Dancer can choose different sequences to make a Klom dance by considering 1) time limitation; 2) three parts structure__ beginning, specific dance gestures of particular character, and traveling dance; 3) not repeating dance gestures or directions, 4) drum patterns, 5) three facing directions_ _ front and two side views, 6) Na Nang, a dance gesture from Nang Yai to express strength and dinity. This research can be an example for similar kind of studies.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectลมุล ยมะคุปต์, 2448-en_US
dc.subjectแผ้ว สนิทวงศ์เสนี, ท่านผู้หญิง, 2446-2543en_US
dc.subjectธงไชย ไพรพฤกษ์, 2500-en_US
dc.subjectอุดม อังศุธรen_US
dc.subjectโขนen_US
dc.subjectเพลงกลมen_US
dc.subjectเพลงหน้าพาทย์en_US
dc.subjectการรำ -- ไทยen_US
dc.subjectดนตรีกับการรำ -- ไทยen_US
dc.subjectLamul Yamakupen_US
dc.subjectKhon (Dance drama)en_US
dc.subjectDance -- Thailanden_US
dc.subjectMusic and dance -- Thailanden_US
dc.titleการรำเพลงหน้าพาทย์กลมในการแสดงโขนen_US
dc.title.alternativeKlom dance patterns in Khonen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนาฏยศิลป์ไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorMalinee.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teeradach_kl_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ949.27 kBAdobe PDFView/Open
Teeradach_kl_ch1_p.pdfบทที่ 11.1 MBAdobe PDFView/Open
Teeradach_kl_ch2_p.pdfบทที่ 22.19 MBAdobe PDFView/Open
Teeradach_kl_ch3_p.pdfบทที่ 32.69 MBAdobe PDFView/Open
Teeradach_kl_ch4_p.pdfบทที่ 46.61 MBAdobe PDFView/Open
Teeradach_kl_ch5_p.pdfบทที่ 5956.59 kBAdobe PDFView/Open
Teeradach_kl_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.