Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65669
Title: การสร้างความหมายทางสังคมและการรับรู้ "ความเป็นจริง" ในภาพยนตร์อิงเรื่องจริง
Other Titles: The social construction and perception of reality in based-on-true story films
Authors: สุภา จิตติวสุรัตน์
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.Ka@Chula.ac.th
Subjects: ความเป็นจริง
โครงสร้างสังคม
ภาพยนตร์
การสื่อสาร
Reality
Social structure
Motion pictures
Communication
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการประกอบสร้างความหมายให้แก่ “ความเป็นจริง” ผ่านสื่อภาพยนตร์อิงเรื่องจริงของผู้สร้างภาพยนตร์ , ศึกษาความหมายของ “ความเป็น จริง” ในภาพยนตร์จากการเข้ารหัส (encoding) ของผู้สร้างภาพยนตร์ และศึกษาเปรียบเทียบการรับรู้ความหมายของ “ความเป็นจริง” ผ่านสื่อภาพยนตร์ของผู้รับสารกลุ่มต่าง ๆ โดยใช้แนวคิดเรื่องการสร้างความเป็นจริงทางสังคม แนวคิดเรื่องการเข้ารหัสของผู้ส่งสารและถอดรหัสของผู้รับสาร และแนวคิดเกี่ยวกับภาพยนตร์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการประกอบสร้างความหมายให้แก่ “ความเป็นจริง” ในภาพยนตร์อิงเรื่องจริง เกิดจากจุดมุ่งหมายการประกอบสร้างของผู้สร้างภาพยนตร์ซึ่งมีอยู่ 2 ประการ คือ เพื่อให้ดูเหมือนเป็นเรื่องจริงและเพื่อรื้อความหมายเดิมและสร้างความหมายใหม่ให้แก่ “ความเป็นจริง” โดยสำหรับวิธีการประกอบสร้างเพื่อดูเหมือนเป็นเรื่องจริงนั้น ผู้สร้างภาพยนตร์อาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ ตัวละครโครงเรื่อง การสร้างความเกี่ยวพันกับผู้ชมโดยตรง ฉาก และกลวิธีการนำเสนอของสื่อภาพยนตร์ ส่วนวิธีการประกอบสร้างเพื่อรื้อความหมายเดิมและสร้างความหมายใหม่ให้แก่ “ความเป็นจริง” นั้น ผู้สร้างภาพยนตร์อาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ จุดยืนของผู้เล่าเรื่อง การนำเสนอ “ความเป็นจริง” นั้น ในหลายมิติ แก่นเรื่อง และปมความขัดแย้ง ทั้งนี้ความหมายที่ปรากฏในภาพยนตร์จากการเข้ารหัสของผู้สร้างภาพยนตร์นั้น พบว่า มี 3 ลักษณะ ได้แก่ ความหมายที่เกิดจากการรื้อความหมายเดิมส่วนใหญ่ออกและสร้างเป็นความหมายใหม่, ความหมายที่เกิดจากการรื้อความหมายเดิมบางส่วนและตอกย้ำความหมายเดิมบางส่วนให้ชัดเจนขึ้น และความหมายที่เกิดจากการรื้อความหมายเดิมบางส่วนและสร้างความใหม่บางส่วน สำหรับการรับรู้ความหมายของผู้รับสารนั้น ศึกษาเปรียบเทียบจากกลุ่มตัวอย่างผู้รับสาร 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่มีประสบการณ์ตรง และกลุ่มที่มีประสบการณ์กับ “ความเป็นจริง” ผ่านสื่อ พบว่า กลุ่มที่มีประสบการณ์ ตรงจะถอดรหัสสารด้วยการปฏิเสธความหมายของผู้สร้างภาพยนตร์ ส่วนกลุ่มที่มีประสบการณ์กับ “ความเป็นจริง” ผ่านสื่อ จะถอดรหัสสารด้วยมุมมองที่หลากหลายซึ่งมีทั้งเห็นด้วย , ต่อรอง และปฏิเสธความหมายของผู้สร้างภาพยนตร์ ซึ่งความแตกต่างของการถอดรหัสสารนี้ เป็นผลมาจากการที่ผู้รับสารทั้งสองกลุ่มถูกประกอบสร้างความหมายมาจากโลกเชิงสัญลักษณ์ที่แตกต่างกัน
Other Abstract: The purposes of this descriptive research are to study the social construction of reality in based - on - true story films, to study the meanings of reality in films by encoding of the film producers, and to compare the perceptions of reality in based - on - true story film of different groups of audiences. The theory of social construction of reality, the concept of encoding and decoding, the narrative of film, and semiology are applied. The research found that the social of construction of reality in based - on - true story films is influenced by two purposes in film making of the producers. One is to sense reality, and the other is to deconstruction and reconstruction of reality. To make the film sense reality, the film producers need five elements of film making which are characters, plot, reference relevance, setting, and film devices. And to deconstruction and reconstruction of reality, the film producers also need five elements of film making which are narrator standpoint, multidimension, theme, and conflict. Using the concept of encoding and decoding found that the new meanings of films are generated into three cases; a large deconstruction of the previous meanings and reconstruction of new meanings, a partial deconstruction of the previous meanings and re-emphasis of some previous meanings, and a partial deconstruction of both the previous meanings and new meanings. Finally, the results of the comparison of the perceptions of reality in based - on - true story films from different audiences, which are direct experience group and mass-mediated experience group, indicated that the direct experience group produces the oppositional reading while the mass mediated experience group produces polysemy which are preferred reading, negotiated reading, and oppositional reading. This can be explained by the different symbolic worlds of them.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65669
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.508
ISSN: 9741709447
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.508
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supa_ji_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ817.46 kBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_ch1_p.pdfบทที่ 1865.38 kBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_ch2_p.pdfบทที่ 21.37 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_ch3_p.pdfบทที่ 3827.34 kBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_ch4_p.pdfบทที่ 41.97 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_ch5_p.pdfบทที่ 52.73 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_ch6_p.pdfบทที่ 61.23 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_ch7_p.pdfบทที่ 71.57 MBAdobe PDFView/Open
Supa_ji_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก718.84 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.