Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65749
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรรณี แกมเกตุ-
dc.contributor.authorสุธิมา เทียนงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-12T06:15:58Z-
dc.date.available2020-05-12T06:15:58Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741756623-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65749-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้น เรียน และการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นผู้เรียนเป็น สำคัญของครูสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษ าขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 416 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการ จัดการเรียนการสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบสอบถามการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และแบบสอบถามการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ โมเดลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝง 7 ตัว ตัวแปรสังเกตได้ 23 ตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ห ลักการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ด้วยโปรแกรมลิสเรล 8.53 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. โมเดลการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค - สแควร์เท่ากับ 94.63 ที่องศาอิสระเท่ากับ 149 และมีค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 1 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องกลมกลืนมีค่าเท่ากับ .98 ซึ่งโมเดลที่พัฒนาขึ้น สามารถอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และตัวแปรการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้ร้อยละ 5 และร้อยละ 49 ตามลำดับ 2. ตัวแปรการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (CARE) ได้รับอิทธิพลทางตรงในทิศทางที่เป็นบวกจากตัวแปรความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (SATI) สูงสุด รองลงมาคือ ตัวแปรปัจจัยด้านองค์การ (ORGA) ตัวแปรปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน (FUNC) และตัวแปรแรงจูงใจ (MOTI) และได้รับอิทธิพลทางตรงในทิศทางที่เป็นลบจากตัวแปรปัจจัยด้านบุคคล (INDI) 3. ตัวแปรการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็น สำคัญ (STUC) ได้รับ อิทธิพลทางตรงในทิศทางที่เป็นบวกจากตัวแปรปัจจัยด้านองค์การ (ORGA) สูงสุด รองลงมาคือตัวแปรแรงจูงใจ (MOTI) ตัวแปรความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน (SATI) และตัวแปรการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (CARE) และได้รับอิทธิพลทางตรงในทิศทางที่เป็นลบ จากตัวแปรปัจจัยด้านกลุ่มที่ปฏิบัติงานร่วมกัน (FUNC) และตัวแปรปัจจัยด้านบุคคล (INDI) 4. สำหรับตัวแปรการจัดการเรียนการสอนโดยเน้น ผู้เรียนเป็นสำคัญ (S TUC) ได้รับอิทธิพลทางตรงในทิศทางที่เป็นบวกจากตัวแปรการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (CARE )-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop and validate the causal model of conducting classroom action research and organizing learner-centered instruction of teachers under the jurisdiction of the basic education commission of Ayutthaya education service area 1. The research sample consisted of 416 teachers from teachers from schools under the jurisdiction of the basic education commission of Ayutthaya education service area 1. The research instruments were questionnaires of the effect supporting conducting classroom action research and organizing learner-centered instruction, the questionnaires of conducting classroom action research and organizing learner centered instruction. The developed model consisted of seven latent variables and twenty-three observed variables. The data were analyzed by using the principle of LISREL model analysis, using LISREL program version 8.53. The major findings were as follows: 1. The model of conducting classroom action research and organizing learner centered instruction is best fitted with the chi-square goodness-of-fit test of 94.63, p = 1.00, df = 149 and GFI of 98 and the model accounted for 5 percent of variance in the conducting classroom action research variable and accounted for 48 percent of variance in the organizing learner-centered instruction variable. 2. The conducting classroom action research variable received the maximum direct effects from the job satisfaction variable, the next is the organization variable, the group working variable and the motivation variable and it received the negative direct effect from the individual variable. 3. The organizing learner-centered instruction variable received the maximum direct effects from the organization variable, the next is the motivation variable, the job satisfaction variable and the conducting classroom action research variable and it received the negative direct effect from the group working variable and the individual variable. 4. The organizing learner-centered instruction variable received the direct effects from the conducting classroom action research variable.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectวิจัยปฏิบัติการen_US
dc.subjectการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลางen_US
dc.subjectOperations researchen_US
dc.subjectStudent-centered learningen_US
dc.titleการพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1en_US
dc.title.alternativeDevelopment of the causal model of conducting classroom action research and organizing learner-centered instruction of teachers under he jurisdiction of the basic education commission of Ayutthaya Educational service area 1en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwkaemkate@hotmail.com, Wannee.K@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthima_te_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ776.54 kBAdobe PDFView/Open
Suthima_te_ch1_p.pdfบทที่ 1815.65 kBAdobe PDFView/Open
Suthima_te_ch2_p.pdfบทที่ 22.24 MBAdobe PDFView/Open
Suthima_te_ch3_p.pdfบทที่ 3850.24 kBAdobe PDFView/Open
Suthima_te_ch4_p.pdfบทที่ 41.04 MBAdobe PDFView/Open
Suthima_te_ch5_p.pdfบทที่ 5919.15 kBAdobe PDFView/Open
Suthima_te_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.