Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65809
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ อนันตชาติ-
dc.contributor.authorกิ่งกาญจน์ ภัทรธรรมมาศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย-
dc.date.accessioned2020-05-16T18:00:58Z-
dc.date.available2020-05-16T18:00:58Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.issn9741770332-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65809-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาพัฒนาการและอนาคตของแนวคิดและการใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้บริหารของบริษัทตัวแทนโฆษณา ผู้บริหารของบริษัทลูกค้า ผู้บริหารของบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านการประชาสัมพันธ์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารการตลาด การสนทนากลุ่มและการวิจัยเชิงสำรวจทางไปรษณีย์กับนักโฆษณา นักการตลาด และนักประชาสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานนั้นเริ่มต้นขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2529 โดยบริษัทตัวแทนโฆษณา Ogilvy & Mather ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนโฆษณาที่มา จากประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่นั้นมาการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดการใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน อันได้แก่ จำนวนคู่แข่งขันที่เพิ่มขึ้น เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและฐานข้อมูลที่ก้าวหน้า และการที่ผู้บริโภคแตกออกเป็นกลุ่มย่อย แต่ผู้วิจัยก็พบว่า ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน ซึ่งได้แก่ การขาดความรู้ความเข้าใจ และการขาดศักยภาพในการใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน และการยึดมั่นถือมั่นในสายงานตนเองมากจนเกินไป และจากการพัฒนาและทดสอบแบบจำลองการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทย ทำให้ผู้วิจัยพบว่า ตัวแปรของการมีผู้ควบคุมการสื่อสารให้เป็นเสียงเดียวกัน เป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการทำการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน เพราะทำให้เกิดการเน้นถึงใจความหลัก และการนำเสนอภาพลักษณ์เดียวกันขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งตัวแปรการเน้นถึงใจความหลักเดียวกันนั้น ก็ได้ทำให้เกิดผลตอบรับที่ดีอันเป็นผลมาจากการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานซึ่งก็คือการเพิ่มยอดขายของผลิตภัณฑ์และการเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด นอกจากนี้ แนวโน้มที่เป็นไปได้มากที่สุดของการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในอนาคตนั้นก็คือ นักสื่อสารการตลาดจะใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานกันมากขึ้น โดยจะเน้นการใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานเพื่อเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด ทั้งนี้ นักสื่อสารการตลาดจะต้องมีจิตสำนึกเรื่องการตลาดและเข้าใจผู้บริโภคมากขึ้น ระมัดระวังในการทำการตลาดแบบตัวต่อตัว และหาเครื่องมือสื่อสารใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this dissertation is to explore how integrated marketing communications (IMC) has been developed and progressed in Thailand. The methodologies used included documentary review; in-depth interviews with executives of advertising agencies, marketing companies, and public relations agencies, and marketing communications specialists; and focus group discussion and mail survey with advertising, marketing, and public relations practitioners. The findings show that IMC was first introduced in Thailand by Ogilvy & Mather, an U.S. advertising agency in 1986. Since then, IMC has become popularized among advertising agencies and advertisers due to a number of factors. For example, there are increasing amounts of competitors, advanced information and database technology, and customer segmentation. However, various barriers of IMC implementation have still existed, like misunderstanding of IMC, lack of capability, departmentalization. As developed and tested, a new IMC model further suggests that having a marketing communications specialist responsible for an overall IMC picture is the key in implementing IMC. In addition, the possible trends of IMC implementation rely on utilizing more technology, reaching more consumers with better understanding, ethically dealing with one-to-one marketing, and continually developing new marketing communications tools.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการสื่อสารทางการตลาดen_US
dc.subjectการสื่อสารทางการตลาด -- ไทยen_US
dc.subjectCommunication in marketingen_US
dc.subjectCommunication in marketing -- Thailanden_US
dc.titleพัฒนาการและอนาคตของแนวคิดและการใช้การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe development and future of integrated marketing communications concept and utilization in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSaravudh.A@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kingkarn_pa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.07 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch2_p.pdfบทที่ 25.6 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch3_p.pdfบทที่ 31.82 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch4_p.pdfบทที่ 44.72 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch5_p.pdfบทที่ 51.9 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch6_p.pdfบทที่ 61.44 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch7_p.pdfบทที่ 71.72 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch8_p.pdfบทที่ 81.33 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_ch9_p.pdfบทที่ 91.88 MBAdobe PDFView/Open
Kingkarn_pa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.