Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66018
Title: การพัฒนาแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพในงานบริการ : กรณีศึกษา สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัด
Other Titles: Development of guidelines for improvement of service quality : case study of Chulalongkorn University Savings Cooperative Limited
Authors: ภาสกร จันทมงคลเลิศ
Advisors: นภัสสวงศ์ โอสถศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: napassavong.o@chula.ac.th,Napassavong.O@chula.ac.th
Subjects: สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บริการลูกค้า -- การควบคุมคุณภาพ
ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Chulalongkorn University Savings Cooperative Limited
Customer services -- Quality control
User satisfaction
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพของในงานบริการในมิติต่าง ๆ ซึ่งได้ทำการรวบรวมเครื่องมือ วิธีการในการปรับปรุงคุณภาพ และนำไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงคุณภาพบริการจนก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ใช้บริการ โดยได้เลือกสหกรณ์ออมทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำกัดเป็นองค์กรกรณีศึกษา ในการดำเนินงานวิจัยนี้ได้พัฒนาแบบจำลองของปัจจัยคุณภาพ จากนั้นจึงได้รวบรวมและสร้างแนวทางในการปรับปรุงคุณาภพในแต่ละปัจจัยคุณภาพ โดยอาศัยประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวรรณกรรมและทฤษฎี การสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานจริงในองค์กรกรณีศึกษา และพิจารณาจาก Best Practices ขององค์กรที่อื่น ๆ และได้สร้างวิธีการในการคัดเลือกปัจจัยคุณภาพมาทำการวิเคราะห์และดำเนินการแก้ไข ซึ่งในองค์กรกรณีศึกษานี้ได้มีปัจจัยคุณภาพที่ผ่านการคัดเลือกมาทำการแก้ไข 4 ปัจจัย ส่วนปัจจัยคุณภาพอื่น ๆ ก็ได้สร้างแนวทางการปรับปรุงแก้ไขเช่นกัน แต่ยังมิได้นำไปปฏิบัติใช้จริงในองค์กรกรณีศึกษา หลังจากการปรับปรุงโดยใช้แนวทางที่สามารถปฏิบัติได้ในระยะเวลาของงานวิจัยซึ่งได้แก่ แผนผังแสดงขั้นตอนการบริการ การจัดการวางเครื่องเขียนแบบฟอร์มบรรยากาศและความสะอาดเรียบร้อยภายในสหกรณ์ ข้อมูลข่าวสารมีความชัดเจนเข้าถึงได้โดยง่าย ได้ผลดังต่อไปนี้ สำหรับแนวทางการแก้ไขที่ได้ และประเมินผลจากผู้ใช้บริการ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.79 ในการปรับปรุงขั้นตอนการกู้ยืมขององค์กรกรณีศึกษา พบว่าหากนำแนวทางที่พัฒนาขึ้นไปปฏิบัติแล้วจะสามารถปรับลดเวลาในการกู้ยืมได้จาก 33 วันเหลือ 19 วัน สำหรับแนวทางการปรับปรุงคุณภาพอื่น ๆ ที่ได้สร้างขึ้นแต่กยังมิได้นำไปปฏิบัติใช้จริง ได้ถูกประเมินโดยเจ้าหน้าที่สหกรณ์ทั้งในระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความยาก-ง่ายในการนำไปปฏิบัติ ด้านประโยชน์ต่องค์กรกรณีศึกษา ด้านระยะเวลาที่ใช้ในการนำไปปฏิบัติ และด้านความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อปรับปรุง พบว่าแนวทางที่จัดทำขึ้นร้อยละ 82.35 มีระดับความง่ายปานกลางถึงง่ายมาก ทุก ๆ แนวทางล้วนมีประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพสอ. จุฬาฯ แนวทางโดยรวม ร้อยละ 76.47 ต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการปฏิบัติพอสมควร และทุก ๆ แนวทางที่จัดทำขึ้นล้วนมีความคุ้มค่าอยู่ในระดับคุ้มค่าถึงคุ้มค่ามาก
Other Abstract: This research develops a model of service quality dimensions and guidelines for improving quality in each dimension. The guidelines are developed using information from literature survey, interview of the case study organization, and best practices in the business sector. This research uses Chulalongkorn University Savings Cooperative Limited as a case study. This research presents the methodology to prioritize the dimensions of service that the organization should focus on and select 4 of them to implement by creating process flow map, improving the access of information, improving working environment and improving the prompt of equipment. The results from the evaluation by the customers shows that 70.79% of the customers have increased the satisfaction level. For the responsiveness dimension, the developed guideline can decrease the process time from 33 days to 19 days. Other suggested guidelines such as FAQ, S.Q.S, standard development are evaluated by the management and employees in four dimensions which are the ease of implementation, the benefits to the organization, the implementation time, and the worth in investment. The results show that an average of the sample 82.35% found the ease of implementation in easy to moderate level. Every guideline is found to provide benefits for improving quality. 76.47% of the sample found that the guidelines need time to implement but all guidelines are worth the investment.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66018
ISBN: 9741750089
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Passakom_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ915.24 kBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1800.08 kBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.71 MBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3854.45 kBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4888.16 kBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_ch5_p.pdfบทที่ 54.87 MBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_ch6_p.pdfบทที่ 61.67 MBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_ch7_p.pdfบทที่ 71.54 MBAdobe PDFView/Open
Passakom_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก7.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.