Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66916
Title: การศึกษาการส่งลูกบาสเกตบอลในการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28
Other Titles: A study of the basketball passing during competition on the twenty-eighth University Games of Thailand
Authors: ฌานิกา นิธิธนภัทร
Advisors: เทพประสิทธิ์ กุลธวัชวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: บาสเกตบอล
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการส่งลูกบาสเกตบอลและความสัมพันธ์ระหว่างแบบการส่งลูกบาสเกตบอลที่สัมฤทธิ์ผล แบบการส่งลูกบาสเกตบอลที่ไม่สัมฤทธิ์ผลหรือผิดพลาดและการส่งลูกบาสเกตบอลที่เกิดโอกาสในการยิงประตู กับผลสัมฤทธิ์ของการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างประชากรได้แก่ ตัวแทนนักกีฬาบาสเกตบอลประเภททีมชายของมหาวิทยาลัย/สถาบันที่เข้าร่วมการแข่งขันบาสเกตบอลในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28 ที่ผ่านเข้ารอบสี่ทีมสุดท้ายของการแข่งขัน ดำเนินการวิจัยโดยการถ่ายวิดีโอแล้วนำข้อมูลมาบันทึกลงในแบบบันทึกการส่งลูกบาสเกตบอล นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ และหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่า “ไคสแควร์” และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ในการส่งลูกบาสเกตบอลที่สัมฤทธิ์ผล ทุกทีมได้ทำการส่งลูกสองมือระดับอกมากที่สุด อันดับรองลงมาทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ทำการส่งลูกสองมือเหนือศีรษะและการส่งลูกกระดอน ทีมมหาวิทยาลัยรังสิตทำการส่งลูกกระดอน ทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการส่งถูกสองมือเหนือศีรษะ ทั้งนี้ในการส่งลูกบาสเกตบอลที่ไม่สัมฤทธิ์ผลหรือผิดพลาด ทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทีมมหาวิทยาลัยรังสิต และทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการส่งลูกพลิกแพลงมากที่สุด ส่วนทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำการส่งลูกสองมือระดับอกมากที่สุด อันดับรองลงมาทีมมหาวิทยาลัยกรุงเทพทำการส่งลูกสองมือ เหนือศีรษะ ทีมมหาวิทยาลัยรังสิตทำการส่งลูกสองมือระดับอกและการส่งถูกสองมือเหนือศีรษะ ทีมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทำการส่งลูกกระดอน และทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทำการส่งลูกสองมือระดับอก 2. แบบการส่งลูกบาสเกตบอลที่สัมฤทธิ์ผลและผลสัมฤทธิ์ของการแข่งขันมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. แบบการส่งลูกบาสเกตบอลที่ไม่สัมฤทธิ์ผลหรือผิดพลาดและผลสัมฤทธิ์ของการแข่งขันไม่มี ความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4. การส่งลูกบาสเกตบอลที่เกิดโอกาสในการยิงประตูและผลสัมฤทธิ์ของการแข่งขันมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to study the basketball passing and relationships between the efficient basketball passing 1 the inefficient basketball passing and the shot - achieved in basketball competition. The samples were basketball players represented in the semifinal teams on the twenty - eighth university games of Thailand. The data obtained by recorded videotapes were classified by the basketball checklist, and then, analyzed in terms of percentages, the chi - square test and the spearman rank correlation coefficient. The results indicated that : 1.The efficiently passing in the competition. Two handed chest pass was most used in all teams. In the second efficient passing, Bangkok university team used two - handed chest pass and bounce pass, Rangsit university team used bounce pass, Tammasart university team and Chulalongkorn university team used two -handed overhead pass. For the inefficiently passing, flexible pass was most used in Bangkok university team 1 Rangsit university team and Chulalongkorn university team but two - handed chest pass was most used in Tammasart university team. In the second inefficient passing, Bangkok university team used two - handed overhead pass, Rangsit university team used two - handed chest pass and two - handed overhead pass, Tammasart university team used bounce pass, and Chulalongkorn university team used two - handed chest pass. 2. The efficient basketball passing and the achievement of the basketball competition significantly related at .01 level. 3. The inefficient basketball passing and the achievement of the basketball competition did not significantly related. 4. The basketball passing led to shooting and the achievement of the basketball competition significantly related at .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66916
ISBN: 9741301928
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanika_ni_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ770.76 kBAdobe PDFView/Open
Chanika_ni_ch1_p.pdfบทที่ 1825.54 kBAdobe PDFView/Open
Chanika_ni_ch2_p.pdfบทที่ 21.47 MBAdobe PDFView/Open
Chanika_ni_ch3_p.pdfบทที่ 3654.19 kBAdobe PDFView/Open
Chanika_ni_ch4_p.pdfบทที่ 41.02 MBAdobe PDFView/Open
Chanika_ni_ch5_p.pdfบทที่ 5942.75 kBAdobe PDFView/Open
Chanika_ni_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.