Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67513
Title: แนวคิดในการกำหนดมาตรการต่อการค้าประเวณี : ศึกษาเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม
Other Titles: The concepts for devising measures dealing with prostitutions : a case study of practitioners in criminal justice system
Authors: วุฒิชัย เต็งพงศธร
Advisors: วีระพงษ์ บุญโญภาส
นวลน้อย ตรีรัตน์
Advisor's Email: Viraphong.B@Chula.ac.th
Nualnoi.T@Chula.ac.th
Subjects: การค้าประเวณี
การค้าประเวณี -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การค้าประเวณี -- ไทย
กระบวนการยุติธรรม
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539
Prostitution
Prostitution -- Law and legislation
Prostitution -- Thailand
Justice, Administration of
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ประเทศไทยมีการลักลอบค้าประเวณีและธุรกิจค้าประเวณีที่ผิดกฎหมายขึ้นเป็นจำนวนมาก แม้จะมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องใช้บังคับ แต่ก็ไม่อาจทำให้การค้าประเวณีและธุรกิจการค้าประเวณีลดลงแต่อย่างใด ในการวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาถึงแนวคิดในเชิงกฎหมายต่อการกำหนดมาตรการต่อการค้าประเวณีและธุรกิจการค้าประเวณีของไทยและของต่างประเทศตั้งแต่สมัยอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งได้สัมภาษณ์กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ พบว่า ประเทศต่างๆ ในโลกนี้ยังคงมีมาตรการต่อการค้าประเวณีและธุรกิจการค้าประเวณีในรูปแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งสามารถสรุปหลักแนวคิดในการกำหนดมาตรการต่อ การค้าประเวณีและธุรกิจการค้าประเวณีออกได้เป็น 3 แนวคิด คือ แนวคิดในเชิงห้ามมิให้ค้าประเวณีโดยเด็ดขาด แนวคิดในเชิงปรามการค้าประเวณี และ แนวคิดในเชิงควบคุมการค้าประเวณี ความคิดเห็นของกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพในกระบวนการยุติธรรม ยังคงมีความคิดเห็นต่อในเรื่องดังกล่าวออกเป็น 2 แนวทาง แนวทางแรก เห็นว่า ควรจะกำหนดให้มีมาตรการในการกำหนดให้การค้าประเวณีและธุรกิจการค้าประเวณีเป็นความผิดในทางกฎหมาย ส่วนอีกแนวทางหนึ่ง มองว่ามาตรการ กำหนดโทษทางอาญาต่อการค้าประเวณีและธุรกิจการค้าประเวณีตามกฎหมายการค้าประเวณีของไทยในปัจจุบันไม่มีความเหมาะสม และควรจะมีการแก้ไขโดยการกำหนดให้การค้าประเวณีและธุรกิจการค้าประเวณีเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมายแต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐแทน
Other Abstract: It is generally accepted that, prostitution and organized prostitution business exist in Thailand. Although the Prostitution Prevention Act 1999 and other relevance laws are enforced, the number of prostitution and prostitution businesses cannot be reduced. This research focuses on Thai law prostitution measures as compared to that of foreign countries, past and present. This research still interview practitioners in criminal justice system. Results from this research demonstrate that, This generally, there are 3 measures against prostitution business i.e, Prohibitionist System, Abolitionist system and Regulatory System The representative opinion of practitioners in criminal justice system on prostitution measures indicate two separate methods of dealing with prostitution i.e, making prostitution and the prostitution business unlawful. And legalize prostitution and the prostitution business but impose State regulation.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67513
ISBN: 9745325074
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wuthichai_te_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ891.41 kBAdobe PDFView/Open
Wuthichai_te_ch1_p.pdfบทที่ 1818.76 kBAdobe PDFView/Open
Wuthichai_te_ch2_p.pdfบทที่ 22.15 MBAdobe PDFView/Open
Wuthichai_te_ch3_p.pdfบทที่ 32.01 MBAdobe PDFView/Open
Wuthichai_te_ch4_p.pdfบทที่ 41.32 MBAdobe PDFView/Open
Wuthichai_te_ch5_p.pdfบทที่ 5824.13 kBAdobe PDFView/Open
Wuthichai_te_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก775.13 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.