Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67834
Title: | ผลของความเข้มข้นของน้ำเสียต่อประสิทธิภาพการบำบัดของพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม ที่ปลูกพันธุ์ไม้ชายเลน เมื่อใช้ระบบกะ |
Other Titles: | Effect of wastewater concentration on treatment efficiency of constructed wetland planted with mangrove species using batch system |
Authors: | ชีวรัตน์ ศิลปรัตน์ |
Advisors: | กนกพร บุญส่ง สมเกียรติ ปิยะธีรธิติวรกุล |
Advisor's Email: | Kanokporn.B@Chula.ac.th Somkiat.P@Chula.ac.th |
Subjects: | น้ำเสีย -- การบำบัด บึงประดิษฐ์ พืชชายเลน Sewage -- Purification Constructed wetlands Mangrove plants |
Issue Date: | 2548 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ทำในระบบพื้นที่ชุ่มนํ้าเทียมที่สร้างด้วยบ่อซีเมนต์ ขนาดกว้าง 1 ม. ยาว 2 ม. สูง 0.6 ม. โดยมี ปัจจัยที่ทำการศึกษา 3 ปัจจัย คือ ชนิดพืช ได้แก่ โกงกางใบใหญ่ (Rhizophora mucromta) แสมทะเล (Avicenia manna) พังกาหัวสุมดอกแดง (Bruguiera gymnorhiza) โปรงแดง (Ceriops tagal) และไม้ปลูกพืช (ชุดควบคุม) ความเข้มข้นของน้ำเสีย ได้แก่ นํ้าเสียชุมชนปกติ (NW) ซึ่งมีค่าไนโตรเจนทังหมด 20 มก./ล. และฟอสฟอรัส ทั้งหมด 4 มก./ล และนํ้าเสียชุมชนที่ปรับเพิ่มให้มีความเข้มข้นของไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสทังหมดเป็น 2, 5 และ 10 เท่าของนํ้าเสียชุมชนปกติ โดยมีน้ำทะเลเป็นชุดควบคุม ระยะเวลากักเก็บที่ใช้ในการทดลอง คือ 7, 5 และ 3 วัน ชุดการทดลองทั้ง 25 ชุด จัดสร้างภายใต้หลังคาคลุม ในพื้นที่โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี ผลการทดลอง พบว่า ชุดทดลองที่ปลูกพืช สามารถบำบัดน้ำเสียได้ดีกว่าชุดควบคุมไม่ปลูกพืชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยชุดทดลองที่ปลูกกล้าไม้มีเปอร์เซ็นต์การบำบัดบีโอดี ไนโตรเจนทั้งหมด แอมโมเนีย ไนเตรท ฟอสฟอรัสทังหมด และออร์โธฟอสเฟตอยู่ในช่วง 23.39-94.32,48.72-88.68,29.61-96.30, 13.33-79.16, 75.22-92.57 และ 74.79-92.53 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีแนวโน้มว่าเมื่อระดับความเข้มข้นของนี้าเสียเพิ่มขึ้นเปอร์เซ็นต์การบำบัดนํ้าเสียจะลดลง เมื่อเปรียบเทียบ เปอร์เซ็นต์การบำบัดน้ำเสียเมื่อใช้ระยะเวลากักเก็บต่างกัน พบว่าเมื่อใช้ระยะเวลากักเก็บ 7วันมีค่าเปอร์เซ็นต์ การบำบัดสูงกว่าเมื่อใช้ระยะเวลากักเก็บ 5 และ 3 วัน ตามลำดับ การศึกษาสมบัติของดินภายหลังการทดลองบำบัดน้ำเสีย พบว่า ปริมาณอินทรียวัตถุและธาตุอาหาร (ไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสทั้งหมด) สูงขึ้นอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยแปรตามระดับความเข้มข้นของน้ำเสีย และจากการศึกษา พบว่า การสะสม อินทรียวัตถุและธาตุอาหารในดินชั้นบนสูงกว่าดินชั้นล่างสำหรับปริมาณธาตุอาหารในกล้าไม้ภายหลังการทดลองบำบัดนี้น้ำเสีย พบว่ากล้าไม้ในชุดทดลองที่ได้รับน้ำเสียมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าชุดควบคุมนํ้าทะเล และพบว่ากล้าไม้โกงกางใบใหญ่มีอัตราการเจริญเติบโตทางด้านมวลชีวภาพสูงที่สุด ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าระบบพื้นที่ชุ่มนี้าเทียมที่ปลูกพันธุไม้ชายเลนเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดนํ้าเสียได้ดีดังนั้นการใช้ป่าชายเลนปลูกในการ บำบัดน้ำเสียชุมชนก่อนปล่อยออกทะเลจึงเป็นไปได้ |
Other Abstract: | The experiment was conducted in 25 cement blocks of 1 X 2 X 0.6 meters each. The study was designed using 4 mangrove species (Rhizophora mucronata, Avicenia marina, Bruguiera gymnorhiza, Cenops tagal and without plant as a control) and 4 wastewater concentration (normal wastewater (NW), 2, 5 and 10 times higher total nitrogen and total phosphorus of nonnal wastewater (2NW, 5NW and 10NW) and seawater as a control). Wastewater was retained within the system for 7, 5 and 3 days. The experiment was conducted in a greenhouse at Royal Laem Phak Bia Environmental Research and Development Project in Petchaburi province. The results indicated that all plants had ability of municipal wastewater treatment in constructed wetland higher than control (without plant) unit. The removal percentage of the experiment sets planted with mangrove species for BOD, total nitrogen, amonium, nitrate, total phosphorus, ortho-phosphate were 23.39-94.32,48.72-88.68, 29.61-96.30, 13.33-79.16, 75.22-92.57 and 74.79-92.53 % respectively. According to wastewater concentration, the removal percentage of all treatment units received low concentration wastewater was higher than higher concentration wastewater. Moreover, the removal percentage of 7 day- detention time was higher than the 5 day- and 3 day- detention time, respectively. After receiving wastewater, organic matter and nutrients (total nitrogen and total phophorus) accumulation in surface soil layer increased significantly with concentrations of wastewater. Soil irrigated with 10NW had the highest contents of organic matter and nutrients. Organic matter and nutrients were accumulated higher on the surface soil layer than the sub soil layer. After treating, nutrients concentration in plants were analysed and found that plant cultivated with wastewater had higher nutrients than seawater. The highest growth rate and biomass found in Rhizophora mucronata. The results suggested that the constructed wetland planted with mangrove species was effective for removing nutrients from wastewater. Therefore, the use of mangrove plantations for municipal wastewater treatment is applicable. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67834 |
ISBN: | 9741739508 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cheewarat_si_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cheewarat_si_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 754.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Cheewarat_si_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cheewarat_si_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cheewarat_si_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 6.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Cheewarat_si_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 956.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Cheewarat_si_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 4.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.