Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67870
Title: นวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการแต่งหน้าเสมือนจริง
Other Titles: Innovative virtual make-up application
Authors: วรรษมน อนันต์สุขเกษม
Advisors: ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย
นกุล คูหะโรจนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Natcha.T@Chula.ac.th
Nagul.C@Chula.ac.th
Subjects: การแต่งหน้า
เครื่องสำอาง
นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
ผลิตภัณฑ์ใหม่
Cosmetics
Technological innovations
New products
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การแต่งหน้าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยในการเสริมภาพลักษณ์ที่ดีและช่วยสร้างความมั่นใจให้กับตนเองได้มากยิ่งขึ้น ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผู้ซื้อนิยมทดลองก่อนเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมก่อนตัดสินใจซื้อ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือเพื่อสร้างนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการแต่งหน้าเสมือนจริง และศึกษาการตอบรับของผู้บริโภคที่มีต่อนวัตกรรมนี้ในการทดลองแต่งหน้าเสมือนจริง ที่ออกแบบขึ้นเพื่อให้ผู้บริโภคสามารถทดลองใช้ผลิตภัณฑ์แต่งหน้าของตนเอง ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แทนการนำเอาสินค้าทดลองมาแต่งจริงบนใบหน้า ซึ่งสามารถลดโอกาสเสี่ยงจากการติดเชื้อจากการใช้เครื่องสำอางทดลองร่วมกับผู้อื่น ขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การวางแผนผลิตภัณฑ์ โดยใช้วิธีการแบ่งส่วนตลาด การเลือกตลาดเป้าหมาย และการกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ (2) การระบุความต้องการของลูกค้า เพื่อหาความต้องการของผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามทั้งหมด 131 ชุด (3) การระบุข้อกำหนดทางด้านเทคนิคเป็นวิธีแปลงข้อมูลความต้องการมาสู่ขั้นตอนทางด้านเทคนิค โดยอาศัยเทคนิค Quality Function Deployment (QFD) (4) การสังเคราะห์แนวคิด การสร้างแนวความคิดตามแนวทางวิศวกรรมคุณค่าทำให้เกิดการสร้างแนวคิดทั้งหมด 27 แนวคิด (5) การคัดสรรและเลือกแนวความคิดใช้เทคนิค Pugh Matrix และ Weight Sum Method (6) การออกแบบขั้นตอนการทำงานได้แบบแผนจำลองต้นแบบนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (7) การสร้างต้นแบบแอพพลิเคชั่นการแต่งหน้าเสมือนจริง ที่ผู้ใช้สามารถเลือกทดลองสินค้าและแต่งหน้าตนเองผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ (8) การทดสอบผลิตภัณฑ์และการตอบรับของผู้บริโภค ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคต้องการใช้นวัตกรรมแอพพลิเคชั่นการแต่งหน้าเสมือนจริง หากมีการพัฒนาระบบให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการเงิน โดยกำหนดอัตราการเติบโตของยอดขาย VMA อยู่ที่ 20% ต่อปี ด้วยเงินเริ่มต้นที่ 7,325,000 บาท ระยะเวลาโครงการ 5 ปี พบว่า จะคืนทุนภายในปีที่ 2 มีค่า ปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ได้จากการลงทุนเท่ากับ 25,304,571.92 บาท และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริง (IRR) จากการลงทุนเท่ากับ 91.42%
Other Abstract: To enhance personal confidence and create better appearance and good personality, facial make up is necessary. To get the right color make up that match to individual facial skin tone, consumers have to try the tester on their real face before considering to purchase. The objectives of this research are to create the innovative virtual make up application and to study the consumer usage response after applying this application which is designed to test the makeup on computer screen which can reduce the risk of infection from mutually using the product testers. The approach to develop this innovation consists of eight steps. (1) Product Planning: This step focuses on the appropriate marketing planning by segmentation, defining target and positioning. (2) Identify customers need: this step working on collecting and studying customer requirements by using 131 questionnaires in this survey. (3) Establish target specification: the step to convert requirement to technical specifications based on Quality Function Deployment (QFD) technique. (4) Idea Generation: generating idea based on value engineering techniques to come up with 27 new ideas. (5) Idea Screening and selection: Selecting idea based on Pugh Matrix and Weight sum method techniques. (6) Product design: designing the working process of prototype in terms of system design and development (7) Develop Prototype: creating the prototype of Virtual Make Up Application which consumer can test the product concept and usage. (8) Product testing and Consumer response survey: testing the function and study the consumers’ responses towards using the innovation. The feasibility for finance indicates to commercialize this innovation is possibly successful. Based on the project risk assessment using NPV and IRR methods. The result of NPV at 25,304,571.92 THB and IRR at 91.42%. This project is for 5 years and set growth at 20% of each year. The financial assessment concluded the break-even point within the 2nd year of initial investment of 7,325,000 THB.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67870
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Vassamon_an_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.16 MBAdobe PDFView/Open
Vassamon_an_ch1_p.pdfบทที่ 11.39 MBAdobe PDFView/Open
Vassamon_an_ch2_p.pdfบทที่ 23.06 MBAdobe PDFView/Open
Vassamon_an_ch3_p.pdfบทที่ 31.75 MBAdobe PDFView/Open
Vassamon_an_ch4_p.pdfบทที่ 44 MBAdobe PDFView/Open
Vassamon_an_ch5_p.pdfบทที่ 51.53 MBAdobe PDFView/Open
Vassamon_an_ch6_p.pdfบทที่ 61.08 MBAdobe PDFView/Open
Vassamon_an_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.