Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68336
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน : การประยุกต์ใช้โมเดลสมการโครงสร้าง
Other Titles: Factors affecting happiness at work of teachers under the Office Of Basic Education Commission : an application of structural equation model
Authors: สพลกิตติ์ สังข์ทิพย์
Advisors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Suchada.b@chula.ac.th
Subjects: ความสุข
ครู -- ความพอใจในการทำงาน
การทำงาน -- แง่จิตวิทยา
Happiness
Teachers -- Job satisfaction
Work -- Psychological aspects
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อวิเคราะห์ระดับความสุขในการทำงานของครูในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความสุขในการทำงานของครูที่สอนต่างระดับชั้น (3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (4) เพื่อทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 480 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 1 ตัวแปร คือ ตัวแปรความสุขในการทำงานของครู ซึ่งวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัวแปร คือ ตัวแปรความสุขทางกายและตัวแปรความสุขทางใจ ซึ่งมีปัจจัยที่ส่งผลต่อตัวแปรแฝงทั้งหมด 12 ปัจจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้แต่ละตัวตั้งแต่ .562 ถึง .849 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์ลิสเรล และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ยของระดับความสุขเท่ากับ 2.79 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของความสุขทางกายและความสุขทางใจเท่ากับ 2.87 และ 2.71 ตามลำดับ 2. ระดับความสุขในการทำงานของครูจำแนกตามระดับชั้นที่สอน พบว่า ครูที่สอนในระดับชั้นประถมศึกษา และระดับชั้นมัธยมศึกษามีค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานประกอบด้วยปัจจัยทั้งหมด 12 ปัจจัย ได้แก่ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน การรับรู้คุณค่าในตนเอง การใช้ชีวิตแบบพอเพียง ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์กับนักเรียน สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ลักษณะงานและคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความสุขในการทำงานของครู ได้แก่ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ในครอบครัว รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความสัมพันธ์กับนักเรียน 4. โมเดลเชิงสาเหตุความสุขในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลระหว่างกลุ่มครูที่สอนทั้งสองระดับชั้น โดยให้ค่าไค-แสควร์ เท่ากับ 256.03 ; p = 0.81 ที่องศาอิสระเท่ากับ 277 ค่า GFI เท่ากับ 0.90 ค่า NFI เท่ากับ 0.98 และค่า RFI เท่ากับ 0.97
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to study the happiness level of teachers under the office of basic education, 2) to compare the happiness levels among primary teachers and secondary teachers and 3) to analyze the factors affecting the happiness of teachers at work under the office of basic education. 4) to test the model invariance between primary teachers and secondary teachers. This research was a quantitative research with a sample group of 480 teachers. Data consisted of 1 latent variable: happiness at work; and 2 observed variables measuring that latent variable : physical health and mental health. Data were collected by questionnaires having reliability for each for each variable ranging from .562-849. Data analyses were descriptive statistics, Pearson's Correlation and structural equation model analysis by LISREL program. The results were as follows : (1) Happiness levels of elementary and secondary level teachers were at a moderate level. The mean average level was at 2.79 while the mean average of the physical health and the mental health was at 2.87 and 2.71, respectively. (2) The levels of happiness at work of teachers in primary education and secondary education were not significantly different. (3) The factors affecting happiness of teachers at work consisted of twelve factors; education, status income, self-esteem, economical life use, family relationships, relationship with the school director, relationships with colleagues relationships with students, workplace environment, duties and characteristics of work and quality of life at work. The factor variable which had the highest total effect was factor family relationships and the following was factor of students relationship. (4) The results of testing the invariance of a causal model of happiness in the work of elementary and secondary school teachers were as follows: by Chi-square distribution equal to 256.03; p = 0.81 at degrees of freedom equal to 277, GFI = 0.90. NFI = 0.98 and the RFI = 0.97.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68336
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saphonkit_su_front_p.pdf932.68 kBAdobe PDFView/Open
Saphonkit_su_ch1_p.pdf877.7 kBAdobe PDFView/Open
Saphonkit_su_ch2_p.pdf2.35 MBAdobe PDFView/Open
Saphonkit_su_ch3_p.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Saphonkit_su_ch4_p.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Saphonkit_su_ch5_p.pdf935.41 kBAdobe PDFView/Open
Saphonkit_su_back_p.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.