Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69128
Title: การวิเคราะห์เพลงเชิดหุ่นกระบอก
Other Titles: The analysis of puppet performing song
Authors: วันชัย เอื้อจิตรเมศ
Advisors: ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การเล่นหุ่น
หุ่นกระบอก
Puppet theater
Marionettes
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เพลงเชิดหุ่นกระบอก เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงอีกเพลงหนึ่ง แต่มีความแตกต่างไปจากเพลงอื่น ด้วยเหตุที่ผู้บรรเลงซออู้ต้องใช้ปฏิภาณ และความสามารถในการสร้างทำนองทางบรรเลงให้เกิดความกลมกลืนไปกับทำนองร้อง ในการวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบวิธีการดำเนินทำนองของเพลงเชิดหุ่นกระบอกจากทางร้อง และทางบรรเลง รวมทั้งความสัมพันธ์ของทางทั้งสอง จากบทหุ่นกระบอก เรื่องพระอภัยมณี ตอนหนีนางผีเสื้อสมุทร เพื่อให้ทราบถึงที่มาของเพลงเชิดหุ่นกระบอก ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดำเนินทำนองทางร้องนั้นมีที่มาจากทำนองเสนาะ และบางส่วนของเพลงสังขารากับเพลงธรณีร้องไห้ ส่วนทางบรรเลงมีการสร้างทำนองขึ้นจากเสียงตกของทำนองทางร้อง โดยทั้งสองทางต่างก็ใช้กลุ่มเสียง ม ฟ ซ X ท ด เช่นเดียวกัน การจบเพลงมี 3 ลักษณะ คือ ลงจบเพื่อเจรจาหรือบรรเลงเพลงสองชั้น เพลงร่าย ด้วยเสียงโดหรือเสียงซอล ลงจบเพื่อบรรเลงเพลงเชิด เสมอ ลา รัว ด้วยเสียงโด และจบเพื่อบรรเลงเพลงโอดด้วยเสียงซอล ในเรื่องที่มานั้นการแสดงหุ่นกระบอกได้รับแบบอย่างมาจากการแสดงหุ่นของชาวจีนไหหลำ และเริ่มแสดงครั้งแรกที่จังหวัดสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2435 เรื่องราวที่นิยมนำมาแสดงหุ่นกระบอก คือเรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ ด้วยเนื้อเรื่องแต่ละฉากนั้นมีความสัมพันธ์กันทำให้ชวนติดตาม และยังสะท้อนให้เห็นสัจธรรมในการดำเนินชีวิต
Other Abstract: The Puppet Performing song is used in the puppet show which is different from the other, since the Saw -00 player needs the ability to improvise harmonious with singing. The qualitative research methodology is used in this study: the performing method of The Puppet Performing Song both vocal and music including its coherence. The episode "Nee Nang Pee Sue Samut" from Phra Apai Manee puppet script has been taken as the case to find out the root of the puppet performing song. The result is found that the pattern of singing is derived from "Tamnong Sanoa" and some part of the "Sang-Ka-Ra" and "Thor-Ra-Nee-Rong-Hai" song. The music pattern is made from falling note of singing voice. However, both of them is based on the same notation ; Me, Fa, Sol, La, Ti, Do. There are 3 ways of ending: ending to dialogue or playing "Plang Song Chan" "Plang Rai" with Do or Sol; ending with "Plang Chud" "Samer" "La" "Roaw" with Do and ending with "Plang Oad" with Do or Sol, Concerning the root of the puppet performing, its style was derived from China. The first show was performed at Sukhothai in 1892. The well-known puppet performing is "Phra Apai Manee" of Sunthorn Phu. It is because the story is harmonized in each scenes and interesting. More of that, it shows the fact of life
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69128
ISSN: 9743321659
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanchai_ue_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ358.34 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_ue_ch1.pdfบทที่ 1480.48 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_ue_ch2.pdfบทที่ 21.62 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_ue_ch3.pdfบทที่ 32.21 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_ue_ch4.pdfบทที่ 44.94 MBAdobe PDFView/Open
Wanchai_ue_ch5.pdfบทที่ 5168.12 kBAdobe PDFView/Open
Wanchai_ue_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก674.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.