Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69192
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในหน่วยงาน กับสมรรถนะของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล ตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Relationships between personal background, personal trait and workplace environment with competencies of nurse directors as perceived by themselves, community hospitals under the jurisdiction of the Ministry of Public Health
Authors: สุพรรณี วงคำจันทร์
Advisors: ยุพิน อังสุโรจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Yupin.A@Chula.ac.th
Subjects: ผู้บริหารการพยาบาล
สมรรถนะ
สภาพแวดล้อมการทำงาน
Nurse administrators
Performance
Work environment
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะของหัวหนาฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมขน โดยรวมและรายด้าน ตามการรับรู้ของตนเอง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมในหน่วยงาน กับสมรรถนะของหัวหนาฝ่ายการพยาบาล ตามการรับรู้ของตนเอง โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 262 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่สอบถามเกี่ยวกับภูมิหลังของบุคคล คุณลักษณะส่วนบุคคล สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน และแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์การจรณ์ ค่าไค-สแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. หัวหนาฝ่ายการพยาบาลมีสมรรถนะโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีสมรรถนะด้านภาวะผู้นำ สมรรถนะด้านการปฏิบัติการ พยาบาล และสมรรถนะด้านการฝึกอบรม อยู่ในระดับสูง ส่วนสมรรถนะด้านการบริหารงาน สมรรถนะด้านการตลาด สมรรถนะด้านการสนับสนุนงานการสาธารณสุขมูลฐาน สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีทันสมัย อยู่ในระดับปานกลาง และสมรรถนะด้านวิขาการและการวิจัย อยู่ในระดับต่ำ 2. ภูมิหลังของบุคคลด้านอายุ ประสบการณ์ในการทำงาน ประสบการณ์ในตำแหน่ง และประสบการณ์ในการศึกษาอบรมเฉพาะตำแหน่ง ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3. ภูมิหลังของบุคคลด้านระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 4. คุณลักษณะส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับสมรรถนะโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5. สภาพแวดล้อมในหน่วยงาน ด้านลักษณะและสภาพการทำงานในหน่วยงาน โอกาสในการแสดงความสามารถ และการมีพี่เลี้ยง มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. สภาพแวดด้อมในหน่วยงาน ด้านขนาดของโรงพยาบาล และการก้าวหน้าในตำแหน่งตามบันไดอาชีพ ไม่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะโดยรวมของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study the nurse directors’ competencies and to determine the relationships between personal background, personal trait and workplace environment with nurse directors' competencies as perceived by themselves, community hospitals. The sample was 262 of nurse directors in community hospitals. The research instruments were the assessment questionnaire of personal background, personal trait, workplace environment and nurse directors' competencies. The reliability of instruments, calculated by Cronbach Alpha Coefficient were .98. The data were analysed by percent, mean, standard deviation. Contingency coefficient, Chi-square and Pearson's product moment correlation coefficient. The major findings were as follows: 1. The entire competencies level of nurse directors was at middle level. The competencies of leadership, nursing practice and training were at high level. The competencies of administrative process, marketing, supporting of primary health care, using contemporary technology was at middle level while the competencies of academic and research was at low level. 2. The personal background, in terms of age, working experiences, in nurse director and training for nurse directors were no significant with the entire competencies at level of .05 3. The personal background in educational level was significant with the entire competencies at significant level of .05 4. The personal trait was positively correlated with the entire competencies at significant level of .05 5. The workplace environment, in terms of organizational characteristic, opportunity in performing competence and having preceptor were positively correlated with the entire competencies at significant level of .05 6. The workplace environment, in terms of hospital size and advancement in career ladder were no significant with the entire competencies at significant level of .05
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69192
ISBN: 9743324054
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supunee_wo_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ943.98 kBAdobe PDFView/Open
Supunee_wo_ch1_p.pdfบทที่ 11.31 MBAdobe PDFView/Open
Supunee_wo_ch2_p.pdfบทที่ 24.36 MBAdobe PDFView/Open
Supunee_wo_ch3_p.pdfบทที่ 3962.32 kBAdobe PDFView/Open
Supunee_wo_ch4_p.pdfบทที่ 42.14 MBAdobe PDFView/Open
Supunee_wo_ch5_p.pdfบทที่ 51.49 MBAdobe PDFView/Open
Supunee_wo_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.