Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71076
Title: การศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของพฤติกรรมแบบเอและอัตมโนทัศน์
Other Titles: A study of correlations between components of type A behavior and self-concept
Authors: อภิชญา สุทธิสิงห์
Email: Theeraporn.U@chula.ac.th
Advisors: ธีระพร อุวรรณโณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พฤติกรรมศาสตร์
การรับรู้ตนเอง
สหสัมพันธ์ (สถิติ)
Behavioral science
Self-perception
Correlation (Statistics)
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของพฤติกรรมแบบเอ และอัตมโนทัศน์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ มาตรวัดพฤติกรรมแบบเอ 2 องค์ประกอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามแนวของ Friedman (1996) คือ องค์ประกอบความพยายามเพื่อความสำเร็จ (AS) และ องค์ประกอบความไม่อดทน-ความหงุดหงิด (II) และมาตรวัดมโนทัศน์เทนเนสซี กลุ่มตัวอย่างเป็น นิสิตปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 200 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของพฤติกรรมแบบเอด้านความพยายามเพื่อความสำเร็จมีสหสัมพันธ์เชิงเส้น ตรงทางบวกกับอัตมโนทัศน์โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 และมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับอัตมโนทัศน์ในด้านต่าง ๆ ยกทน ด้านศีลธรรนจรรยา 2. องค์ประกอบของพฤติกรรมแบบเอด้านความพยายามเพื่อความสำเร็จ ไม่มีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบกับอัตมโนทัศน์ด้านการวิพากน์วิจารณ์ตนเอง 3. องค์ประกอบของพฤติกรรมแบบเอด้านความไม่อดทน-ความหงุดหงิดมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางลบกับอัตมโนทัศน์โดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 และมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรง ทางลบกับอัตมโนทัศน์ในด้านต่าง ๆ 4. องค์ประกอบของพฤติกรรมแบบเอด้านความไม่อดทน-ความหงุดหงิดมีสหสัมพันธ์เชิงเส้นตรงทางบวกกับอัตมโนทัศน์ด้านการวิพากษ์วิจารณ์ตนเองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001 5. อัตมโนทัศน์โดยรวมของกชุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ 1) AS สูง II สูง 2) AS สูง II ต่ำ 3) AS ตํ่า II สูง 4) AS ตํ่า II ตํ่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
Other Abstract: The purposes of this research were to study the correlations between components of type A behavior and self-concept. Instruments in this research were type A behavior pattern scale, constructed by the author in accordance with Friedman’s (1996) approach, which had 2 components, Achievement Striving (AS) and Impatience-Irritability (II), and Tennessee self-concept scale. Participants were 200 undergraduate students from Chulalongkorn university. Findings are as follows: 1. Achievement Striving has significant positive linear correlations with total self-concept (p<.001) and other dimensions of self-concept except moral-ethical self. 2. Achievement Striving has no significant negative linear correlation with critical self. 3. Impatience-Irritability has significant negative linear correlations with total self-concept (p<.001) and all dimensions of self-concept. 4. Impatience-Irritability has significant positive linear correlation with critical self (p<.001). 5. The total self-concept of the students in 4 conditions, namely 1) high AS and high n 2) high AS and tow II 3) tow AS and high n 4) tow AS and low n are significantly different (pc.001).
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาสังคม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71076
ISBN: 9746394398
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apitchaya_su_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ953.44 kBAdobe PDFView/Open
Apitchaya_su_ch1_p.pdfบทที่ 12.39 MBAdobe PDFView/Open
Apitchaya_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.06 MBAdobe PDFView/Open
Apitchaya_su_ch3_P.pdfบทที่ 3995.34 kBAdobe PDFView/Open
Apitchaya_su_ch4_p.pdfบทที่ 4924.23 kBAdobe PDFView/Open
Apitchaya_su_ch5_p.pdfบทที่ 5734.36 kBAdobe PDFView/Open
Apitchaya_su_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.