Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71164
Title: การพัฒนาตัวบ่งชี้ระบบประกันคุณภาพของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ตามแนวทบวงมหาวิทยาลัย
Other Titles: A development of indicators for the quality assurance system in the faculties of education under guidelines of the Ministry of University Affairs
Authors: ลลิตา จันทร์แก้ง
Advisors: อุทุมพร จามรมาน
ทองอินทร์ วงศ์โสธร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา -- ไทย
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา -- ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพี่อศึกษาตัวบ่งชี้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามองค์ประกอบของคุณภาพ 9 องค์ประกอบว่าในแต่ละองค์ประกอบประกอบด้วยตัวบ่งชี้อะไรบ้าง และเพี่อพัฒนาตัวบ่งชี้ระบบประกันคุณภาพของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยที่อยู่ในโครงการนำร่องเกี่ยวกับประกันคุณภาพ การศึกษาในแต่ละองค์ประกอบของคุณภาพ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนด่าเน้นงาน 2 ) การเรียนการสอน 3) กิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา 4) การวิจัย 5) การบริการวิชาการแก่ลังคม 6) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 7) การบวิหารและจัดการ 8) การเงินและงบประมาณ 9) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในงานวิจัยนี้ คือ ผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการผู้ช่วยทางวิชาการ และข้าราชการผู้ช่วยทางธุรการ สังกัดคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 289 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ระบบประกันคุณภาพ และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำคัญของตัวบ่งชี้ระบบประกันคุณภาพ ซึ่งแบบสอบถามฉบับนี้เป็นการยีนยันคะแนนความสำคัญที่ได้จากแบบสอบถามชุดแรก สำหรับคะแนนความสำคัญของตัวบ่งชี้นั้นเป็นค่าที่ได้จากการนำค่าความกี่ของตัวบ่งชี้แต่ละตัวที่ถูกเลือกมาคำนวณเป็นค่าร้อยละ จากนั้นก็นำค่าร้อยละที่ได้มากำหนดเป็นค่าคะแนนความสำคัญของตัวบ่งชี้เพี่อนำไปเก็บรวบรวมข้อมูลเพี่อการวิจัย ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ระบบประกันคุณภาพของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ตามแนวทบวงมหาวิทยาลัย ได้ตัวบ่งชี้ทั้งสิ้น 101 ตัวบ่งชี้ จากองค์ประกอบของคุณภาพอุดมศึกษา 9 องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้องค์ประกอบปรัชญาปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนด่าเน้นงาน 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบการเรียนการสอน 23 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบกิจกรรมการพัฒนานิสิตนักศึกษา 9 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบการวิจัย 10 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบการบริการวิชาการแก่สังคม 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 6 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบการบวิหารและจัดการ 19 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบการเงินและงบประมาณ 8 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบระบบและกลไกการประกันคุณภาพ 9 ตัวบ่งชี้ 2. ตัวบ่งชี้ระบบประกันคุณภาพของคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ตามแนวทบวงมหาวิทยาลัยที่พัฒนาขึ้นมีความตรงเชิงโครงสร้าง และตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้จากความคิดเห็นของผู้บริหาร อาจารย์ ข้าราชการสาย ข และข้าราชการสาย ค โดยมีค่าไค -สแควร์เท่ากับ 13.29 ที่องศาอิสระ 18 ค่าความน่าจะเป็นเท่ากับ 0.77 โดยมีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกสินที่ปรับแก้แล้วเท่ากับ 0.97 และค่าดัชนีรากกำลังสองของเศษเหลือเท่ากับ 0.020
Other Abstract: The purposes of this research were to study the indicators for quality assurance system followed by 9 quality factors indicating quality assurance system in the Faculties of Education under the jurisdiction of the Ministry of University Affairs, 9 factors were : 1) Philosophy, Mission, Objectives and Plan 2) Teaching and Learning 3) Student Support 4) Research 5) Public Service 6) Cultural Preservative 7) Administration and Management 8) Finance and Budget 9) Quality Assurance and Enhancement. The samples consisted of 289 administrators, faculty members and supporting staff of Faculties of Education from 4 universities : Chulalongkorn University, Kasetsart University, Srinakharinwirot University and Burapha University. The research instruments were 2 types of questionnaire, the first one for collecting data about indicators for the quality assurance system and the second one for opinions about importance of those indicators. The frequency of opinions were converted to scores and analyze. Results of this study were as follows : 1. The 101 indicators for the quality assurance system in the Faculties of Education of 9 factors were developed, 10 for Philosophy , Mission, Objectives and Plan Factor, 23 for Teaching and Learning Factor, 9 for Student Support Factor, 10 for Research Factor, 7 for Public Service Factor, 6 for Cultural Preservative Factor, 19 for Administration and Management Factor, 8 for Finance and Budget Factor and 9 for Quality Assurance and Enhancement Factor. 2. The indicators for the quality assurance system in the Faculties of Education showed construct validity which provided the chi-square goodness-of-fit statistics of 13.29, df = 18, p = 0.77, GFI = 0.99, AGFI = 0.97 and RMR = 0.020.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71164
ISBN: 9743466975
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lalita_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ798.29 kBAdobe PDFView/Open
Lalita_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1723.53 kBAdobe PDFView/Open
Lalita_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.91 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3980.44 kBAdobe PDFView/Open
Lalita_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.42 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5954.21 kBAdobe PDFView/Open
Lalita_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.