Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74396
Title: การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องโภชนาการ และการแก้ปัญหาทุพโภชนาการ โดยใช้บทเรียนแบบมโนธรรมสำนึก และบทเรียนแบบเบ็ดเสร็จตามหลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Comparison of learning achievement in nutrition and malnutrition solution by using conscientization instruction and functional literacy instruction on the basic functional literacy programme in changwat Ubonratchathani
Authors: ประภาภรณ์ ธิติมาพงศ์
Email: ไม่มีข้อมูล
Advisors: อุ่นตา นพคุณ
ปาน กิมปี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pan.K@Chula.ac.th
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
การศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จ
โภชนาการ -- แบบเรียนสำเร็จรูป
โภชนาการ -- การศึกษาและการสอน
Academic achievement
Nutrition -- Study and teaching
Nutrition -- Programmed instruction
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดลองใช้บทเรียนแบบมโนธรรมสำนึก เรื่องโภชนาการและการแก้ปัญหาทุพโภชนาการ สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐานในจังหวัดอุบลราชธานี โดยศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เจตคติ ความคงทนของการเรียนรู้และเจตคติความถี่ของพฤติกรรมการวิพากษ์วิจารณ์ และศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาผู้ใหญ่ที่มีต่อบทเรียนระหว่างบทเรียนแบบมโนธรรมสำนึกกับบทเรียนแบบเบ็ดเสร็จ บทเรียนแบบมโนธรรมสำนึกประกอบด้วยภาพที่แสดงความขัดแย้งและคำหลัก ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยการศึกษาเนื้อหาจากแบบเรียนการศึกษาผู้ใหญ่แบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐานและการสำรวจปัญหาท้องถิ่นแล้วจึงนำมาประยุกต์ตามวิธีการของเปาโล แฟร์ (Paulo Freire) คือการเข้ารหัสและการถอดรหัส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทดลองสอนมี 2 กลุ่ม ๆ ละ 30 คน รวมจำนวน 50 คน ดำเนินการทดลองโดยใช้วิธีทดสอบก่อนและหลังกับกลุ่มควบคุมที่ได้จากการสุ่ม (Randomized Control Group Pretest-Posttest Design) ผลการทดลองพบว่า นักศึกษาผู้ใหญ่ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบมโนธรรมสำนึกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เจตคติ อยู่ในระดับสูงทั้ง 2 แบบ แต่บทเรียนแบบมโนธรรมสำนึกอยู่ในระดับสูงกว่า ในเรื่องของความคงทน บทเรียนแบบมโนธรรมสำนึกมีผลสัมฤทธิ์ความคงทนของการเรียนรู้และเจตคติสูงกว่านักศึกษาผู้ใหญ่ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเบ็ดเสร็จ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p<.01) และยังพบว่าความถี่ของพฤติกรรมการวิพากษ์วิจารณ์ของนักศึกษาผู้ใหญ่ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบมโนธรรมสำนึกสูงกว่านักศึกษาผู้ใหญ่ที่เรียนด้วยบทเรียนแบบเบ็ดเสร็จ อย่างไรก็ตาม ทั้งบทเรียนแบบมโนธรรมสำนึกและบทเรียนแบบเบ็ดเสร็จ นักศึกษาผู้ใหญ่ต่างก็มีความพอใจในบทเรียนอยู่ในเกณฑ์สูงมาก
Other Abstract: The purpose of this research was to develop the conscientization instruction on "Nutrition and Malnutrition Solution" and to compare adult learners 'learning achievement and attitude, the retention of learning achievement and attitude, the frequency of critical. consciousness behavior and studied the opinions toward the instruction between conscientization instruction and functional literacy instruction of adult learners in Ubonratchathani Province. The conscientization instruction consisted of contradiction pictures and key words, which was constructed by studying the content of the basic functional literacy book and surveying the local problem and was adapted according to Paulo Freire's methodology; codification and decoding. The results was that the adult learners 'learning achievement and attitude, in both instruction were at a high level but the Conscientization instruction was a little bit higher. In regard to the retention of learning achievement and attitude, the conscientization instruction was significantly, (p <0.01, t-test) higher than the functional literacy instruction and the frequency of adult learners' critical consciousness behavior was higher too. However, both instruction were satisfactory in the opinions of the adult learners at a very high level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74396
ISSN: 9745769142
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prapaporn_th_front_p.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_th_ch1_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_th_ch2_p.pdf2.31 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_th_ch3_p.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_th_ch4_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_th_ch5_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Prapaporn_th_back_p.pdf2.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.