Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74800
Title: มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางทะเล จากการทิ้งเทของเสีย
Other Titles: Legal framework on control, prevention and remedy of marine pollution by dumping of wastes
Authors: อุมา ประมาณพล
Advisors: ชุมพร ปัจจุสานนท์
จรณชัย ศัลยพงษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: มลพิษทางทะเล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การกำจัดของเสียในมหาสมุทร -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การป้องกันมลพิษ
กฎหมายสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ
การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม
อนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเล จากการทิ้งเทของเสียและวัตถุอื่น
กฎหมายทะเล
Marine pollution -- Law and legislation
Waste disposal in the ocean -- Law and legislation
Pollution prevention
Environmental law, International
Environmental protection
Law of the sea
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การนำของเสียที่เกิดจากกิจกรรมในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เช่น ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมขยะ หรือซากวัสดุอื่น ๆ บรรทุกใส่เรือ อากาศยาน หรือสิ่งก่อสร้างอื่นใดนไปทิ้งเทลงสู่ทะเลเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งของการเกิดภาวะมลพิษทางทะเล ปัญหาภาวะมลพิษทางทะเลก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งมีชีวิตในทะเล นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคต่อการใช้ประโยชน์จากทะเลของมนุษย์อีกด้วย การควบคุมและป้องกันมิให้เกิดภาวะมลพิษทางทะเลจากสาเหตุดังกล่าว จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนั้น นานาประเทศจึงได้ตกลงร่วมกันจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเลจากการทิ้งเทของเสียและวัตถุอื่น ค.ศ. 1972 แก้ไขเพิ่มเพิ่ม ค.ศ. 1978 และ 1980 ขึ้น เป็นกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมการทิ้งเทของเลียลงสู่ทะเลในบริเวณต่าง ๆ และอนุสัญญากฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ก็ได้วางขอบเขต หลักเกณฑ์ ควบคุมการทิ้งเทของเสียลงสู่ทะเลไว้อย่างกว้าง ๆ ในงเดียวกัน การลักลอบนำของเสียไปทั้งเทลงสู่ทะเลโดยผิดกฎหมาย ในทะเลบริเวณอาณาเขตของประเทศไทย มีปรากฏอยู่เสมอ พระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางส่วนควบคุมเรื่องนี้ ไม่สามารถใช้ควบคุมอย่างได้ผล เนื่องจากขาดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสม ขาดแนวทางและวิธีการการพิจารณาอนุญาตทิ้งเทหรือการควบคุมการทิ้งเท วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์การควบคุม ป้องกันและแก้ไขภาวะมลพิษทางทะเลจากการทิ้งเทของเสียตามที่ได้กำหนดไว้ในอนุสัญญาระหว่างประเทศทั้ง 2 ฉบับ ในลักษณะของการนำมาใช้ในประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายไทยที่มีอยู่ และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเลจากการทิ้งเทของเสียและวัตถุอื่น แนวทางการกำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมการทิ้งเทของเสียลงสู่ทะเลของประเทศไทย การป้องกันภาวะมลพิษทางทะเลจากการทิ้งเทของเสียในทะเลบริเวณอาณาเขตของประเทศไทยให้ได้ผลนั้น สมควรจะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ กำหนดและปรับปรุงประสิทธิภาพของหน่วยงานที่รับผิดชอบ การเข้าเป็นเป็นภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันภาวะมลพิษทางทะเลจากการทิ้งเทของเสียและวัตถุอื่น จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการควบคุมการทิ้งเทของเสียลงสู่ทะเลมากยิ่งขึ้น
Other Abstract: In disposing wastes resulting from human activities, i.e., wastes from factories, garbages or debris which in vessels aircrafts or other man-made structures, such wastes are dumped into a sea and caused marine pollution. which has an effect to ecosystem and marine life. The acts impose an obstacle for human being to exploit the sea. in controlling and preventing the marine pollution caused by such acts, it is needed to have co-operation from all countries in the world. Therefore, the Convention on prevention of marine pollution by dumping of wastes and other matter was promulgated in 1972 and amended in 1978 and 1980 in order to become a regulations for controlling dumping of wastes at sea and, UN Convention on the Law of the Sea, 1982. has also enacted similar regulations to control dumping of wastes at sea. In Thailand, it appears to have frequent violation of law governing dumping of wastes at Sea. The Navigation in Thai Waters Act, 1913, which governs this matter, cannot be effectively enforced due to lack of sanction, guideline and procedure in permission or control of such dumping. This thesis will deal with regulations concerning a control, prevention, and remedy of marine pollution by dumping of wastes as specified in the conventions so long as it is applicable to Thailand. This thesis will make a comparison between the conventions and existing Thai law and will analyze a possibility of Thailand to become a Party to Convention on prevention of marine pollution by dumping of wastes and other matter and also draw a guideline of legal measure for control dumping of wastes at sea within the Kingdom. To control marine pollution caused by dumping of wastes at sea within Thai territory, there should be a revision and amendment of laws regarding this matters including an improvement of efficiency of relating government agencies responsible for the matter. Thailand should also become a contracting party with the Convention on prevention of marine pollution by dumping of Hastes and other matter. All of which shall render benefit to Thailand in controlling dumping of wastes into a sea.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74800
ISBN: 9745763837
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Uma_pr_front_p.pdf907 kBAdobe PDFView/Open
Uma_pr_ch0_p.pdf747.19 kBAdobe PDFView/Open
Uma_pr_ch1_p.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
Uma_pr_ch2_p.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Uma_pr_ch3_p.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open
Uma_pr_ch4_p.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open
Uma_pr_ch5_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Uma_pr_back_p.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.