Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์-
dc.contributor.authorสุธาทิพย์ งามนิล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.coverage.spatialจังหวัดพิจิตร-
dc.date.accessioned2021-10-01T07:08:44Z-
dc.date.available2021-10-01T07:08:44Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746316257-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/77443-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผุ้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน เครื่องมือวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่มีการส่งเสริมสนับสนุนให้ครูนำทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น และทรัพยากรทางสังคมในชุมชน มาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการท้องถิ่นโดยการให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะและให้บริการด้านวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่ ประเภทและลักษณะการใช้ทรัพยากรท้องถิ่น ทรัพยากรธรรมชาติที่โรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่นำมาใช้ได้แก่ พืช และสัตว์ โดยนำมาเป็นวัสดุใช้ประกอบการเรียนการสอนหลังจากพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ บุคลากรภายในโรงเรียน โดยการเชิญมาเป็นผู้ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะ ทรัพยากรวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นได้แก่ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้านและวัด โบสถ์ มัสยิด โดยใช้เป็นสถานที่ในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมของครูในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น ทรัพยากรทางสังคมในชุมชน ได้แก่กิจกรรมต่างๆ ในชุมชน โดยการศึกษาเพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานประกอบการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น ปัญหาการส่งเสิรมสนับสนุนให้ครูนำทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพที่โรงเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่พบคือขาดงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยเหนือ และบุคคลที่เป็นทรัพยากรอยู่ห่างไกล ปัญหาการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่นในกลุ่มการงานพื้นฐานอาชีพได้แก่บุคคลที่เป็นทรัพยากรไม่มีเวลาว่างพอ แหล่งทรัพยากรธรรมชาติมีจำนวนจำกัด เวลาไม่เหมาะสมต่อการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรทางสังคมในชุมชน แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นและทรัพยากรทางสังคมในชุมชนอยู่ห่างไกลโรงเรียนขาดการสนับสนุนด้านงบประมาณจากโรงเรียน-
dc.description.abstractalternativeThis research aimed to study the state and problems of local resource utilization in developing curriculum relevant to local needs in work-oriented experiences area of elementary schools under the Office of Phichit Provincial Primary Education. The samples consisted of school adminstrators and teachers who taught in work-oriented experiences area. Questionaires were employed for data collection. Data were analyzed by using frequency distribution and percentage. The findings revealed that the majority of elementary schools enhanced teachers to utilized all of 4 community resources: human resources, natural resources, man-made resources and social resources in developing curriculum relevant of local needs. School administrators provided advices, materials, equipments and accommodations The results indicated that the natural resources which were mostly utilized composed of plants and animals. They were used as instructional materials after developing curriculum relevant of local needs. The human resources which were mostly used were school personnels by inviting them to give advices. For man-made resources, village book stands, temples, churches and mosques were used by teachers for self-study. Concerning with social resources, social activities in the communities were studied by teachers in developing curriculum relevant to local needs. Most problems of school administrators in promoting teachers in work-oriented experiences area to utilized local resources were lack of budget allocated from higher administrative offices and inconvenience of inviting human resources who lived in the remoted areas. Most problems of teachers in utilizing local resources in work-oriented experiences area were insufficient of time of human resources, small in quantity of natural resources, unsuitable time in using natural resources and social resources, lack of budget. Moreover natural resources, man-made resources and social resources were far from schools.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1995.17-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectหลักสูตรen_US
dc.subjectการวางแผนหลักสูตรen_US
dc.subjectกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพen_US
dc.subjectทรัพยากรท้องถิ่นen_US
dc.subjectEducation -- Curricula-
dc.subjectCurriculum planning-
dc.titleการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในการพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของท้องถิ่น ในกลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ ของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพิจิตรen_US
dc.title.alternativeLocal resource utilization in developing curriculum relevant to local needs in work-oriented experiences area of elementary schools under the Jurisdiction of the Office of Phichit Provincial Education Primaryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1995.17-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthathip_ng_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ989.55 kBAdobe PDFView/Open
Suthathip_ng_ch1_p.pdfบทที่ 1982.9 kBAdobe PDFView/Open
Suthathip_ng_ch2_p.pdfบทที่ 22.99 MBAdobe PDFView/Open
Suthathip_ng_ch3_p.pdfบทที่ 3811.53 kBAdobe PDFView/Open
Suthathip_ng_ch4_p.pdfบทที่ 43.99 MBAdobe PDFView/Open
Suthathip_ng_ch5_p.pdfบทที่ 51.77 MBAdobe PDFView/Open
Suthathip_ng_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.