Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11982
Title: การพัฒนาแบบทดสอบทักษะกีฬากระบี่ขั้นพื้นฐานแบบอิงเกณฑ์โดยเน้นกระบวนการสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: The development of the process oriented criterion-referenced test of basic Krabee skills for lower secondary school students
Authors: อัจนา ศรีดาวเรือง
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Chuchchai.G@chula.ac.th
Subjects: กระบี่กระบอง
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบทดสอบทักษะกีฬากระบี่ขั้นพื้นฐานแบบอิงเกณฑ์ โดยเน้นกระบวนการสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนโรงเรียนนนทบุรีพิทยาคม จำนวน 100 คน โดยวิธีการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบทดสอบทักษะกีฬากระบี่ขั้นพื้นฐานแบบอิงเกณฑ์โดยเน้นกระบวนการที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประกอบด้วยแบบทดสอบทักษะ 18 ฉบับ คือ แบบทดสอบทักษะการถวายบังคม แบบทดสอบทักษะการขึ้นพรหมนั่ง แบบทดสอบทักษะการขึ้นพรหมยืน แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 1 "ลอยชาย" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 2 "ควงทัดหู" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 3 "เหน็บข้าง" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 4 "ตั้งศอก" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 5 "จ้วงหน้า จ้วงหลัง" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 6 "ปกหน้า ปกหลัง" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 7 "ท่ายักษ์" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 8 "สอยดาว" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 9 "ควงแตะ" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 10 "หนุมานแหวกฟองน้ำ" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 11 "ลด ล่อ" แบบทดสอบทักษะการรำไม้รำที่ 12 "เชิญเทียน" แบบทดสอบทักษะการตี ไม้ตีที่ 2 แบบทดสอบทักษะการตี ไม้ตีที่ 5 และแบบทดสอบทักษะการต่อสู้ และนำผลการทดสอบไปหาคุณภาพของแบบทดสอบ โดยการหาความตรง ความเที่ยง คะแนนจุดตัด และความเป็นปรนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบทดสอบแต่ละฉบับ มีค่าระหว่าง 0.88-0.98 และแบบทดสอบรวมทั้ง 18 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.97 2. ความไวในการสอนของแบบทดสอบแต่ละฉบับและแบบทดสอบรวมทั้ง 18 ฉบับ มีค่าคะแนนเฉลี่ยทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ความตรงตามสภาพการณ์ของแบบทดสอบแต่ละฉบับ มีค่าระหว่าง 0.71-0.96 แบบทดสอบรวมทั้ง 18 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.94 และมีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 4. คะแนนจุดตัดของแบบทดสอบทั้ง 18 ฉบับ มีค่าระหว่าง 2.00-9.00 5. ค่าความเที่ยงหรือสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องในการจำแนกความรอบรู้ของแบบทดสอบแต่ละฉบับ มีค่าระหว่าง 0.64-1.00 และแบบทดสอบรวมทั้ง 18 ฉบับ มีค่าเท่ากับ 1.00 6. ความเป็นปรนัยของแบบทดสอบ จากการประเมินผลของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: The main purpose of this research was to construct the development of the process oriented criterion-referenced test of the basic Krabee skills for lower secondary school students. The samples were 100 Nonthaburipittayakom students randomly selected using sample random sampling techniques. The instrument was constructed and developed by the researcher and consisted of eighteen skill tests: Thawaibangkhom, Kankuen promnang, Kankuen promyuen, Mairumthinueng "Loichai", Mairumthisong "Kaungtadhu", Mairumthisam "Nebkhang" Mairumthisi "Tangsok", Mairumthiha "Juangna Juanglang", Mairumthihok "Pokna Poklang", Mairumthijed "thayak", Mairumthipad "Soidao", Mairumthikao "Kuangtae", Mairumthisip "Hanumanwaekfongnam", Mairumthisip-ed "Lod lo", Mairumthisipsong "Chernthian", Maitithisong, Maitithiha, Kantosu. The data obtained were analyzed to find content validity, validity of instructional sensitivity, concurrent validity, cut off scores, the reliability of mastery classification and objectivity. The results of the study were as follows: 1. The content validity indicated in the skill test of the 18 items was between 0.88-0.98 and the integrated test was 0.97. 2. The means of validity of instructional sensitivity both before and after learning of the integrated test and skill test were significantly different at the .01 level. 3. The correlation coefficients of the concurrent validity of the skill test of the 18 items were between 0.71-0.96, the integrated test was 0.94 and was statistically significant at the .01 level. 4. The cut off scores of skill test of the 18 items were 2.00-9.00. 5. The reliability of mastery classification of the skill test was 0.64-1.00 and the integrated test was 1.00. 6. In evaluating the objectivity of five physical education teachers, it was found not to be significantly different at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11982
ISBN: 9746363905
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ajjana_Sr_front.pdf847.37 kBAdobe PDFView/Open
Ajjana_Sr_ch1.pdf822.72 kBAdobe PDFView/Open
Ajjana_Sr_ch2.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Ajjana_Sr_ch3.pdf804.95 kBAdobe PDFView/Open
Ajjana_Sr_ch4.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Ajjana_Sr_ch5.pdf818.57 kBAdobe PDFView/Open
Ajjana_Sr_back.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.