Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12002
Title: แนวทางการพัฒนาชุมชนแขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Community development guidelines for Wat Kanlaya Subdistrict Thonburi District, Bangkok
Authors: ฐิติวัฒน์ นงนุช
Advisors: นพนันท์ ตาปนานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Nopanant.T@Chula.ac.th
Subjects: การพัฒนาชุมชน -- ไทย
ชุมชนแขวงวัดกัลยาณ์ (กรุงเทพฯ) -- ภาวะสังคม
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่แขวงวัดกัลยาณ์ประกอบไปด้วยชุมชนเก่าแก่ 6 ชุมชน และชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่อีก 6 ชุมชน ท่ามกลางเวลาที่ผ่านเลยไป สภาพทางสังคมของชุมชนก็มีวิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาศัยสภาพทางกายภาพเป็นเสมือนแรงผลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้โครงสร้างและรูปแบบทางสังคมของชุมชนเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ดังนั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษาจึงมุ่งเน้นการศึกษาองค์ประกอบทางสังคม ซึ่งจะนำไปสู่การวางแผนพัฒนาที่เหมาะสมกับสภาพทางสังคม และรูปแบบการตั้งถิ่นฐานทั้งในอดีต ปัจจุบัน และในอนาคต ศึกษาโดยการสอบถาม สัมภาษณ์ตรง และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ ซึ่งอาศัยแนวคิดวิธีการวิเคราะห์เครือข่ายชุมชน (Social Network Analysis:SNA) เป็นพื้นฐาน ประกอบกับผู้วิจัยได้คิดค้นวิธีการวิเคราะห์ชุมชนบนพื้นที่ (Social Network Analysison Site:SNAS) ซึ่งเป็นการประยุกต์จากแนวคิดทางสังคมศาสตร์ เข้ากับแนวคิดการวางผังทางกายภาพ แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1) การศึกษารูปแบบการปฏิสัมพันธ์และความผูกพันร่วมของคนในชุมชนต่างๆ ในแขวงวัดกัลยาณ์ ขั้นตอนที่ 2) รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ของชุมชนต่างๆ และบทบาท หน้าที่ของแขวงวัดกัลยาณ์ในปัจจุบัน ขั้นตอนที่ 3) การคาดการณ์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงเครือข่ายชุมชน จากการเปลี่ยนแปลงระดับความผูกพันร่วม ขั้นตอนที่ 4) การคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงชุมชนและบทบาทหน้าที่ของแขวงวัดกัลยาณ์ในอนาคต ผลจากการวิเคราะห์ดังกล่าวทำให้สามารถระบุศักยภาพ ข้อจำกัด โอกาสในการพัฒนาชุมชน ตลอดจนแนวโน้มทิศทางของการเปลี่ยนแปลง ของชุมชนในอนาคตและสามารถแบ่งชุมชนออกได้เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่ม A ชุมชนที่ควรอนุรักษ์ประกอบด้วย ชุมชนกุฎีจีน ชุมชนกุฎีขาว ชุมชนวัดบุปผารามและชุมชนโรงคราม กลุ่ม B ชุมชนที่เสื่อมถอย ได้แก่ ชุมชนหลังโรงเรียนซางตาครูซและชุมชนบุกรุกหลังโรงเรียนศึกษานารี กลุ่ม C ชุมชนที่กำลังปรับตัว ได้แก่ ชุมชนวัดกัลยาณ์ ชุมชนวัดประยูรวงศ์ ชุมชนริมคลองบางไส้ไก่และชุมชนอิสรภาพซอย 26 กลุ่ม D ชุมชนที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ ได้แก่ ชุมชนอิสรภาพซอย 18 และชุมชนอิสรภาพซอย 20 จากการศึกษาดังกล่าวจึงนำมาใช้ในการวางแผนพัฒนาแขวงวัดกัลยาณ์ ซึ่งสรุปได้ใน 2 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1) แผนพัฒนาชุมชนในแขวงวัดกัลยาณ์ หมายถึงการออกแบบกระบวนการพัฒนาชุมชน โดยมีจุดมุ่งหมายของการเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ แผนพัฒนาชุมชนนี้เป็นแผนพัฒนาทางด้านสังคมศาสตร์ ประเด็นที่ 2) แผนพัฒนาแขวงวัดกัลยาณ์ภายใต้แนวคิดการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชน เป็นแผนพัฒนาที่มุ่งเน้นการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ซึ่งสามารถสังเคราะห์ได้ 2 แนวทาง ได้แก่ 2.1 แนวทางการออกแบบพื้นที่กันชน 2.2 แนวทางการจัดการพื้นที่แบบผสมผสาน นอกจากนั้นการศึกษานี้ได้เสนอโครงสร้างการพัฒนารูปแบบทางกายภาพ ในการวางพัฒนาแขวงกัลยาณ์ โดยอาศัยผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานของรูปแบบการตั้งถิ่นฐานแบบใหม่อีกด้วย
Other Abstract: To analyse the community's changes that lead to propose the development guidenlines for the part of Bangkok by using Wat Kanlaya Subdistrict, Thonburi District as a case study. The study explored both of the social aspect and the physical aspect of community's structure, and recommendation for the future development according to the concept of community conservation. The study found that the six ancient communities and six new communities have separated to four groups; conservative community, decayed community, adjustable community and new community; and indicated each community's potential, constraint, opportunity including with the orientation of the community's alteration. By the means of the directly touch of communities by observation and participation, the study has got closer with the exact life of these communities. Based on the social network analysis and created the social network analysis on site (SNAS), the study divided into four parts of the new analysis's approach; part one) the study of social interaction and common tied, part two) the study of social interaction related to the site function, part three) the forcasting of the social network's alteration and part four) the forcasting of the community's changes and the future function of Wat Kanlaya Subdistrict. The conclusion and suggestion of the study have synthesised the development guidelines into two plans; the community's plan-the social development guidelines and the spatial plan stressed on the physical development. Futhermore, the spatial plan has proposed two concepts of implementation; buffer zone concept and the concept of multipurposed area.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: การวางผังเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12002
ISBN: 9743328114
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitiwat_No_front.pdf788.67 kBAdobe PDFView/Open
Thitiwat_No_ch1.pdf726.49 kBAdobe PDFView/Open
Thitiwat_No_ch2.pdf844.67 kBAdobe PDFView/Open
Thitiwat_No_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Thitiwat_No_ch4.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open
Thitiwat_No_ch5.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open
Thitiwat_No_back.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.