Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17800
Title: | การศึกษาแนวทางการลดปริมาณฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อคนงานในหน่วยงานก่อสร้าง |
Other Titles: | A Study of guidelines to reduce the quantity of dust affecting workers at construction sites |
Authors: | ยรรยง อาภาอนันต์ |
Advisors: | นพดล จอกแก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Noppadon.J@Chula.ac.th |
Subjects: | การควบคุมฝุ่น อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การควบคุมฝุ่น Dust control Construction industry -- Dust control |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ฝุ่นละอองเป็นปัญหามลภาวะทางอากาศที่สำคัญ โดยหน่วยงานก่อสร้างเป็นหนึ่งในสถานที่สำคัญที่เป็นแหล่งกำเนิดของฝุ่นละออง แต่ปัจจุบันการแก้ไขปัญหาเรื่องฝุ่นละอองจากบริเวณหน่วยงานก่อสร้าง มุ่งเน้นในการป้องกันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองออกสู่ภายนอก โดยไม่พิจารณาถึงฝุ่นละอองที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานก่อสร้าง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองในหน่วยงานก่อสร้าง และแนวทางการลดปริมาณการเกิดฝุ่นละออง โดยการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานของกิจกรรมการก่อสร้าง ซึ่งผลการศึกษาพบว่า กิจกรรมในหน่วยงานก่อสร้างที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง ได้แก่ งานดิน งานคอนกรีต งานไม้ งานระบบ การขนส่ง การจัดเก็บวัสดุ งานสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง โดยกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่นละอองจากงานสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง คือ การตัด การสกัด การขัด การเจาะ เศษวัสดุตกหล่นและการฟุ้งกระจายของเศษวัสดุ และจากการศึกษาเพื่อปรับปรุงขั้นตอนและวิธีการก่อสร้างสำหรับป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง โดยศึกษาจากกรณีศึกษา 3 กรณี ได้แก่ กรณีศึกษางานปูกระเบื้องเซรามิก กรณีศึกษางานตัดฝ้า และกรณีศึกษางานขัดพื้น พบว่า การเพิ่มการป้องกันการเกิดฝุ่นละออง การเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรมการก่อสร้างให้เหมาะสม สามารถลดปริมาณการเกิดฝุ่นละออง และป้องกันการฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองที่อาจเข้าสู่คนงานลงได้ประมาณ 3-6 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการดำเนินกิจกรรมก่อสร้างที่ไม่มีการป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง นอกจากนี้จากการเปรียบเทียบต้นทุนระหว่างกิจกรรม ที่มีการป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง กับกิจกรรมที่ไม่มีการป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง พบว่า ในกรณีศึกษางานปูกระเบื้องเซรามิกและงานตัดฝ้า ขั้นตอนการก่อสร้างที่มีการป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง มีต้นทุนต่ำกว่าการก่อสร้างที่ไม่มีการป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง ส่วนกรณีศึกษางานขัดพื้น พบว่า ขั้นตอนการก่อสร้างที่มีการป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง มีต้นทุนสูงกว่าการก่อสร้างที่ไม่มีการป้องกันการเกิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง |
Other Abstract: | Dust is an important problem of air pollution. The construction area is the major source of dust occurrence. Nowadays, the method of the dust protection in the construction site is to protect the dust affect to outside construction area. However, the method to reduce dust from construction activities affected to workers in construction site was not considered. The objectives of this research are to study construction activities which are the sources of dust and study the guidelines to reduce quantity of dust by improving construction methods. The results of research present that construction activities which are the source of dust such as earth works, concrete works, timber works, system works, transportation activities, materials storage, architectural works and decoration works. In addition, the results of research show that the activities in architectural works and decoration works which are the sources of dust such as cutting, polishing, chiseling, drilling, waste dropping and spreading. From the 3 case studies such as tiling work, ceiling board cutting work and floor polishing work, the results show that protection of dust occurrence and using appropriate construction tools can reduce the dust affect to workers in construction sites around 3-6 times. From the results of cost comparison in case studies, cost of tiling work and ceiling board cutting work with protection of dust occurrence is lower than without protection of dust occurrence. However, cost of floor polishing work with protection of dust occurrence is higher than without protection of dust occurrence. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17800 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.612 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.612 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yanyong_ap.pdf | 6.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.