Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18840
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาสังคมศึกษาของอาจารย์ในวิทยาลัยครูภาคเหนือ
Other Titles: Opinions concerning problems in teaching social studies of instructors in Northern teacher's colleges
Authors: ทัศนีย์ เรืองธรรม
Advisors: พิบูลศรี วาสนสมสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: สังคมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2519
Abstract: ความมุ่งหมายของการวิจัย เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ในวิทยาลัยครูภาคเหนือ เกี่ยวกับปัญหาการสอนวิชาสังคมศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึ กษาในด้าน หลักสูตร วิธีสอน อุปกรณ์ประกอบการสอน กิจกรรมประกอบการสอน การวัดผลและความต้องการความช่วยเหลือในการสอนวิชาสังคมศึกษาจา กหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการเรียนการสอนวิชานี้ในวิทยาลัยครูใ ห้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีวิจัย ผู้วิจัยได้ศึกษาหลักสูตรและประมวลการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการ ศึกษา กรมการฝึกหัดครู เอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นแนวทางในการสร้างแบบสอบถามเพื่อถามกลุ่ม ตัวอย่างประชากรซึ่งได้แก่อาจารย์ผู้สอนสังคมศึกษาในวิทยาลัยครูภาคเห นือ 5 แห่ง ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับอาจารย์สังคมศึกษาใน วิทยาลัยครู 4 คน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างประชากรจริง เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นแล้วจึงส่งไปให้กลุ่มตัวอย่างประชากรจริงตอบ แบบสอบถามที่ส่งไป 79 ชุด ได้รับกลับคืนมา 71 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.87 จากนั้นได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำเสนอข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยาย ผลของการวิจัย จากการวิจัยพบว่าอาจารย์สังคมศึกษาส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับขั้นปริญ ญาตรี และสอนสังคมศึกษาเพราะใจรักหรือเนื่องจากได้รับการฝึกฝนมาทางนี้โดย ตรง วิทยาลัยส่วนใหญ่มีการเตรียมโปรแกรมสังคมศึกษาล่วงหน้าโดยหัวหน้าห มวดวิชาร่วมกับอาจารย์ผู้สอน หัวหน้าหมวดวิชาสังคมศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของต นดีพอ วิทยาลัยครูส่วนใหญ่มีวิธีการติดตามผลการปฏิบัติงานของอาจารย์โดยการ ประชุมอาจารย์ในหมดเสมอ และพิจารณาอาจารย์เข้าทำการสอนโดยถือสายวิชาที่สอบบรรจุได้เป็นเก ณฑ์ อาจารย์ส่วนใหญ่เตรียมการสอนอย่างดีโดยยึดหลักสูตรเป็นสำคัญ วิธีสอนที่อาจารย์สังคมศึกษาใช้อยู่เสมอคือ การบรรยายและการบรรยายแล้วเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม ส่วนวิธีสอนที่อาจารย์สังคมศึกษาใช้น้อยมากหรือไม่เคยใช้เลยได้แก่ การเชิญวิทยากรมาบรรยาย การสอนโดยให้นักศึกษาแสดงบทบาท การสอนโดยการสร้างสภาวะการณ์จำลอง และการพานักศึกษาไปศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมประกอบการสอนที่อาจารย์สังคมศึกษาปฏิบัติมากที่สุดคือการให้นั กศึกษาค้นคว้าทำรายงานเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล และยังได้แสดงความเห็นว่าจำนวนหนังสือและอุปกรณ์การสอนในสายสังค มศึกษายังไม่เพียงพอแก่ความต้องการ และวัดผลในทัศนะของอาจารย์สังคมศึกษาส่วนใหญ่คือ การวัดประสิทธิภาพการเรียนการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ซึ่งจะนำไป สู่การปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้ความเห็นว่าข้อทดสอบแบบปรนัยและอัตนัยปนกันให้ผลดี ที่สุดในการวัดผล ปัญหาที่อาจารย์สังคมศึกษาประสบ ได้แก่ การจัดเวลาไม่เหมาะสมกับเนื้อหาในหลักสูตรเนื้อหาบางเรื่องไม่มีประโยช น์ต่อชีวิตประจำวัน ผู้บริหารและนักศึกษาให้ความสำคัญแก่วิชานี้น้อยกว่าวิชาอื่น ไม่มีข้อทดสอบมาตรฐาน นักศึกษาขาดทักษะในการคิดวิพากษ์วิจารณ์และวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ขาดความรับผิดชอบในงานที่รับมอบหมายและความประพฤติไม่เหมาะสม อุปสรรคที่สำคัญต่อการปรับปรุงการสอนวิชาสังคมศึกษาคือครูอาจารย์ใน หมวดขาดการประสานงานที่ดี อาจารย์สังคมส่วนใหญ่ต้องการให้มีการปรับปรุงหลักสูตรและประมวลการ สอนโดยเฉพาะในวิชาหน้าที่พลเมืองและวิชาศีลธรรม และต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการอบรมและการ นิเทศการศึกษาในด้านเนื้อหาวิชา และวิธีสอนสังคมศึกษาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
Other Abstract: Purposes The purpose of this research was to study opinions concerning problems in teaching social studies of instructors in northern teacher’s colleges at the level of certification, concerning the program of study, the teaching methods, the teaching aids, the activities, the evaluation techniques and the help they needs for improving the teaching of social studies in order to set up recommendation for the improvement of social studies instruction. Procedure The curriculum and course syllabus, texts and related research works were studies and questionnaires for social studies instructors in five northern teacher’s colleges were made. The questionnaires were pre-tested with four social studies instructors. And then were sent to 79 social studies instructors. Seventy one questionnaires (89.87%) were received back. The obtained data were tabulated and analyzed in percentage, mean score and standard deviation and then presented by table and explanation. Conclusion The findings revealed that most social studies instructors were Bachelor’s degree holders. They taught social studies because they liked it or because they were trained directly for it. In most colleges, the social studies programs were well planned by the heads of the social studies department together with the instructors. The heads of the social studies department still had less understanding about their roles and responsibilities. The techniques of follow up the social studies instructors used in most colleges was staff meeting and they were assigned work according to their majors. Most instructors prepared their lessons well, based on the curriculum. The instructional methods often used were lecture and lecture with questioning. However, visiting lecturers, role playing, simulation and field trip were less used. As for activities supplemented to studying and teaching, students were give assignments for group or independent report. The instructors also expressed that supplementary readings were not available for students as well as teaching aids. The purposes of evaluation, according to the instructors were to measure the effectiveness of both teaching and studying and to improve the instruction. Most instructors also gave an opinion that the most effective type of testing was the objective and subjective test. The problems most teachers faced were as follows : the curriculum and time alloment were not well proportioned, some contents were not useful to daily life, the administrators as well as the students gave less value to the social studies than other subjects, no standard test, the students lack of skills in criticizing and analyzing problems. The student’s behaviors were another problem. The main obstruction to the teaching improvement is that the instructors and less co-operation in working. Most social studies instructors wanted the curriculum and course syllabus being improved, especially Civic and Ethic Education. They also expressed and need for help from various concerns in training and supervising the course content and methods of teaching, at least once a year.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18840
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassanee_Ra_front.pdf438.52 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ra_ch1.pdf476.88 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ra_ch2.pdf798.78 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ra_ch3.pdf281.69 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ra_ch4.pdf997.99 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ra_ch5.pdf654.74 kBAdobe PDFView/Open
Tassanee_Ra_back.pdf663.06 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.