Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23180
Title: | ผลกระทบของการควบคุมการโฆษณาของรัฐ ต่อการผลิตภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ในประเทศไทย |
Other Titles: | The impacts of government control on television advertising film production in Thailand |
Authors: | ประธาน พงศ์ประยูร |
Advisors: | สุรัชนา วิวัฒนชาด |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ในปัจจุบันรัฐบาลได้เข้ามาควบคุมการโฆษณามากขึ้น ทั้งนี้เพราะรัฐบาลเห็นว่าการเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ ต่อประชาชนได้เพิ่มมากขึ้น โดยที่ธุรกิจได้นำเอาวิชาการตลาดและการโฆษณามาส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าและบริการมากขึ้น ประชาชนหรือผู้บริโภคจึงตกอยู่ในฐานะเสียเปรียบ เพราะไม่อยู่ในฐานะที่จะทราบภาวะการตลาดและความจริงเกี่ยวกับคุณภาพและราคาสินค้าบริการได้ถูกต้อง รัฐได้เริ่มมีการควบคุมการโฆษณาอย่างจริงจังโดยออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และได้ออกพระราชบัญญัติอาหารและยาตราลงไปในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคในแง่ความปลอดภัยของผู้บริโภคทางด้านการโฆษณาอาหารและยา นอกจากนี้ยังมีกฎ ระเบียบต่าง ๆ ในการโฆษณาสินค้าบางประเภทที่จำเป็นต้องมีการควบคุมไม่ว่าจะเป็นวัตถุมีพิษ ธนาคาร หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ โดยมีคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาทำหน้าที่สอดส่องติดตามและพิจารณาเกี่ยวกับการโฆษณา โดยเฉพาะภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ จะมีหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์โดยตรง คือ คณะกรรมการบริหารวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ การควบคุมภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ของรัฐ ได้มีการควบคุมอย่างเคร่งครัด จะต้องผ่านการพิจารณาจากหน่วยงานต่าง ๆ หลายขั้นตอน ซึ่งผลกระทบจากการควบคุมนี้ก็ส่งเสริมให้ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์มีคุณภาพดีขึ้น แต่เนื่องจากรัฐได้เพิ่งเข้าทำการควบคุม ฉะนั้น ในระยะแรกจึงยังขาดประสบการณ์ต่าง ๆ ด้านการโฆษณา ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาที่เป็นผลกระทบต่อธุรกิจ คือ ปัญหาเกี่ยวกับช่องโหว่ของพระราชบัญญัติ ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ ตลอดจนกฎหมายเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เป็นผู้พิจารณาภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ และการทำหน้าที่เกินอำนาจของบุคคล แต่ปัญหาที่สำคัญที่สุดคือ ปัญหาความล่าช้าในการทำงานของหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้เพราะปัญหาอื่น ๆ นั้นรัฐได้จัดให้มีการสัมมนาระหว่างฝ่ายธุรกิจและฝ่ายรัฐแล้ว และบางปัญหารัฐก็ยินยอมที่จะแก้ไข แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการแก้ไขแต่ประการใด ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะคลี่คลายลงไปได้ ถ้ารัฐพยายามเข้าใจระบบงานของธุรกิจ โดยเฉพาะสำนักงานตัวแทนโฆษณามากขึ้น ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ ระเบียบ คำสั่งต่าง ๆ บุคคลที่จะมาเป็นผู้พิจารณา ระเบียบ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ก็ควรจะต้องมีความเข้าใจในการตลาดและการโฆษณาตลอดจนความคิดเห็นในการพิจารณภาพยนตร์โฆษณา ก็ควรจะต้องเปิดให้กว้างกว่านี้ มิฉะนั้นจะเป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ของนักโฆษณา เกินไป การจะแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงลงได้นั้น ฝ่ายธุรกิจจะต้องมีความรับผิดชอบ และร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ถ้าทั้ง 2 ฝ่าย มีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันก็จะช่วยสร้างสรรค์สิ่งที่ดีแก่สังคมด้วย ทั้งนี้เพราะการโฆษณาในปัจจุบันไม่เฉพาะแต่จะเป็นผลประโยชน์แก่ธุรกิจแต่เพียงฝ่ายเดียว หน่วยราชการ หน่วยงานอันเกี่ยวกับสาธารณกุศลต่าง ๆ ตลอดจนหน่วยอื่น ๆ ก็สามารถนำการโฆษณาไปใช้เป็นประโยชน์ทั้งสิ้น นอกจากนี้การควบคุมการโฆษณาที่มีประสิทธิภาพของรัฐ ยังจะก่อให้เกิดการสร้างสรรสิ่งดีงามแก่สังคมส่วนรวมอีกด้วย |
Other Abstract: | At present, advertising has been under strict control of government. This is due to business has widespreadly utilized advertising strategies to promote its goods or services; consequently, the public or consumer are in the disadvantage position since they are not well furnished with correct information as to the condition of the market and the fact concerning quality and price. The government has played an active role in controlling advertising by executing the Consumer Protection Act of B.E. 2522 and the Food and Drug Act, announced in the gazette. The Acts aim at protecting the consumer in respect to the safety of the consumer in food and drug advertisement. Committees were appointed to take eyes on, follow, and consider about advertising. Specifically, TV advertising is under direct consideration of a committee called the Broadcast Directing Board. TV advertising is under strict control. They need to be considered by various committees, step by step. This makes advertising more respect to consumers. However, the government has just taken action in this matter. So, inexperience of government in advertising causes problems to the business and the advertising agency. There are many weak points in rules, regulations, Acts, and the over acts of committees as well. But the most important problem is the inactive of the government official. The government held seminars to solve other problems between the two parties. Some problems have been promised to be solved, but they still are not taken action. The problems may be solved in case the government try to understand the system of business especially one of the advertising agency. In drafting Acts, regulations and rules, the drafter need to understand marketing and advertising. Concept in considering TV advertising should be more objective otherwise creativety of the advertiser will be [limited.] To solve the problems the business needs to take responsibility and co-operate with the government for benefits of both parties. Good relationships between both parties creates good things to the society. Advertising nowadays bring interest not only to the business but also to the government officer, social welfare association, etc.. In addition, efficient control of advertising create good things to the public as a whole. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | บัญชีมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23180 |
ISBN: | 9745612979 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prathan_Po_front.pdf | 565.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prathan_Po_ch1.pdf | 320.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prathan_Po_ch2.pdf | 1.3 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prathan_Po_ch3.pdf | 717.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prathan_Po_ch4.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prathan_Po_ch5.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Prathan_Po_ch6.pdf | 635.67 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Prathan_Po_back.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.