Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23728
Title: แนวทางการออกแบบเพื่อการประสานระบบพื้นที่โล่งในเมืองย่านธุรกิจ ถนนสีลม
Other Titles: Design guidelines for integrating open space system in Silom business area
Authors: สมฤทัย เล็กศรีสกุล
Advisors: ฐานิศวร์ เจริญพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ย่านธุรกิจถนนสีลมเป็นย่านที่มีประชากรและกิจกรรมที่หนาแน่น ซึ่งมีปริมาณความเข้มข้นในการใช้สอยเป็นอย่างมาก ภายใต้พื้นที่อันจำกัด ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลานั้น ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีลักษณะพิเศษเฉพาะที่น่าสนใจ การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างพื้นที่โล่งอันจำกัด และกิจกรรมของผู้ใช้แต่ละกลุ่มในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเสนอแนวทาง การออกแบบประสานระบบพื้นที่โล่งในมิติต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งทำการศึกษาโดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิเป็นพื้นฐานในการสำรวจ และสังเกตการณ์ในพื้นที่ จากการศึกษาพบว่าโดยส่วนใหญ่ พื้นที่โล่งในย่านธุรกิจถนนสีลม เป็นพื้นที่โล่งในลักษณะของโครงข่ายเส้นทางสัญจร และ พื้นที่โล่งที่เกี่ยวเนื่องกับอาคาร รูปแบบของการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน ของคนกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของคนทำงาน กลุ่มของผู้ที่ผ่านเข้ามา กลุ่มนักท่องเที่ยว กลุ่มหาบเร่แผงลอย และผู้ที่พักอาศัยในย่าน ในเชิงของลักษณะรูปแบบกิจกรรม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักจากที่เคยมีการทำการศึกษาไว้ แต่ มีการขยายของพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมมากขึ้น โดยมีการกระจายเพิ่มขึ้นหลายจุดจากเดิม ได้แก่ตลาด(เต็นท์)ชั่วคราวในตอนกลางวัน ที่เป็นแหล่งขายสินค้าและอาหาร และการเพิ่มความหนาแน่นของหาบเร่แผงลอยริมถนนซึ่งเกิดขึ้นตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น หากแต่พื้นที่รองรับกิจกรรมซึ่งเป็นเส้นทางสัญจรโดยส่วนใหญ่นั้น ยังคงมีขนาดเท่าเดิม ทำให้เกิดความแออัด ในขณะที่พื้นที่ว่างบางส่วนก็ไม่ได้ใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถสรุปประเด็นปัญหาของ ระบบพื้นที่โล่งได้ดังนี้ 1. ขาดแคลนพื้นที่รองรับกิจกรรม 2. ความขัดแย้งของกิจกรรมที่เกิดขึ้น 3. พื้นที่บางส่วนยังไม่ได้นำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 4. สภาพภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม ผู้ศึกษาวิจัยได้เสนอแนวทางการออกแบบโดย เพิ่มเส้นทางสัญจรและพื้นที่โล่ง เพื่อกระจายความหนาแน่น จากพื้นที่เดิมแล้วทำการปรับปรุงพื้นที่รองรับที่มีอยู่เดิม โดยได้พิจารณาทางเลือก ในการทำทางยกระดับเชื่อมต่อ ระหว่างสถานีรถไฟฟ้า และอาคารที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มพื้นที่รองรับกิจกรรมและ ลดความขัดแย้งของกิจกรรมในพื้นที่เดิม ซึ่งเชื่อมยกระดับนี้ เป็นการสร้างสิ่งใหม่ลงไปในพื้นที่เดิมนั้น ค่อนข้างเสี่ยงต่อผลกระทบที่เห็นได้ชัด จึงต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดและรูปแบบเพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น ซึ่งทางเชื่อมนี้เป็นตัวช่วยประสานระบบพื้นที่โล่งเข้าด้วยกันเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงและความปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่ทางสังคมรูปแบบใหม่ ในการประสานพื้นที่บางส่วนของเอกชนให้เกิดประโยชน์เพื่อสาธารณะที่มีความเป็นไปได้ในเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งแนวคิดนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีส่วนช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชาวเมืองให้ดีขึ้น และอาจจะนำไปเป็นกรณีศึกษาปรับใช้โครงการอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป
Other Abstract: Silom business district is an area with high population and activity density. The intensity of its diverse usage, between different time intervals, occurs within limited amount of space. Such uniqueness has characterized Silom as an interesting urban area. The research’s objective is to study the relationships between “limited open space” and the activities of different types of users at different time interval, in order to propose an appropriate linkage of the open space, within the different dimensions. The study uses secondary source of information as a basis for survey and observation in the area. Study suggests that most of the open space in the Silom business district can be distinguished into 2 types: an open space as a network of circulation circuits and open space linked with a building. There has not been a significant change in the pattern of everyday-life activities by users that are office employees, passerby, tourists, vendors, and residents within the area. However, there is an increase in activities that is taking up more space in the area. They are flea market and food center in a form of temporary tents, occurring during the day only, and vendors increasingly taking up the walkways. The amount of space available to support these activities remains the same despite their rapid increase, which leads to problems of congestion and inefficient use of areas. Aspects of the problems in the open space system can be summarized into 1. Lack of area to support activities 2. Conflict of the activities that occurred 3. Inability to utilize the potentials of some area 4. Deterioration of landscape and environment. Design solution proposed in this study is the increase in circulation path and open space in order to spread out activities from the existing area and to reduce its density. Renovation of the area is also considered, by proposing an elevated linkage between a sky train station and potential buildings. Its objective is to increase area supporting these diverse activities and to reduce their conflict that originally occurred. This linkage will integrate the open space systems together to ensure accessibility and security. Moreover, it also suggests an alternative type of social space, utilizing certain area owned by private sector for public benefit with economic feasibility. However, the introduction of a new structure into the existing urbanscape will generate risks in environmental impact. Precautions in design solutions and details must be seriously considered to minimize such impact. It is hopeful that the idea would provide another way of creating a livelier urban atmosphere, with a better quality of life, and will serve as a case study to be implemented in future projects.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การออกแบบชุมชนเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23728
ISBN: 9741707908
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somruthai_le_front.pdf5.87 MBAdobe PDFView/Open
Somruthai_le_ch1.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Somruthai_le_ch2.pdf13.63 MBAdobe PDFView/Open
Somruthai_le_ch3.pdf29.67 MBAdobe PDFView/Open
Somruthai_le_ch4.pdf28.63 MBAdobe PDFView/Open
Somruthai_le_ch5.pdf17.82 MBAdobe PDFView/Open
Somruthai_le_ch6.pdf3.82 MBAdobe PDFView/Open
Somruthai_le_back.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.