Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24165
Title: พัฒนาการของความจำระยะสั้นและโดยบังเอิญของเด็กในเขตเทศบาลนคร
Other Titles: The development of short-term and incidental memory of Children in Urban Area
Authors: วัลยา ยานุเมศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัญฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2517
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงพัฒนาการของความจำระยะสั้นและโดยบังเอิญของเด็กไทยในเขตเทศบาลนคร (กรุงเทพมหานคร) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนและนิสิต มีอายุตั้งแต่ 4 ถึง 21 ปี จำนวน 100 คน โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ตามระดับอายุ กลุ่มละ 20 คน และในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนหรือนิสิตชายและหญิงเป็นจำนาน เท่า ๆกัน ผู้วิจัยทดสอบความสามารถของความจำระยะสั้นเละโดยบังเอิญของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดนี้ทีละคน โดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ดัดแปลงจาก เฮเกนและแวคเนอร์ ในการทดสอบความจำระยะสั้น ผู้รับการทดสอบความจำจะต้องบอกตำแหน่งของสิ่งเร้าเฉพาะอย่าง หลังจากที่ผู้ทดลองให้ดูสิ่งเร้า 7 อย่างแล้ว ในการทดสอบความจำโดยบังเอิญ ผู้ทดลองจะถามผู้รับการทดสอบความถึงสิ่งเร้าสิ่งที่สองที่อยู่คู่กับสิ่งเร้าที่เป็นความจำระยะสั้น ผลจากการวิจัยสรุปไค้ดังนี้ 1) คะแนนความสามารถของการจำระยะสั้นจะเพิ่ม ขึ้นตามวัยจากอายุ 4 ถึง 21 ปี 2) ความสามารถของการจำระยะสั้นในการจำภาพตำแหน่งสุดท้า ยจะสูงกว่าความสามารถของการจำระยะสั้นในการจำภาพตำแหน่งที่ 1 หรือตำแหน่งที่ 3, 4 และ 5 3) คะแนนความสามารถของการจำโดยบังเอิญจะเพิ่ม ขึ้นตามวัยตั้งแต่อายุ 4 ถึง 11 ปี แล้วลดลง 4) กลุ่มตัวอย่างชายและหญิงมีความสามารถของการจำระยะสั้นและโดยบังเอิญไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 5) ความ สามารถของการจำระยะสั้นและโดยบังเอิญไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The present study was designed to investigate the development of short-term and incidental memory of Thai Children in urban areas (Bangkok-Thonburi). The subjects were one hundred students ranging in age from 4 "to 21 years. The subjects were divided into 5 age groups, and each group had equal number of males and females. Each subject was tested on central and incidental memory tasks. For the central memory task the subjects had to locate a particular central stimulus among a series of seven cards that were presented briefly and then turned upside down. After 14 trials on control memory task, the subjects were tested for incidental memory by being asked to recognize which second stimulus was always paired with each central stimulus on the 14 trials for central memory task. The re¬sults were: a) the central memory scores increased with age from 4 to 21 years old, b) performance of central memory on recency was higher than that on primacy or middle positions, c) the incidental memory scores increased with age from 4 to 11 years old and then declined, d) there were no differences in the central and incidental memory scores of male and female subjects e) individual correlations of central and incidental memory showed no significant relationship between these two types of memory.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24165
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wanlaya_ya_front.pdf474.97 kBAdobe PDFView/Open
wanlaya_ya_ch1.pdf920.68 kBAdobe PDFView/Open
wanlaya_ya_ch2.pdf519.15 kBAdobe PDFView/Open
wanlaya_ya_ch3.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
wanlaya_ya_ch4.pdf453.16 kBAdobe PDFView/Open
Wanlaya_Ya_ch5.pdf361.42 kBAdobe PDFView/Open
wanlaya_ya_back.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.