Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24385
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorองอาจ วิพุธศิริ
dc.contributor.advisorสมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์
dc.contributor.authorนันทกานต์ ธนะสถิตย์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-17T04:35:59Z
dc.date.available2012-11-17T04:35:59Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741723989
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24385
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractความเป็นมา สาธารณสุขมูลฐานเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานมามากกว่า 20 ปี เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ปัจจุบัน ปี 2545 มีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยให้จัดตั้งศูนย์สุขภาพชุมชนขึ้นเพื่อให้บริการสุขภาพที่ใกล้บ้านใกล้ใจประชาชน อสม.ผู้นำประชาชนกลุ่มหนึ่งมีความคิดเห็นอย่างไรต่องานบริการสุขภาพเพื่อชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ต่อกิจกรรมสำคัญในระบบสุขภาพชุมชน ได้แก่งานสาธารณสุขมูลฐานและงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมา รูปแบบการวิจัย เป็นการสำรวจเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใด เวลาหนึ่ง ประชากรที่ศึกษา อสม.จำนวน 1,800 คน จาก 40,441 คน โดยการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบ Multi-stage Sampling เครื่องมือวิจัย เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นชนิดตอบเอง ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาแบบประเมินตนเองต่องานสาธารณสุขมูลฐาน ความพึงพอใจระบบบริการสุขภาพ และการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนธันวาคม 2545 ถึง มกราคม 2546 มีผู้ตอบกลับ 1,325 คน (73.61 %) สถิติที่ใช้ Unpaired t-test, Paired t-test, Wilcoxon Signed - Ranks test และ One - way ANOVA ผลการศึกษา อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 90.6 % มีสถานภาพสมรสคู่ 91.2 % อายุเฉลี่ย 38.6 ปี จบประถมศึกษา 73.6 % และมีอาชีพเกษตรกรรม 73.6 % ได้รับการอบรมโดยเฉลี่ย 8 ครั้ง/ปี ส่วนลักษณะของหมู่บ้านพบว่าคนในหมู่บ้านจะรวมกลุ่มจัดกิจกรรมด้านวัฒนธรรมและประเพณีอย่างสม่ำเสมอ 72.8 % และคนในหมู่บ้านเป็นเครือญาติกัน 70.0 % อสม. ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมปฏิบัติกิจกรรมงานสาธารณสุขมูลฐานทั้ง 33 กิจกรรม (6 หมวด) ด้วยคะแนนเฉลี่ยสูงในทุกกิจกรรม/หมวด ยกเว้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเด็กที่ไม่ได้เรียนได้รับการฝึกอาชีพมีคะแนนต่ำสุด และพบว่า อสม. ให้ความสำคัญมากที่สุด ในหมวดสุขภาพดี และมีส่วนร่วมมากที่สุด ในหมวดมีบ้านอาศัย ส่วนหมวดรายได้ อสม. ให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมน้อยที่สุด อสม. ประเมินความสำคัญและความพึงพอใจต่อกิจกรรมงานบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิของศูนย์สุขภาพชุมชน 25 กิจกรรม (5 หมวด) ด้วยคะแนนเฉลี่ยความสำคัญสูงกว่าความพึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ทุกกิจกรรมทุกหมวด โดยกิจกรรมการเยี่ยมบ้านติดตามผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง มีความพึงพอใจน้อยที่สุด และพบว่า อสม. ให้ความสำคัญและพึงพอใจมากที่สุดหมวดการป้องกันโรค แต่หมวดการฟื้นฟูสภาพ อสม. กลับให้ความสำคัญและพึงพอใจน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า บทบาท อสม. จำนวนครั้งที่ได้รับการอบรม และลักษณะของหมู่บ้านที่แตกต่างกันมีผลให้ความคิดเห็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) สรุป ระบบสุขภาพท้องถิ่นเพื่อชุมชนต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้านด้วย อาทิ รายได้ การศึกษา วัฒนธรรม โดยทุกหน่วยงานในชุมชนต้องทำงานประสานกันเพื่อร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ดังนั้นการฝึกอบรมให้ อสม. อย่างสม่ำเสมอ โดยให้ อสม. และประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานในระบบสุขภาพชุมชน ส่วนเจ้าหน้าที่มีการติดตามสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะทำให้งานประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
dc.description.abstractalternativeBackground: In 1978, Primary Health Care (PHC) was launched as the global strategy to Health for All in the year 2000, At present, the new strategy is changed to focus on primary care (PC) via primary care units (PCU) under the universal coverage scheme in Thailand. Objective: To study the opinion of village health volunteers (VHVs) toward key performances specified in PHC and PC provision in Nakhon Ratchasima Province. Research Design: Cross-Sectional Descriptive Study. Participants: Eighteen hundreds out of 40,441 VHVs in Nakhon Ratchasima Province were randomly selected by Multi-stage Sampling. The return rate was 73.61 % (1,325 VHVs). Data Collection: The Self-administered survey was conducted during November 2002-January 2003. Statistical Method: Unpaired t-test, Paired t-test, Wilcoxon Signed-Ranks test, and One-way ANOVA. Result: The results showed that the majority of VHVs were female (90.6%), married (91.2%), and the average age was 38.6 years. Almost of them finished from primary school (73.6%), agriculture workers (73.6%), and attended the training 8 times/year/person in average. The respondents stated that majority of villagers joined local cultural activities (72.8%) and were relatives (70.0%). More than a half of VHVs were rated with high scores for all PHC activities specified as important and had ever participated. However, they least participated on vocational training for out of school children. The majority of VHVs rated high scores on health activities dimension, and also highly participated in housing dimension. For economic dimension, VHVs rated as the least importance and participated. In assessing the importance and satisfaction with primary care activities provision, they rated the higher mean scores importance than satisfaction with performances in all 25 items/5 dimensions with statistically significant difference (p < 0.001) especially, least satisfaction with home visit and follow up disabilities and chronic ill people activities. Furthermore, the top rank of importance and satisfaction were disease prevention dimension, and the rehabilitation dimension was the least. Moreover, there were statistically significant differences (p < 0.05) in the mean scores by the roles of VHVs, training, and villages setting. Conclusion: Local health care system are linkage with many determinants such as life styles, socio-economic, education, and culture, thus improving quality of life for all need participation of all stakeholders. Continuously training of VHVs, giving opportunity to participate and support system for VHVs and local people by health providers were critical success factors for sustainable health improvement for all.
dc.format.extent3566230 bytes
dc.format.extent3926467 bytes
dc.format.extent21627289 bytes
dc.format.extent3484830 bytes
dc.format.extent24155108 bytes
dc.format.extent13859867 bytes
dc.format.extent21894738 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleความคิดเห็นของอาสาสมัครสาธารณสุข ต่อกิจกรรมสำคัญของระบบสุขภาพชุมชนในจังหวัดนครราชสีมาen
dc.title.alternativeOpinion of village health volunteers toward key performance under community health care system in Nakhon Ratchasima provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nuntakan_ta_front.pdf3.48 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakan_ta_ch1.pdf3.83 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakan_ta_ch2.pdf21.12 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakan_ta_ch3.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakan_ta_ch4.pdf23.59 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakan_ta_ch5.pdf13.54 MBAdobe PDFView/Open
Nuntakan_ta_back.pdf21.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.