Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24656
Title: | การศึกษาสมรรถภาพทางกายบางประการของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม |
Other Titles: | A study of some aspects of physical fitness of industrial employees |
Authors: | ทศวรรณ ดีสมจิตร |
Advisors: | ศิลปชัย สุวรรณธาดา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายภาพบางประการของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม และเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายบางประการของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมที่มีและไม่มีโครงการกายบริหาร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นพนักงานชายหญิง โรงงานอุตสาหกรรมที่มีและไม่มีโครงการกายบริหาร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นพนักงานชายหญิง โรงงานอุตสาหกรรมที่มีและไม่มีโครงการกายบริหาร จำนวน 200 คน โดยเข้ารับการวัดสมรรถภาพทางกายบางประการ ซึ่งประกอบด้วยรายการต่างๆดังนี้ คือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก ความดันโลหิตขณะบีบตัว ความดันโลหิตขณะคลายตัว ความจุปอด ความแข็งแรงมือ ความแข็งแรงเหยียดขา ความแข็งแรงเหยียดหลัง ไขมันใต้ผิวหลัง ยืนกระโดดไกล สมรรถภาพการจับออกซิเจน น้ำหนักตัว และส่วนสูง นำผลที่ได้จากการทดสอบสมรรถภาพทางกายแต่ละรายการมาวิเคราะห์โดยใช้วิธีทางสถิติ คือ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถภาพทางกายของพนักงานชาย โรงงานอุตสาหกรรมที่มีโครงการกายบริหาร มีค่าเฉลี่ยด้านต่างๆคือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 72.40 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตขณะบีบตัว 121.68 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตขณะคลายตัว 72.28 มิลลิเมตรปรอท ความแข็งแรงมือ 38.46 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดขา 112.64 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดหลัง 78.72 กิโลกรัม ความจุปอด 3393.40 ลูกบาศก์เซนติเมตร ไขมันใต้ผิวหนัง 8.88 มิลลิเมตร ยืนกระโดดไกล 196.92 เซนติเมตร สมรรถภาพทางการจับออกซิเจน 2.54 ลิตรต่อนาที น้ำหนักตัว 56.36 กิโลกรัม ส่วนสูง 166.42 เซนติเมตร 2. สมรรถภาพทางกายของพนักงานหญิง โรงงานอุตสาหกรรมที่มีโครงการกายบริหาร มีค่าเฉลี่ยด้านต่างๆคือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 81.82 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตขณะบีบตัว 115.92 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตขณะคลายตัว 72.28 มิลลิเมตรปรอท ความแข็งแรงมือ 22.44 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดขา 28.97 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดหลัง 16.26 กิโลกรัม ความจุปอด 2,172 ลูกบาศก์เซนติเมตร ไขมันใต้ผิวหนัง 15.70 มิลลิเมตร ยืนกระโดดไกล 137.96 เซนติเมตร สมรรถภาพทางการจับออกซิเจน 2.02 ลิตรต่อนาที น้ำหนักตัว 47.80 กิโลกรัม ส่วนสูง 154.82 เซนติเมตร 3.สมรรถภาพทางกายของพนักงานชาย โรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่มีโครงการกายบริหาร มีค่าเฉลี่ยด้านต่างๆคือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 73.40 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตขณะบีบตัว 126.20 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตขณะคลายตัว 77.76 มิลลิเมตรปรอท ความแข็งแรงมือ 45.44 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดขา 115.10 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดหลัง 89.78 กิโลกรัม ความจุปอด 3,313.0 ลูกบาศก์เซนติเมตร ไขมันใต้ผิวหนัง 9.98 มิลลิเมตร ยืนกระโดดไกล 186.14 เซนติเมตร สมรรถภาพการจับออกซิเจน 2.39 ลิตรต่อนาที น้ำหนักตัว 58.38 กิโลกรัม ส่วนสูง 167.08 เซนติเมตร 4. สมรรถภาพทางกายของพนักงานหญิง โรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่มีโครงการกายบริหาร มีค่าเฉลี่ยด้านต่างๆคือ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก 76.14 ครั้งต่อนาที ความดันโลหิตขณะบีบตัว 120.30 มิลลิเมตรปรอท ความดันโลหิตขณะคลายตัว 73.88 มิลลิเมตรปรอท ความแข็งแรงมือ 28.59 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดขา 28.95 กิโลกรัม ความแข็งแรงเหยียดหลัง 17.14 กิโลกรัม ความจุปอด 2,094.46 ลูกบาศก์เซนติเมตร ไขมันใต้ผิวหนัง 18.24 มิลลิเมตร ยืนกระโดดไกล 147.16 เซนติเมตร สมรรถภาพทางการจับออกซิเจน 2.00 ลิตรต่อนาที น้ำหนักตัว 51.84 กิโลกรัม ส่วนสูง 153.26 เซนติเมตร 5.การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของพนักงานชายโรงงานอุตสาหกรรมที่มีและไม่มีโครงการกายบริหารพบว่า อัตราการเต้นของชีพจรขณะพัก ความจุปอด ความแข็งแรงเหยียดขา ไขมันใต้ผิวหนัง สมรรถภาพในการรับออกซิเจน น้ำหนักตัวและส่วนสูง ไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 ส่วนความดันโลหิตขณะคลายตัว ความแข็งมือ พบว่า มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .01 และความดันโลหิตขณะบีบตัว ความแข็งแรงเหยียดหลัง และยืนกระโดดไกล พบว่า มีความแตกต่างกันที่ระดับ .05 6.การเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของพนักงานหญิงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีและไม่มีโครงการกายบริหารพบว่า ความดันโลหิตขณะบีบตัว ความจุปอด ไขมันใต้ผิวหนัง ยืนกระโดดไกล ความแข็งแรงเหยียดขา ความแข็งแรงเหยียดหลัง สมรรถภาพในการจับออกซิเจน และส่วนสูงไม่มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 แต่พบว่า อัตราการเต้นของชีพจรขณะพัก ความดันโลหิตขณะคลายตัว ความแข็งแรงมือ และน้ำหนักตัว มีความแตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .07 |
Other Abstract: | The purposes of this research were to investigate some aspects of physical fitness of industrial employees and to compare the physical fitness between industrial employees. The samples of this study were 200 male and female industrial employees who had calisthenic exercise programs and those who had no calisthenic exercise programs. The samples were measured for some aspects of physical fitness as follow: resting heart rate, systolic blood pressure, diastolic blood pressure, grip strength, leg strength, back strength, percent of body fat, standing broad jump, maximum oxygen uptake, weight and height. The obtained data were, then analyzed In terms of means, and standard deviation. A t-test was also employed to determine the significant differences. The results indicated that: 1.The means of the physical fitness of male industrial employees who had calisthenic programs were the resting heart rate of 72.40 beats/min, the systolic blood pressure of 121.68 mm.Hg, the diastolic blood pressure of 72.28 mm.Hg, grip strength of 38.46 kg. leg strength of 112.64 kg, back strength of 78.72 kg. vital capacity of 3393.40 cm3 percent of body fat of 8.88 mm, standing broad jump of 196.92 cm, maximum oxygen uptake of 2.54 litres/min, weight of 53.36 kg. and height of 166.42 cm. 2. The means of the physical fitness of female industrial employees who had calisthenic programs were the resting heart rate of 81.82 be at shin, the systolic blood pressure of 115.92 mm.Hg, the diastolic blood pressure of 72.28 mm.Hg, grip strength 22.44 kg, leg strength 28.79 kg, back strength of 16.26 kg, vital capacity of 2127 cm3, percent of body fat of 15.70 nun, standing broad jump of 137.96 cm, maximum oxygen uptake of 2.02 litres/min, weight of 47.80 kg. and height of 154.82 cm. 3. The means of the physical fitness of male industrial employees who had no calisthenic programs were the resting heart rate of 73.40 beats/min, the systolic blood pressure of 126.20 mm.Hg, the diastolic blood pressure of 77.76 mm.Hg, grip strength of 45.44 k g, leg strength 115.10 kg, back strength of 89.78 kg, vital capacity of 33313.00 cm3, percent of body fat of 9.98 mm, standing broad jump 186.14 cm, maximum oxygen uptake 2.39 litres/min, weight 58.38 kg, and height 167.08 cm . 4; The means of the physical fitness of female industrial employees who had no calisthenic programs were the resting heart rate of 76.14 beats/min, the systolic blood pressure 120.30 mm.Hg, the diastolic blood pressure 73.88 mm.Hg, grip strength of 28.59 kg, leg strength of 28.95 kg, back strength of 17.14 kg, vital capacity 2094.46 cm3, percent of body fat of 18.24 mm, standing broad jump of 147.16 cm. maximum oxygen uptake 2.00 litres/min, weight 51.84 kg. and height 153.26 cm. 5. The comparison of the physical fitness of male industrial employess who had calisthenic programs and those who had no calisthenic programs were found that the resting heart rate, vital capacity, leg strength, percent of body fat, maximum oxygen uptake, weight and height were not significantly different at .05 level. However, the diastolic blood pressure and grip strength were significantly different at .01 level, and the systolic blood pressure, back strength and standing broad jump were significantly different at .05 level. 6. The comparison of the physical fitness of female industrial employees who had calisthenic programs and those who had no calisthenic programs were found that the systolic blood pressure, vital capacity, percent of body fat, standing broad jump, leg strength, back strength, maximum oxygen uptake and height were not significantly different at .05 level. However, the resting heart rate, the diastolic blood pressure, grip strength and weight were significantly different at .01 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24656 |
ISBN: | 9745645389 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Tossawan_De_front.pdf | 560.71 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tossawan_De_ch1.pdf | 546.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tossawan_De_ch2.pdf | 607.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tossawan_De_ch3.pdf | 323.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tossawan_De_ch4.pdf | 863.04 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tossawan_De_ch5.pdf | 634.97 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Tossawan_De_back.pdf | 581.85 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.