Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24722
Title: ความคิดเห็นการเมืองของคนงานไทยที่ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลาง
Other Titles: Political opinion of the Thai workers in the middle east
Authors: พีระ ชัยชาญ
Advisors: พรศักดิ์ ชัยชาญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: แรงงาน -- ไทย -- กิจกรรมทางการเมือง
ชาวไทย -- ตะวันออกกลาง
การย้ายถิ่นของแรงงาน
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ความคิดเห็นทางการเมือง (political opinion) ของแต่ละบุคคลมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ แต่ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อปัจจัยด้านฐานะทางเศรษฐกิจและสถานภาพสังคม รวมทั้งประสบการณ์การเรียนรู้ของบุคคลเป็นสำคัญ และความคิดเห็นทางการเมืองดังกล่าวจะโน้มนำไปสู่พฤติกรรมทางการเมือง (political behavior) ในลักษณะที่แตกต่างกันไปด้วย ในปัจจุบันมีปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย นั่นคือ มีคนไทยจำนวนมากได้ไปทำงานในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ประชากรกลุ่มนี้ได้รับประสบการณ์แปลกใหม่ต่างไปจากประชากรกลุ่มอื่นที่ไม่ได้ไปทำงานในกลุ่มประเทศดังกล่าว รวมทั้งมีการปรับเปลี่ยนสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของตนเองอย่างรวดเร็วกว่าภาวะปรกติ ในการวิจัยครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะสำรวจระดับความคิดเห็นทางการเมืองในขอบเขตของความรู้ความเข้าใจทางการเมือง (political cognition) ความรู้สึกต่อการเมือง (political affection) และความโน้มเอียงในพฤติกรรมทางการเมือง (political behavior) ของคนงานไทยที่ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลางมาแล้วช่วงหนึ่ง ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับประสบการณ์ที่ได้รับ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของคนงานเหล่านี้ ในลักษณะที่แตกต่างกันเพียงใด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ คนงานไทยที่ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลางมาแล้วช่วงหนึ่ง และเดินทางกลับมาพักผ่อนชั่วคราวในประเทศไทย ก่อนเดินทางกลับไปทำงานกับนายจ้างเดิม คนงานเหล่านี้ได้ไปติดต่อขอรับหนังสือ ยกเว้นภาษีการเดินทางไปต่างประเทศที่กรมแรงงาน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sample) จำนวนทั้งหมด 481 คน ในการวิจัยนี้ได้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยร้อยละและการทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติแกมม่า (G) ผลการวิจัยพบว่า โดยทั่วไปแล้วคนงานไทยที่ไปทำงานในประเทศตะวันออกกลางส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจทางการเมืองและความไว้วางใจทางการเมืองในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ขณะที่มีความโน้มเอียงในพฤติกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงประสบการณ์การทำงาน ฐานะทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางสังคมของคนงานแล้ว ปรากฏว่า 1. ประสบการณ์การทำงานของคนงานมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความไว้วางใจทางการเมือง และความโน้มเอียงในการมีส่วนร่วมทางการเมืองค่อนข้างน้อย 2. ฐานะทางเศรษฐกิจของคนงานมีอิทธิพลต่อความแตกต่างในระดับความรู้ความเข้าใจทางการเมืองอย่างค่อนข้างชัดเจน แต่มีความสัมพันธ์กับความไว้วางใจทางการเมือง และความแตกต่างในความโน้มเอียงในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยมาก 3. สถานภาพทางสังคมของคนงาน มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจทางการเมือง ความไว้วางใจทางการเมือง และความโน้มเอียงในการเข้ามีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยมาก
Other Abstract: Although the political opinion of an individual is determined by a number of factors, this study will concentrate only on political opinions as shaped by an individual’s social and economic status as well as knowledge gained from experiences. Differences in political opinion also determine different political behavior. A significant social phenomenon has emerged in [Thailand that] is the massive migration of Thai workers to the Middle East. These migrant workers have acquired political opinions that are different from those who have not gone abroad since they may experience a rapid change in the social and economic conditions. Based on these perceptions, this study aims at studying political cognition and political affection as well as the political behavior orientations of the Thai workers who have worked in the Middle Eastern countries for a period of time and the extent to which these are effected by the experience abroad as well as changes in social and economic conditions. The target groups of the study are the people who have been working in the Middle East for a period of time and have temporarily returned to Thailand. Before returning to work for the same employers, these people must request for an exemption for an exit tax at the Department of [Labor]. Simple random sampling techniques are used. The total number of respondents is 481. Questionnaires were administered to collect data and simple statistical techniques are employed such as gamma, etc. to evaluate the data. The majority of the samples have a fair understanding of the political issues while active political participation for the majority of the respondents are found to be at the average to low level. Political behavioral orientation is found to be average to low as well. Taking into consideration the influence of the work experience, the social and economic status of the migrant workers, the following conclusions are reached. (1). Work experience has little relation with the understanding of political issues, political trust and political behavioral orientation. (2). Economic status of the migrant workers is quite a significant factor in the differences in political understanding but it has very little relation with political trust and with the differences in political behavioral orientation. (3). Social status is neither a determinant factor for the political understanding nor political trust, nor political behavioral orientation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การปกครอง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24722
ISSN: 9745666327
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
peera_ch_front.pdf520.36 kBAdobe PDFView/Open
peera_ch_ch1.pdf942.45 kBAdobe PDFView/Open
peera_ch_ch2.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
peera_ch_ch3.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
peera_ch_ch4.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open
peera_ch_ch5.pdf676.37 kBAdobe PDFView/Open
peera_ch_back.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.