Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24875
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อบริษัทการบินโดยสารระหว่างประเทศ ของไทยกับระดับการศึกษา อาชีพ อายุ และประสบการณ์ในการเดินทาง
Other Titles: Relationship between attitude towards Thai-owned international passenger airlines and educational level, occupation, age and traveling experience
Authors: นิยะดา ฟ้าสว่าง
Advisors: ชัยพร วิชชาวุธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาทัศนคติของบุคคลที่มีต่อบริษัทการบินโดยสารระหว่างประเทศของไทย คือบริษัทการบินไทย จำกัด และบริษัทการบินแอร์สยาม จำกัด และหาความสัมพันธ์ของทัศนคติของบุคคลในตัวแปรด้านระดับการศึกษา อาชีพ อายุ และประสบการณ์ในการเดินทางโดยเครื่องบินโดยสารระหว่างประเทศ กับบริษัทการบินโดยสารระหว่างประเทศของไทย กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 150 คน อายุ 20 ถึง 60 ปี สามารถพูดโต้ตอบและเข้าใจการสัมภาษณ์ของผู้วิจัย แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้โดยสารประจำ กลุ่มผู้เคยโดยสาร และกลุ่มผู้มีแนวโน้มจะโดยสาร จำนวนกลุ่มละ 50 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การสัมภาษณ์อย่างชนิดมีแบบฟอร์ม ใช้เวลาสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างซึ่งได้มาจากบริษัท ห้าง ร้าน สถานที่ราชการ ฯลฯ คนละประมาณ 20 นาที รวบรวมข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวนและหาค่าเอฟ เพื่อหาความสัมพันธ์ของระดับการศึกษา อาชีพ อายุ และประสบการณ์ กับการเลือกชอบและไม่ชอบบริษัทการบินโดยสารระหว่างประเทศของไทย โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง แบบวัดซ้ำ ใช้การทดสอบค่าไคสแควร์เพื่อหาความแตกต่างของการเลือกว่าบริษัทการบินของไทยทั้งสองบริษัท บริษัทใดดีกว่าในแต่ละข้อของตัวแปร 18 ข้อ และใช้การทดสอบค่าที ในการวิเคราะห์ว่าระดับการศึกษา อาชีพ อายุ และประสบการณ์มีผลทำให้การเลือกตัวแปร 18 ข้อของบริษัท การบินโดยสารระหว่างประเทศของไทยมีความแตกต่างกัน ผลการวิจัยครั้งนี้มีดังนี้ 1. ระดับการศึกษา อาชีพ อายุ และประสบการณ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกชอบบริษัทการบินโดยสารระหว่างประเทศของไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. ระดับการศึกษา อาชีพ และประสบการณ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกไม่ชอบบริษัทการบินโดยสารระหว่างประเทศของไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีแต่เฉพาะกลุ่มอายุน้อยที่เลือกไม่ชอบบริษัทการบินแอร์สยาม แต่ไม่ไม่ชอบบริษัทการบินไทย โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ในด้านตัวแปร 18 ข้อ พบว่าบุคคลคิดว่าบริษัทการบินแอร์สยามดีกว่าบริษัทการบินไทยในข้อพนักงานต้อนรับสวย ไม่จอดแวะสนามบินที่มีได้เป็นจุดหมายที่ระดับนัยสำคัญ .05 และดีกว่าในตัวแปรข้อแบบของเครื่องบินเป็นชนิดใหม่ล่าสุด ราคาค่าโดยสารถูก ประหยัดเวลาในการเดินทาง มีเครื่องอำนวยความสุขอื่น ๆ บนเครื่องบิน ที่นั่งบนเครื่องบินสบายกว้างขวาง ที่ระดับนัยสำคัญ .01 และคิดว่าบริษัทการบินไทยดีกว่าบริษัทการบินแอร์สยาม ในด้านบริษัทการบินไทยมีความมั่นคงในการดำเนินงานมากกว่า และสามารถเปลี่ยนเครื่องบินได้ในกรณีเกิดเหตุขัดข้องที่ระดับนัยสำคัญ .01 4. ระดับการศึกษา อายุ และประสบการณ์ไม่มีความสัมพันธ์กับการเลือกตัวแปร 18 ข้อของบริษัทการบินโดยสารระหว่างประเทศของไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีแต่นักศึกษาเท่านั้นที่ทำให้การเลือกตัวแปร 18 ข้อของบริษัทการบินไทย และบริษัทการบินแอร์สยามมีความแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ .01
Other Abstract: This research has the objective to study the attitude of the individual towards Thai-owned international passenger airlines, namely, Thai Airways International Ltd. And Air Siam Air Company Ltd. And to determine the relationship of the attitude of the individual in the variable of education, occupation, age and experience in traveling on international commercial airlines with that of the Thai-owned international passenger airlines. The sample group consisted of 150 persons between the ages of 20 of 60 years who were able to respond to questions and to understand the dialogue of the researcher. The sample group was divided into 3 other groups of 50 persons each, comprising the group of regular passenger, the group having been passengers previously, and the group having the inclination to travel. The research on this occasion was carried out with the use of structured interview distributed to the sample groups of persons who work in companies, firms, government establishments and so on. Each of these persons was interviewed for about 20 minutes, and the data was collected and examined by means of Analysis of Variance to determine the “F” value in order to find out the relationship of the levels of education, occupation, age and experience, with that of the choice and the dislike between the Thai-owned international commercial airlines by means of the Two-factor Experiment with repeated Measures on One Factor (ANOVA). The Chi Square Test was used to determine the difference of choice as to which of the two Thai-owned airline companies was the better one in each of the 18 sections of variation. The T-test was also used in the analysis of the levels of education, occupation, age and experience, and resulted in the choice of the variation of the 18 sections of the questionnaire on the Thai-owned international commercial airlines having differences. The outcome of the research is as follows: 1. The levels of education, occupation, age and experience are not related to the choice of the Thai-owned commercial airlines as having statistical significance. 2. The levels of education, occupation, and experience are not related to the dislike of the Thai-owned international airlines as having statistical significance. They occur only in the young age group that has a dislike for Air Siam Air Company, but not having a dislike for Thai Airways International with statistical significance at the level of .01 3. In the variation of the 18 sections it was found that those having the opinion that Air Siam Air Company was better than Thai Airways International referred to the receptionists as being pretty, the refusal to stop at airports having statistical significance at the level of .05 and are better than the variation in the sections of the aircraft being of the latest model, low rate of fares, economy in traveling, and other facilities on the aircraft with comfortable and wide seats of statistical significance at the level of .01 It is also of the opinion that Thai Airways International is more secure in its operations, and that it is able to replace the aircraft in case of breakdowns having statistical significance at the level of .01 4. The levels of education, age and experience not related to the choice of the 18 sections of the variation of the Thai-owned international commercial airlines having statistical significance are found only in the students causing the choice of the 18 sections of variation of the Thai Airways International and Air Siam Air Company having differences at the level of statistical significance of .01.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24875
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Niyada_Fa_front.pdf575.51 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Fa_ch1.pdf972.23 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Fa_ch2.pdf420.97 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Fa_ch3.pdf969.93 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Fa_ch4.pdf422.98 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Fa_ch5.pdf324.23 kBAdobe PDFView/Open
Niyada_Fa_back.pdf554.58 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.