Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24878
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประกอบ คุปรัตน์ | - |
dc.contributor.advisor | ทองอินทร์ วงศ์โสธร | - |
dc.contributor.author | รัชนี อมรพันธุ์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-11-21T05:52:31Z | - |
dc.date.available | 2012-11-21T05:52:31Z | - |
dc.date.issued | 2523 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24878 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 8 แห่ง ตามทัศนะของอาจารย์กับนักศึกษา แล้วนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างตามสถานภาพของวิทยาลัยครู ได้แก่ ระยะเวลาที่เปิดดำเนินการ และสถานที่ตั้ง วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบสำรวจ (Survey Research) โดยสุ่มตัวอย่างจากอาจารย์และนักศึกษาแบบชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 1,456 ได้รับแบบสอบถามคืน 1,414 คน คิดเป็นร้อยละ 97.12 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสำรวจความคิดเห็นประเมินค่าเป็นคะแนน (Rating Scales) แบ่งเป็น 5 ระดับ ใช้สถิติวิเคราะห์สถานภาพอาจารย์และนักศึกษาด้วยคะแนนเทียบส่วนร้อยวิเคราะห์ความคิดเห็นโดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) หาค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation ) และเปรียบเทียบด้วยแบบสอบที (t-test) ผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า (1) สภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามทัศนะของอาจารย์มีคะแนนพึงประสงค์เฉลี่ยต่ำกว่าตามทัศนะของนักศึกษา (2) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับด้านการเรียนการสอนมีคะแนนพึงประสงค์เฉลี่ยสูงสุด (3) สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหารมีคะแนนพึงประสงค์เฉลี่ยต่ำสุด (4) สภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูบุรีรัมย์มีคะแนนพึงประสงค์เฉลี่ยสูงทุกด้าน และ (5) สภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูสุรินทร์ มีคะแนนพึงประสงค์เฉลี่ยต่ำทุกด้าน การเปรียบเทียบทัศนะของอาจารย์กับนักศึกษาตามสมมติฐาน พบว่า (1) อาจารย์กับนักศึกษาในวิทยาลัยครูเก่ามีทัศนะต่อสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) อาจารย์กับนักศึกษาในวิทยาลัยครูใหม่มีทัศนะต่อสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) อาจารย์กับนักศึกษาวิทยาลัยครูในเมือง มีทัศนะต่อสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) อาจารย์กับนักศึกษาวิทยาลัยครูนอกเมือง มีทัศนะต่อสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การเปรียบเทียบทัศนะของอาจารย์ พบว่า (1) อาจารย์ในวิทยาลัยครูเก่ากับวิทยาลัยครูใหม่มีทัศนะต่อสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (2) อาจารย์ในวิทยาลัยครูในเมือง กับอาจารย์ในวิทยาลัยครูนอกเมืองมีทัศนะต่อสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การเปรียบเทียบทัศนะของนักศึกษา พบว่า (1) นักศึกษาวิทยาลัยครูเก่ากับนักศึกษาวิทยาลัยครูใหม่มีทัศนะต่อสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และ (2) นักศึกษาวิทยาลัยครูในเมืองกับนักศึกษาวิทยาลัยครูนอกเมืองมีทัศนะต่อสภาพแวดแวดล้อมวิทยาลัยครูไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยครั้งนี้ ควรจะได้มีการพัฒนาสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้มีลักษณะพึงประสงค์สูงกว่าที่เป็นอยู่ปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ สภาพแวดล้อมเกี่ยวกับการบริหาร เพื่อให้เกิดสมดุลกับสภาพแวดล้อมด้านอื่น ๆ ฉะนั้นผู้บริหารควรจะได้ร่วมประชุมสัมมนาเพื่อกำหนดบทบาทของตน อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาสภาพแวดล้อมวิทยาลัยเพื่อให้การพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์และนักศึกษาประสบผลดีสอดคล้องกับนโยบายการผลิตครูที่มีคุณภาพมิใช่ปริมาณ | - |
dc.description.abstractalternative | Purposes of the Study: The primary purpose of this study was to compare the perceptions of Teachers College Environment (TCE) in the Northeastern Region of Thailand as held by teachers and Students. The study was intended to investigate whether these perceptions differed significantly among teachers and students of the eight teachers colleges. Method and Procedures: A survey method was used in which 1,456 rating scales typed were sent to teachers and students in eight teachers colleges in the Northeast. Subjects were selected by stratified random sampling technique 1,414 questionnaires (97.12 percent) were completed and returned. The data were analyzed to determine the status of teachers and students by using percentage analysis, and opinions by using means, standard deviation and t-test. Research Conclusions : The result of the study indicated that : (1) teachers’ scores of TCE were lower than students’. (2) Among various aspects of the TCE scores of both teachers’ and students’, classroom environment was the highest, while (3) administration was the lowest, (4) among eight teachers colleges, Buriram Teachers College had the highest means of TCE scores in all aspects, and of both teachers’ and students’, while Surin Teachers College had the lowest scores in all aspects of both teachers’ and students’. In comparing teachers’ and students’ perceptions according to the hypotheses this study indicated that : (1) the overall teachers’ TCE scores in the old colleges were significantly different from students’ at the .01 level, (2) the teachers’ TCE scores in the new colleges were not significantly different from students’, (3) among colleges in the municipal vicinity, the overall teachers’ TCE scores were significantly different from the students’ at the .05 level, and (4) among colleges out of the municipal vicinity, the teachers’ TCE scores were significantly different from students’ at the .01 level. In comparing teachers’ seores among eight teachers colleges, the result of the study indicated that: (1) teachers’ total TCE scores of old colleges were not significantly different from those in new colleges, (2) teachers’ total TCE scores in the municipal vicinity colleges were not significantly different from those out of the municipal vicinity colleges. Among student’ populations, the result indicated that : (1) students’ total TCE scores in old colleges were not significantly from those in new colleges, (2) students’ total TCE scores in the municipal vicinity were not significantly different from those out of the municipal vicinity. Recommendations : It was determined through the study results that the improvement of TCE in the northeastern teachers colleges should be considered, especially in the area of administration environment. Consequently, the researcher suggested that the administrators should attend seminars on their roles in teachers’ and students’ developments. And finally the greatest emphasis should be placed on teacher training policy leading not only to the quantity aspects but also quality aspects as well. | - |
dc.format.extent | 745319 bytes | - |
dc.format.extent | 526078 bytes | - |
dc.format.extent | 1127894 bytes | - |
dc.format.extent | 547901 bytes | - |
dc.format.extent | 2827206 bytes | - |
dc.format.extent | 1589987 bytes | - |
dc.format.extent | 6592931 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | วิทยาลัยครู | - |
dc.title | การศึกษาสภาพแวดล้อมวิทยาลัยครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en |
dc.title.alternative | A study on the college environmenta of teachers' colleges in the Northeastern region | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | อุดมศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Rachanee_Am_front.pdf | 727.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Am_ch1.pdf | 513.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Am_ch2.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Am_ch3.pdf | 535.06 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Am_ch4.pdf | 2.76 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Am_ch5.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Rachanee_Am_back.pdf | 6.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.